กราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน


กราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน

ทีมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลพิมายมีแนวคิดที่จะพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้ครอบคุลมผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดในคลินิก   ในลักษณะบูรณาการควบคู่กับกระบวนการคัดกรอง  และตรวจรักษาตามปกติในคลินิกโรคเบาหวาน  โดยการจัดทำนวตกรรม  สื่อที่ใช้ในการสอนแนะนำแก่ผู้ป่วยเป็นรายกรณีโดยใช้นวตกรรม  “กราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน”  ทั้งนี้  เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือด  ภาวะสุขภาพในปัจจุบัน แนวโน้มของภาวะสุขภาพและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  ซึ่งจะมีความต่างกันในแต่ละราย  รวมทั้งเป็นสื่อในการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย  การปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ซึ่ง แนวคิดในการจัดทำนวตกรรมนี้  ทีมพัฒนาฯ ได้ แนวคิดมาจากการดูดวงในลักษณะ กราฟชีวิต  ที่เห็นแนวโน้ม ดวงของตนเอง  รวมทั้งมีคำแนะนำในการแก้ดวง  ที่ กระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการที่ จะดูแลสุขภาพของตนเอง  โดยสอดแทรก  พุทธสุภาษิต ที่ เป็นมงคลกับชีวิต ไปด้วย   

โดยสื่อนี้ใช้บอกค่าระดับน้ำตาลในเลือด  บอกโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  และวิธีการ                ดูแลตนเอง   ทั้งนี้  นวตกรรมกราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน  ประกอบไปด้วยแผ่นกราฟสำหรับจุดค่าน้ำตาลในเลือดในแต่ละครั้ง  และดูแนวโน้มโดยใช้กราฟเส้น  มีแถบสีชี้บ่งระดับน้ำตาลในเลือด และอธิบายความหมายของระดับน้ำตาลโดยใช้แถบสี 4 สี คือ

                 ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่สูงมาก (FBS 200 mg% ขึ้นไป)  ค่าระดับน้ำตาลในเลือดกราฟจะตกอยู่แถบสีชมพู 

                ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์สูงปานกลาง (200 ≤ FBS ≥ 130 mg%)  ค่าระดับน้ำตาลจะตกอยู่ในพื้นที่แถบสีเหลือง

                 ค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี (130≤ FBS ≥ 90 mg%)  ค่าระดับน้ำตาลในเลือด

จะตกอยู่ในพื้นที่แถบสีเขียว  

                ค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ (FBS≤ 80 mg%)    ค่าระดับ    น้ำตาลในเลือดจะตกอยู่ในพื้นที่แถบสีเทา

                นอกจากนี้ในส่วนของแผ่นกราฟจะระบุความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน  และมีการประเมินผลอธิบายระดับน้ำตาลในเลือด  วิธีการปฏิบัติตัวในแต่ละแถบสี  นอกจากนี้ยังมีเอกสารประกอบเป็นคำ

                ทำนาย  ซึ่งทบทวนจากบทพุทธภาษิต และนำมาประยุกต์ใช้เป็นคำทำนายระดับน้ำตาลในเลือดความ  เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  คำแนะนำที่เป็นการกระตุ้นเตือนการปฏิบัติการดูแลตนเอง วิธีแก้  ดวง/ป้องกันความเสี่ยง  สิ่งที่เป็นมงคลที่ควรปฏิบัติ  สิ่งที่เป็นกาลกิณี เป็นพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

 

ประโยชน์การนำไปใช้

                ด้านผู้ป่วย

1.  ผู้ป่วยเบาหวานรับรู้ถึง ภาวะสุขภาพของตนเอง ในปัจจุบัน   เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผู้ให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

2.  ผู้ป่วยเบาหวานรับรู้ถึง โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน  ของโรคเบาหวาน    

3.  ผู้ป่วยเบาหวานจำระดับน้ำตาลในเลือดของตนได้ว่าอยู่ในระดับใด  โดยจดจำจากระดับสี

4.  เกิดการกระตุ้นการรับรู้  ถึงภาวะเสี่ยงจากโรคเบาหวานจากสี ส่งผลให้เกิดการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด

5.  ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ด้านเจ้าหน้าที่

1.  มีสื่อในการบอกระดับน้ำตาลในเลือด แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ทำให้เห็นภาพชัดเจน  ถึงแนวโน้ม เกิดภาวะเสี่ยงจากโรคเบาหวาน

2.  ใช้เป็นสื่อร่วมในการตั้งเป้าหมาย ของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เพื่อ      ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

3.  ลดระยะเวลาการตรวจผู้ป่วยแต่ละราย  เนื่องจากมีคำอธิบายและคำแนะนำการปฏิบัติตนแก่ผู้ป่วยเบาหวาน  ที่เป็นเฉพาะรายที่ตรงประเด็นปัญหารายกรณี          

4.   มีสื่อให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย 

 

หมายเลขบันทึก: 480426เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2012 01:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท