โจรเสื้อนอกและรองเท้าส้นสูง


ไม่น่าเชื่อว่า เสื้อคลุมโง่ๆ...สามารถสร้างสถานะให้”ผู้ดี”ฝรั่งได้ปานนั้น...ซึ่งผู้ดีไทยก็เอาอย่างมากันมากหลาย

 วันนี้เราได้ยินคำว่า “โจรใส่เสื้อนอก”  กันมาก  ซึ่งมันร้ายกาจมาก ทำลายล้างได้มากกว่าโจรผ้าขาวม้าแดงมากนัก

 

 นักวิจารณ์ชำนาญการบางท่าน ให้การว่า คำคำนี้  มันเป็นคำบัญญัติมาจากนักวิชาการท่านโน้นท่านนี้ แต่สำหรับผมเห็นว่า เราน่าลอกมาจากคำศัพท์ฝรั่งที่ว่า “thief in a three-piece suit” ซึ่งพวกฝรั่งเขาบัญญัติศัพท์เสียดสีนี้กันมาน่าจะเกินกว่าร้อยปีแล้ว (เช่นในนิยายนักสืบของ Sherlock Holmes)

 

อันว่า “โจร” นั้นไม่ว่าโจร ณ เวลา หรือสถานที่ไหน มันมักจะทำท่าให้ดูดี น่าเชื่อถือด้วยกันทั้งนั้น เพื่อหลอกเหยื่อโง่ให้ตายใจ

 

ในสมัยก่อนที่เทคโนโลยียังต่ำ พวกมันก็ต้องเน้นไปที่การเห็นเชิงประจักษ์แบบง่ายๆ  เช่น เสื้อผ้า  เครื่องประดับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถหามาได้ไม่ยากนัก เช่น โดยการเช่า การใช้ของปลอม..ก็สามารถสร้างความเชื่อถือต่อเหยื่อได้มาก..ในราคาที่ย่อมเยา

 

ในประเทศหนาวแบบฝรั่งการแต่งตัวของโจส่วนใหญ่ (ผู้ชาย) ด้วยอาภรณ์สามชิ้น ถือกันว่าเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับว่า “ดี” กล่าวคือ มีกางเกง เสื้อนอก และเสื้อคลุมเสื้อใน (ที่เรียกกันว่าเสื้อ vest) ...คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจนหรือรวยนั้นส่วนใหญ่ก็มี กางเกง เสื้อนอก ..สองชิ้นเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว  จากนั้นมีคนคิดค้นชิ้นที่สาม คือเสื้อคลุมเสื้อใน (vest) ออกมา ซึ่งถือกันว่าใครใส่เสื้อนี้แล้วจะเป็นคนชั้นสูง

 

...ทั้งนี้โดยไม่นับกางเกงใน เสื้อซับใน อีกทั้งเสื้อเชิร์ต เนคไท ผ้าเช็ดหน้า ร่ม  และหมวก ก็ไม่นับด้วย   

 

(ไม่น่าเชื่อว่า เสื้อคลุมทับเสื้อเชิร์ตโง่ๆ เพียงแค่นี้ก็สามารถเพิ่มสถานะให้”ผู้ดี”ฝรั่งได้ปานนั้น...ซึ่งผู้ดีไทยก็เอาอย่างมากันมากหลาย ทั้งที่เป็นเมืองร้อนจนตับแทบจะแตกอยู่แล้ว..แม้ใส่เพียงสองชิ้น)

 

การ “สร้างภาพโจร” ให้ดูดีนั้น นอกจากการแต่งตัวดี ใส่แบรนด์เนมราคาแพงแล้ว ก็ยังมีการฝึกฝนคำพูด เช่นการใช้คำศัพท์ให้หรูหรา ให้มีภาษาแขกมากๆ (ถ้าใช้ภาษาไทยแล้วถือว่าระดับกากๆ)  ดังนั้นจึงกดดันให้ต้องการพูดแขกคำฝรั่งคำ (เพื่อบอกว่า กรูชั้นสูงนะเฟ้ย..ทั้งที่คำศัพท์ ไวยกรณ์ผิดระนาว)

 

 เช่นใช้คำหรู (แขก) ว่า  โลกาภิวัฒน์  ก็วงเล็บไว้ด้วยว่า (globalization) หรือ (global village)  ใช้คำว่า "บูรณาการ" ก็ต้องวงเล็บว่า (integrated) ....บางคนแม้แต่ศัพท์พื้นบ้านแขกๆทั่วไป มันยังอุตส่าห์วงเล็บภาษาอังกฤษ เช่น "การเพ่งพินิจ"  มันก็ต้องวงเล็บว่า  (scrutinization)

 

...ไอ้ฮอสระเอี้ยพวกนี้ เพียงแค่มันมีความสามารถแค่นี้ ก็กลายเป็นคนดีเด่นในสังคมไทยได้แล้ว  (จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมชาติไทยเราจึงยังด้อย พฒน. กันมาจนบัดนี้)

 

การเด่นดังของคนพวกนี้นั้น   ยังมีปัจจัยเสริมจากบริบท (สิ่งแวดล้อม..ภาษาไทย) เช่น ต้องขับรถราคาแพง นาฬิกาเรือนทอง แหวน น้ำหอม เน็คไท  ตรายี่ห้อถุงเท้า รองเท้า ผ้าเช็ดหน้า ยาอม ปากกา   ..ยี่ห้อต่างชาติ แพงๆ  ...เพราะถ้าใช้ของราคาถูกคนไทยจะหาว่าไอ้หมอนี่มันยากจน ..ก็ไม่น่าเชื่อถือไป ๘๐ ส่วนจาก ๑๐๐ ส่วนแล้ว มิใยจะใส่สูต พูดหรั่งอย่างไรก็คงฟังไม่ขึ้น

 

ส่วนบางคนไม่มีเงิน และการศึกษาก็ไม่มี อีกทั้งรถหรูก็ไม่มี พูดหรั่งก็ไม่เป็นกะเขา  ทำไงดีหว่า ก็เลยตะแบงให้เป็นตรงข้ามเพื่อเรียกร้องความสนใจให้กระฉูด  เช่น ใส่กางเกงเล เสื้อม่อฮ่อม อยู่กระต๊อบ (แต่เรื่องพูดไทยคำหรั่งคำยังดจร.กระทำอยู่ แม้สำเนียงเสียงที่เปล่งออกมามันจะเพี้ยนจนน่าขำก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่จับไม่ได้ก็รอดตัวไป..ตามระบบประชาธิปไตยเสียงข้างมากแบบไทยไทย )

 

น่าตระหนกและสลดว่า ..เมืองไทยเราวันนี้ไม่ได้มีแต่เพียง “โจรใส่สูต” ที่เป็นเพศชายเท่านั้น แต่เกิดปรากฎการณ์ใหม่คือ “โจรหญิงที่ใส่กระโปรงดีไซน์เนอร์”  และทาหน้าด้วย “เอ็กเพนซ์สิฟคอสแมติก” (สังเกตสระอิใสสิฟนะจ๊ะ..ไม่ไช่สระอี)    รองส้นเท้าด้วย “ไฮฮีลแอนด์ไฮไพรซ์”   (แน่ะ..เดาะคำประกิดกะเขาด้วยแหละ)...

 

..ถามว่า เราจะบัญญัติศัพท์แบบ “เฟมินิน” โดยไม่ให้ได้รับข้อครหาว่า “เหยียดเพศหญิง” (gender discrimation)  ได้อย่างไรดี 

 

พลีซเฮลพ์มีทฮิ๊งค์

 

..คนถางทาง (๕ มีค. ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 481106เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 03:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ครูสอนภาษาอังกฤษท่านใดเคยศึกษากันบ้างไหม ...ในเชิงสังคมศาสตร์ว่า คำว่า vested interest (ผลประโยชน์ใต้เสื้อคลุมเสื้อเชิร์ต) มีความหมายลึกๆ ทีสะท้อนสภาพสังคมฝรั่งอย่างไร ก่อนที่จะสมาทานลัทธิฝรั่งให้มาครอบสังคมไทยเราแบบไม่เซี่องๆ

vest (from NECTEC Lexitron version 2.0)

N. เสื้อกล้าม syn:[undershirt] (US and Canada; also เสื้อยืด T-shirt)

N. เสื้อกั๊ก syn:[waistcoat] (also sweater vest)

VT. มอบอำนาจ

relate:[ให้สิทธิ์ดำเนินการ] syn:[bestow; confer] (vested interest: ผลประโยชน์ ที่มีส่วน/สิทธิร่วม)

VT. ตกเป็นของ

relate:[ตกอยู่ในการควบคุมของ] syn:[belong; authorize]

---

We hear a lot more of "by the powered vested in me..."(ด้วยอำนาจที่ตกเป็นของข้า...) I can do anything I like.

Sigh, the power of election by the people without the power to remove from office by the people is unconstitutional!

ขอบคุณท่าน sr ผมคิดอยู่นานว่าผมรู้ๆอยู่ว่าเสื้อ vest นี่มันคือ เสื้อกั๊ก แต่ทำไมมันคิดไม่ออกตอนเขียน (ฮา)

หรือว่า vested interest คือ วาระซ่อนเร้น ที่ต้อง ซ่อนอยู่ด้านในของเสื้อนอก นั่นเอง (ไม่ฮา)

ผู้หญิงก็ใส่สูทนะครับ (เมื่อวานเห็นในข่าว) ผมว่าสำนวนนี้เป็นกลางไม่ระบุเพศแล้วครับ แต่พอพูดถึง "เสื้อกั๊ก" ทำให้นึกถึงนักวิชาการคนหนึ่งครับ

ดร.ธวัชชัยครับ ถ้าเท่าเทียมกันเช่นนี้ ต่อไปเราคงต้องพูดกันแบบเย้ยๆ ว่า "ไปใส่สูตไป" แทนที่จะเย้ยว่า "ไปนุ่งผ้าซิ่นไป" :-)

นักวิชาการเสื้อกั๊กท่านนั้นผมเคยไปหาท่านทีที่ทำงาน แต่ไม่พบ แม้ในเวลาราชการ ถามเลขาก็ไม่รู้ว่าไปไหน อิอิ ถ้าได้พบกันคงสนุก เพราะท่านเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเสื้อชมพูฟ้ากางเกงขาสั้นกับพี่ชายผม

By the way, (from th.wikipedia.org/wiki/... )

"...กั๊ก ซึ่งแปลว่า แยก ในภาษาจีน เจ๊กลากรถในสมัยนั้นจะเรียกสามแยกว่า ซากั๊ก และ สี่แยกว่า สี่กั๊ก..."

เสื้อกั๊ก คงหมายถึง เสื้อ ร้อนทางหนึ่งเย็นทางหนึ่ง หรือ นอก-ใน หรือ ๒ ทาง

Anyway, we see most indians dress up as indians where-ever they go, western suits are for crazy Englishmen, not for them. What do Thais dress up these days as what?

It seems Thais have lost national identity, pride and culture for some time now.

Only some buddhists monks are hanging on to 'the tradinal culture'.

อ. sr ครับ ตอนผมกลับมาทำงานใหม่ๆ แต่จะสัปดาห์จะมีวัน "ผ้าไทย" ครับ ผู้หญิงก็จะใส่กันสวยงาม ผมเคยใส่เสื้อม่อฮ่อมกับกางเกงสูทและรองเท้าหนังถูกเพื่อนฝูงล้อเลียนทั้งวันครับ

เอ... เสื้อเหลืองเสื้อแดงนี่จะถือว่าเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทย (ที่เป็นข่าวรู้จักไปทั่วโลก) ได้ไหมครับ (ฮา)

เห็นด้วยกับท่าน sr ว่าไทยควรมีชุดประจำชาติเรา แบบเมืองร้อน (พม่าเขาก็มีของเขา น่ารักมาก เป็นสโร่ง )

ดร. ธวัชชัย ก็เหมือนผมเลย ผมเคยใส่กางเกงเล ไปสอน อยู่เดือนนึง ทนเสียงโห่ไม่ไหว ต้องกลับมาใส่กางเกงฝรั่งต่อไป อิอิ

ผมอยากเห็นชายไทยใส่ขาสั้นแบบไร้ทรง (กางเกงเลสั้น) รองเท้าสาน เสื้อหลวมๆ หญิงก็ผ้าถุงคลุมหน้าแข้ง ให้โผล่ตาตุ่มให้เห็นหน่อยก็ดี จะได้มีจินตนาการมั่ง ไม่ใช่ปิดซะมิดหมดแบบมุสลิม อิอิ

คำว่า กั๊ก อาจเป็นภาษาจีนดังที่ท่าน sr ให้ขัอมูล

เช่น คำว่า แทงกั๊ก คือ แทงแบบทำนองว่าถึงทางแยกพอดี จะเลี้ยวซ้ายหรือขวาก็ได้ หรืออาจไปตรง

เสื้อกั๊ก อาจเป็นว่าเป็นเสื้อลำลอง เหมาะสำหรับคนตะแบง ที่ไม่ชอบใส่สูต (เพราะมันร้อน) ก็เลย ใส่เพียงแค่เสื้อ "กั๊ก" แบบครึ่งๆกลางๆ

ท่าน sr ครับ แล้ว เหล้ากั๊ก = 0.5 แบน เนี่ย มันจะมีทีมายังไงดีครับ อิอิ

ผมคิดว่าเสื้อที่ดูดีสูสีกับการเสื้อสูทได้คือเสื้อพระราชทานครับ พล.อ.เปรม ท่านใส่ได้สง่าทีเดียวครับ แต่ใส่แล้วก็ร้อนไม่แพ้ใส่สูทเหมือนกัน (เฮ้อ)

เห็นด้วยกับดร.ธวัชชัย ครับ ผมเห็นว่า ต้องใส้เสื้อ "คอกลม" บางๆ มีรูพรุนมากๆ (ผ้าฟ้าย) จะได้เย็นสบาย แต่ถ้าต้อง "ออกราชการ" ก็ให้สวมเสื้อคลุม เป็นเสื้อแขนยาว ผ่าอก ผ้าบางๆ เล่นลวดลายที่สาบเสื้อ กันตามรสนิยม มันสวนมากๆ เหมือนเสื้อคลุม เจ้าพระยาในอดีต ...เอ้า พวกล้มเจ้า จะหาว่าเราคลั่งเจ้าไปเสียอีก อิอิ ถ้าอย่างงั้น "แก้ผ้า" กันหมดเลยดีไหม จะได้ "เสมอภาค" กันหมด อิอิ

คล้ายๆ กับเสื้อครุยของจุฬาฯ ไหมครับ คนหนึ่งที่ผมชอบคือคุณ Hamid Karzai แกจะมีเสื้อคลุมบนสูทอีกที มีความเป็นสากลในขณะเดียวกันก็มีความเป็นเอกลักษณ์ของอาฟกานิสถานอยู่ด้วยครับ

มีคนเล่าไว้ว่า:

"...ตอนเด็กๆ ที่บ้านขายเหล้าแบบแบ่งขายครับ

จะมีถ้วยตวงเล็กๆ เรียกว่า ก๊ง (ไม่รู้ปริมาณเท่าไร) [approx 45 cc (46.875 cc)]

ตวง 4 ก๊ง = 1 กั๊ก

2 กั๊ก = 1 แบน = 1/2 ขวด

2 แบน = 1 ขวด [ 1 ขวด = 750 cc ]

คนที่ไม่ค่อยมีเงิน จะมากินทีละก๊ง

แล้วบอกว่าให้เทล้นๆ หน่อย..."

[So it seems เหล้ากั๊ก (เหล้า 1 กั๊ก) is a split of a (เหล้า)แบน. Again, using กั๊ก as in its chinese meaning. ]

อีกคนหนึ่งว่า: "...เหล้า 1 แป็ก (เหล้า 1 เป๊ก) = 6-7 ฝาเหล้า..." [1 ฝาเหล้า = 7 cc ???]

[ ก๊ง ?= แป็ก (เป๊ก) ?= จอก ...does anyone know and care to answer this?

Looking further for conversation we find the following : ]

LordHades 29 มิ.ย. 2553, 0:32:18

"...ตอนทำแลป นักวิทย์บอกว่า 10 หยด ของดรอปเปอร์ เท่ากับ 1 มิลลิลิตร โดยประมาณ

บางครั้ง ต้องการความแน่นอน ไม่ควรนับหยด เนื่องจากสารแต่ละอย่าง มีความถ่วงจำเพาะไม่เหมือนกัน

สารที่มีมวลโมเลกุลที่หนักกว่า จะได้หยดที่เล็กกว่า เนื่องจากของเหลวที่หยดต้องอาศัยแรงโน้มถ่วง

เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ต้องการความละเอียดในการทดลอง อาจจะใช้วิธีนับหยดได้..."

และ BunnyDoLL อธิบาย การให้น้ำเกลีอ

"...ปกติ 20 หยด = 1 ml.............สำหรับเซต micro drip (16.7 drops/min)

ปกติ 15 หยด = 1 ml.............สำหรับเซต macro drip (12.5 drops/min)

[This looks scary, when a nurse has to count/estimate/work out how many drops/min to give to a patient.

Hope amount of saline water is not THAT critical in treatment of a critical case ;-) ]

Back to this blog topic about (bandits in) "western suits and high heels",

I think we are talking less about the bandits because (I apologize) the focus has been shifted to national dress.

But whatever the dress bandits may wear, they can operate (errh rob people) efficiently well. ;(

อ่านแล้ว สนุกดี ได้ความรู้ด้วย อยากให้ G2K เป็นเหมือนจอทีวี ให้คนดูได้เหมือนทีวีทั้งวันทั้งคืนจัง เผื่อคนไทยจะได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น ไม่ยึดติดอยู่กะแค่พรรคและพวก แล้วพากันทำให้สังคม ประเทศชาติล้าหลังเช่นที่เป็นอยู่ขณะนี้ อาจารย์ทั้งสามคงไม่หาว่าผมหวังสูงจนเกินไปนะครับ 5555555

คำว่า เป๊ค (เหล้า) นั้นผมเชื่อมานานว่าตรงกับคำว่า ก๊ง

สี่เป๊ค (ก๊ง) เป็นหนึ่งกั๊ก สองกั๊ก เป็นหนึ่งแบน สองแบบเป็นหนึ่งกลม (pint)

เคยได้ยิน peter piper picked a "peck" of pickled pepper ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท