สร้างสุขภาวะในองค์กรแก้"งาน"ไม่บันดาลสุข


นายสุ พจน์ เด่นดวง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้คนทำงานจำนวนมากตกอยู่ในภาวะเป็นทุกข์เพราะว่าทำงานหนักมากกว่าผลตอบ แทนที่ได้รับและต้องทำงานหนักแต่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ทุกข์นี้ส่วนใหญ่เป็นทุกข์ผู้ใช้แรงงานในโรงงานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความ เครียดมากที่สุด ความความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยมได้สร้างรูปแบบการทำงานมากแต่ผลตอบแทนน้อย ขาดอำนาจการตัดสินใจ เพื่อลดต้นทุนการผลิตรวมถึงการลดต้นทุนกับผู้ใช้แรงงาน เช่น ลดค่าจ้างให้เกิดขึ้น

นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การวางแผนพัฒนาประเทศมักจะทำตามตะวันตก คือ เน้นที่เศรษฐกิจและใช้เพียงตัวเลขรายได้ของประชากรเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ของการพัฒนา ที่ผ่านมาแผนดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จ ประชาชนจนลง ทุกข์มากขึ้นและปัญหาสังคมมีมากขึ้น วงจรอุบาทก์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตลอดคือ วงจรโง่ จน เจ็บ ต้องตัดวงจรนี้ทิ้งด้ วยการสร้างสติปัญญาให้คนในชาติ พัฒนาให้เป็นเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีเกิดขึ้น ต้องเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเหมือนดังสิงคโปร์ที่ประสบความ สำเร็จมากแล้ว

นายนิพนธ์ได้ยกตัวอย่างการสร้างสันติสุขในองค์กรของตัวเองว่า โรงงานของตนตั้งอยู่ที่อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา มีพนักงานประมาณ 2,500 คน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานผู้หญิง 70 % และเป็นกลุ่มที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ และมีความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเอดส์ ยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดผลเสียแก่ทั้งตัวพนักงานเอง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางกายและปัญหาสุขภาพจิต ที่อาจเกิดผลกระทบต่อองค์กร เนื่องจากอาจเจ็บป่วยหรือเข้าโรงพยาบาล ตนจึงได้วางนโยบายเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพพนักงานขึ้น ด้วยการเปิดคลินิกให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาระดับปริญญาโท ชื่อ "คลินิกเพื่อน้อง" อีกทั้งได้มีการจัดโครงการจากครรภ์มารดาสู่อัจฉริยะขึ้น เพื่อให้คำแนะนำการเลี้ยงลูกแก่พนักงาน อันถือเป็นการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ตั้งแต่เด็กและถือเป็นการช่วยพัฒนาสังคม อีกทาง

ด้านตัวแทนลูกจ้างคือ นายชัยรัตน์ พินภิรมย์ ประธานสหภาพแรงงาน บ.ยูนีลีเวอร์โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า บทบาทของสหภาพแรงงานในองค์กรคือ การพัฒนาสมาชิกให้มีศักยภาพ การรักษาสิทธิประโยชน์ของสมาชิกและการร่วมกับผู้ประกอบการในการพัฒนาคุณภาพ การผลิต การจัดกิจกรรมใดๆ ของสหภาพแรงงานต้องกระทำด้วยเจตนาดีและจริงใจที่จะกระทำเพื่อส่วนรวม

นายธีรเดช วิบูลพัฒนะวงศ์ ผู้แทนบริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการตรวจสอบระบบมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน SA 8000 กล่าวว่า ระบบ SA 8000 มีความคล้ายคลึงกันกับระบบ ISO 9000 หรือระบบบริหารงานคุณภาพ แต่ SA 8000 จะเน้นด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงาน โดยข้อกำหนดของระบบนี้ ส่วนแรกคือ ข้อกำหนดที่ 1-8 จะนำมาจากอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ส่วนที่ 2 ข้อกำหนดที่เหลือทั้งหมดจะเป็นข้อกำหนดด้านการบริหาร

"จริงๆ แล้ว มาตรฐาน SA 8000 จะเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีพนักจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งจะมีโอกาสเจรจาต่อรองกับผู้บริหารน้อยกว่า ที่น่าสนใจของประเทศไทยคือ ข้อกำหนดในข้อ 7 เรื่องชั่วโมงการทำงาน ได้กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือล่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีเวลาของตัวเองมากขึ้น สำหรับข้อดีของระบบ SA 8000 คือ ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และในด้านการตลาดจะดีขึ้น เพราะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ผลิตใน องค์กรที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน" นายธีรเดชกล่าว
หมายเลขบันทึก: 47942เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท