การให้ข้อมูลกับผู้รับบริการก่อนทำผ่าตัด หัตถการ


“ก่อนทำผ่าตัด หัตการ” ให้ข้อมูลกับผู้รับบริการอย่างไร? ให้ครบถ้วน เพียงพอ

   จากคำประกาศสิทธิของสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ 10 ข้อ ในข้อที่ 3 มีสาระสำคัญคือ ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น แต่จากการสังเกตการปฏิบัติงานที่ผ่านมาพบว่าการให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการและญาติก่อนทำผ่าตัด หัตถการยังไม่ครบถ้วน หรือบางรายไม่ได้ให้ข้อมูลเลย เพียงแต่แจ้งให้รับทราบในการทำผ่าตัด หัตถการแล้วให้ผู้รับบริการลงนามยินยอมฯ หรือบางรายให้ข้อมูลแล้วแต่ผู้รับบริการให้ข้อมูลว่ายังไม่รับทราบ นอกจากนี้ยังพบว่าการลงนายินยอมฯ ยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

   เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรล่ะ??

   ปัญหาที่ 1 ---> การลงนามยินยอมฯ ยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ---> ทีมผ่าตัดร่วมกบทีม PCT จัดทำแนวทางปฏิบัติการลงนามยินยอมฯ โดยปรึกษาผู้รู้ด้านกฎหมาย 

   ปัญหาที่ 2 ---> การให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ถูกต้อง เพียงพอ เนื่องจากขาดองค์ความรู้เรื่องความเสี่ยง (กรณีนอกเวลาราชการ ตามบริบทพยาบาลเป็นผู้ให้ข้อมูล) ---> ทีมผ่าตัดร่วมกับทีม PCT พัฒนาแบบยินยอมฯ ให้มีข้อมูลความเสี่ยง หรือข้อมูลอื่นที่ผู้ป่วยควรรับทราบ ตอนนี้เรากำลังอยูในช่วงทดลองใช้

      ห้องผ่าตัดร่วมกับทีม PCT จัดทำแบบยินยอมฯ และประชุมชี้แจงการนำไปใช้ ในวันที่ 29 ธันวาคม 2554 โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ 5 มค. 55 และจะประเมินผลการใช้ประมาณ เมษายน 2555   

      

   ตัวย่างแบบยินยอมผ่าตัดคลอด

 

 

 ในส่วนที่ทีมเราคิดว่าควรให้ผู้ป่วยรับทราบในกรณีที่ทำหมันพร้อมผ่าตัดคลอด คือ

     1) การทำหมันเป็นการคุมกำเนิดชนิดถาวร โดยการผูกและ / หรือตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ท่อนำไข่ตีบตัน หรือขาดออกจากกัน หลังการทำหมันมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีก แต่น้อยมากเพียง 1 ใน 200 และ 1 ใน 3 ของผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก ดังนั้นผู้ที่สงสัยตั้งครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์

    2) การทำหมันพร้อมผ่าตัดคลอดเป็นการทำเลยทันทีหลังทารกคลอด ดังนั้นการประเมินอาการทารกจึงเป็นการประเมินเบื้องต้น ซึ่งในระยะ 24 ชั่วโมงแรก ทารกอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงได้อีก

   ปัญหาที่ 3 ---> การให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ถูกต้อง เพียงพอ เนื่องจากพยาบาลใช้เวลาอันน้อยนิด อธิบายให้ผู้ป่วย+ญาติแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ

   ปัญหาที่ 3 ทีมผ่าตัดจะจัด ลปรร “ก่อนทำผ่าตัด หัตการ” ให้ข้อมูลกับผู้รับบริการอย่างไร? ให้ครบถ้วน เพียงพอ   ในวันที่ 19 มีนาคม 2555 ที่ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ใครมีข้อมูลดีๆ ฝากโพสต์ลงให้ด้วย ขอบคุณค่ะ แล้วจะนำผลการ ลปรร มาบอกนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 481141เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

งานห้องคลอดบอกว่า การให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดคลอด พยาบาลมักจะเป็นผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด เช่น เพราะอะไรจึงต้องผ่าตัดคลอด ความเสี่ยง(เหมือนในแบบยินยอมฯ)

บางครั้งการให้ข้อมูลรีบร้อน เนื่องจากมี Case คลอด ต้องรีบไปทำคลอด จึงวางแผนกันในทีม โดย Case ประเมินแล้ว อาจผ่าตัดคลอด ถ้าอ่านได้ จะทิ้งแบบยินยอมไว้ให้อ่าน+เปิดเสียงที่บันทึกการให้ข้อมูลตามรายละเอียดในแบบยินยอมฯ

งานนี้ต้องใช้ความพยายาม และพลังในการผลักดันกันนิดนึงนะพี่แต๋วจ๋า เอาใจช่วย เพราะวันนั้นเราได้ทดลองใช้กับสามีน้องเมย์แล้วตอนที่ผ่าตัดสาวเมย์ ก็ต้องใช้เวลาอธิบายนานมาก เพราะแบบฟอร์มต้องอธิบายผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นด้วย เลยทำให้ญาติเกิดความกังวลในการตัดสินใจในระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ดีค่ะ เป็นการเริ่มต้นที่น่าจะดี ขอเอาใจช่วยนะค่ะ

ไปค้นข้อมูลมา ดูซิว่า รพ. อื่น เขาทำกันอย่างไร? ดูตัวอย่าง รพ. สัวขะ จ. สุรินทร์

นานมากแล้วไม่ได้เข้ามา เงียบเหงาจังเลย เมื่อ 10 สค 55 ได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งสุดท้าย สรุปว่า ปรับแบบแสดงความยินยอมของทารกแรกคลอดนิดหน่อย ส่วนประเด็นการบบรรลุนิติภาวะให้ใช้ที่อายุ 20 ปี

หลังจากที่เราได้ ลปรร มาหลายครั้งแล้ว และไปประชุมของ สปสช. ไดัปรับแบบยินยอมให้มีมาตรฐานมากขึ้น โดยต้องระบุตำแหน่ง ของผู้ให้ข้อมูล ตามตัวอย่าง

สรุปผลการดำเนินงาน 1. จำนวนอุบัติการณ์ การลงนามยินยอมไม่ถูกต้อง ไม่เกิน 5 ครั้ง/เดือน 0 ผ่าน 2. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้แบบแสดงความยินยอมที่พัฒนาใหม่ (มีข้อมูลความรู้ ความเสี่ยง แยกตามรายหัตถการ) ร้อยละ 82.93 (เป้าหมาย 80%) 5. ผู้รับบริการผ่านการทดสอบความรู้ ความเข้าใจต่อการให้ข้อมูลความรู้ ความเสี่ยง เกี่ยวกับการทำหัตถการ ร้อยละ 58.33 (เป้าหมาย 60%) ต้องพัฒนากันต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท