รู้จักพม่าผ่านเรื่องไฟฟ้า


อ.วิลเลียม บูท ตีพิมพ์เรื่อง Electricity: Burma's missing ingredient for success = ไฟฟ้า: ปัจจัย (องค์ประกอบ) แห่งความสำเร็จที่หายไปในพม่า" = "ไฟฟ้าไม่พอใช้ ทำพม่าก้าวไปไม่ไกล" ในเว็บไซต์สำนักข่าวอิระวดี, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

เมื่อพม่าเริ่มเปิดประเทศ... ดูเหมือนอะไรๆ จะดูดีไปหมด ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ท่าเรือ ทรัพยากรธรรมชาติ การท่องเที่ยว
.
พม่ามีความได้เปรียบอย่างมากในเรื่องขนาดประเทศใหญ่ อยู่กลางระหว่างจีน-เอเชียใต้ (อินเดีย บังคลาเทศ ฯลฯ)-อาเซียน ทำให้มีศักยภาพสูงมากในการก้าวไปเป็นฮับ หรือจุดเชื่อมของการค้า-ลงทุน โดยเฉพาะทางบก
.
การมีลูกดก ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีอายุน้อย แรงดี เหมาะกับอุตสาหกรรมใช้แรง เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า ฯลฯ
.
พม่ามีประชากรใกล้เคียงกับไทย (พม่า 54.6 ล้าน; ไทย 67.1 ล้าน) แต่ผลิตไฟฟ้าได้ 2,000 เมกกะวัตต์ (MW/ล้านวัตต์) ขณะที่ไทยผลิตได้ 26,000 เมกกะวัตต์ = ประมาณน้อยกว่า 8% ของไทย
.
ลาวซึ่งประกาศจะเป็น "หม้อไฟ" หรือประเทศผู้ผลิต-ส่งออกไฟในอนาคต มีประชากร 6 ล้านคน ทว่า... ผลิตไฟฟ้าได้พอๆ กับพม่า ทำให้ลาวเป็นประเทศที่กล่าวได้ว่า รวยไฟ
.
เร็วๆ นี้ พม่าสั่งระงับการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้ามยิตซงทางเหนือขนาด 3,600 MW และแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในนิคมอุตสาหกรรมทวายขนาด 4,000 MW รวมแล้วจะทำให้การผลิตไฟในอนาคตตกลง 7,600 MW
ผลกระทบของการขาดไฟฟ้าในนิคมฯ ทวายน่าจะทำให้การตั้งโรงงานยากขึ้นมาก (คาดว่า บริษัท อิตัล-ไทย จะเดินทางไปโรดโชว์ เพื่อหาแนวร่มลงทุนที่เกาหลีใต้)  เนื่องจากเขตทวายเกือบจะไม่มีไฟใช้เลย
.
ชาวพม่ามีไฟใช้ต่ำกว่า 25% ของทั้งหมด โดยมีการจ่ายไปกระจุกในตอนกลางประเทศ ระหว่างย่างกุ้งกับมัณฑเลย์ และแม้ย่างกุ้ง (เมืองหลวงเก่า) จะมีไฟดับบ่อย 
.
คนย่างกุ้งส่วนใหญ่มีไฟใช้เฉลี่ย 4 ชั่วโมง/วัน ทำให้เครื่องปั่นไฟขนาดเล็กขายดีมาก
.
โรงงานและโรงแรมในพม่าส่วนใหญ่มีเครื่องปั่นไฟส่วนตัว ทำให้พม่าต้องนำเข้าดีเซลมากขึ้น และสูญเสียเงินตราต่างประเทศมากขึ้นทุกปี
.
พม่ามีแผนจะสร้างเขื่อนปั่นไฟหลายแห่ง รวมแล้วจะผลิตไฟได้มากกว่า 9,000 MW ทว่า... เมื่อสั่งระงับการสร้างเขื่อนมยิต์ซงแล้ว การสร้างเขื่อนที่เหลือก็ชะงักไปหมด (บริษัทจีนเป็นผู้รับเหมาสร้างเขื่อนใหญ่)
.
เรื่องที่ชาวพม่าไม่ค่อยพอใจ คือ ไฟฟ้าพลังน้ำตามแผนจะส่งออกไฟไปจีน-ไทยประมาณ 85% ของทั้งหมด ทั้งๆ ที่ไฟในประเทศยังไม่พอใช้
.
มาเลเซียและไทยมีปัญหาคล้ายๆ กัน คือ พึ่่งการสร้างไฟจากแก๊สสูงถึง 70% ทำให้เสี่ยงต่อการขาดแก๊ส ซึ่งมีพอใช้ต่อไปได้ไม่กี่สิบปี
.
ตอนนี้มาเลเซียกำลังผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1,000 MW 2 โรง = 2,000 MW เนื่องจากแก๊สไม่พอใช้ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟมีแนวโน้มจะต่ำลง (ถ่านหินถูกกว่าแก๊ส และมีถ่านหินที่สะอาดกว่าลิกไนต์ เช่น ถ่านหินจากออสเตรเลีย ฯลฯ)
.
บังคลาเทศซึ่งเป็นคู่แข่งพม่าในเรื่องแรงงานราคาถูก และอุตสาหกรรมสิ่งทอก็มีปัญหาขาดไฟ และวางแผนจะผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1,400 MW  โดยให้บริษัทจากมาเลเซียเข้าไปลงทุนผลิตไฟในเขตค็อกซ์ บาซาร์ ติดกับรัฐยะไข่ของพม่า
.
ถ้าพม่าจะก้าวไปให้ไกล คงจะต้องทำใจเรื่องไฟฟ้าให้หลากหลาย ใช้ทั้งไฟจากน้ำ-แก๊ส-ถ่านหินร่วมกัน เพื่อให้ไฟซึ่งเป็น 1 ในโครงสร้างพื้นฐานมีพอใช้ก่อน
.
ไฟฟ้าเป็น 1 ในปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนต่างชาติคิดหนักก่อนจะเข้าไปในลงทุนไม่ว่าในประเทศใด เนื่องจากการลงทุนตั้งโรงปั่นไฟใช้เองทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก
.
ทั้งมาเลเซียและไทยผลิตไฟจากแก๊สมากถึง 70% ฯลฯ เป็นความเสี่ยงที่สำคัญ โดยเฉพาะถ้าเกิดสงคราม หรือการส่งแก๊สมีปัญหา, ทว่า... มาเลเซียได้เลือกความหลากหลาย คือ สร้างโรงไฟฟ้าใหม่จากถ่านหินที่มีต้นทุนถูกกว่าแก๊สแล้ว
.
ไฟฟ้าแสงแดดและพลังลมยังมีต้นทุนสูง... ถ้าใช้พลังงานทางเลือกจะทำให้ค่าไฟเฉลี่ยสูงขึ้น เนื่องจากผลิตแล้วขาดทุน ต้องจ่ายเงินสนับสนุน (adder) ให้
.
ไทยเป็น 1 ในประเทศที่เหลือกำลังผลิตไฟสำรองอยู่ค่อนข้างน้อย และหาที่สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ (ประท้วงทุกที่), คงจะต้องเช่าที่เพื่อนบ้านตั้งโรงไฟฟ้า แล้วส่งกลับเข้ามา, เช่าที่ทหาร หรือถมทะเลสร้างโรงไฟฟ้า จึงจะมีไฟพอใช้ในอนาคตเช่นกัน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 กพ.55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 480884เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท