พบพระที่บ้านยุงเการัฐกลันตัน


...

บันทึกนี้มีเรื่องเล่าในหมู่บ้านยุงเการัฐกลันตัน 

นมัสการท่านรองเจ้าคณะรัฐกลันตัน

 ด้วยว่านามของบ้านนอกจากที่เล่าไว้แล้วยังมีอีกสื่อความหมายอื่น ๆ เช่น  เดิมทีหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านใหญ่และเป็นหมู่บ้านทำนาจึงมายุ้งฉางข้าวเยอะมาก  พอนานไปกลายเป็นยุ้งฉางเก่า ๆ  และผู้คนมักเรียกบ้านนี้ว่า บ้านยุ้งฉางเก่า  บ้านยุ้งเก่า  ต่อนานไปเลยกลายมาเป็นบ้านยุงเกานั้นแล

พอบ้านยุงเกาขยายใหญ่มีคนอยู่หนาแน่นเลยแบ่งเป็น 3 วัด คือ

1 . วัดหัวนอน  หรือวัดประชุมธาตุชนาราม  หรือวัดกือเต๊ะฮูลู  มีบ้านย่อยมาขึ้นต่อวัดนี้ 11 หมู่บ้านคือ บ้านบือสุด  บ้านปลักยาว  บ้านแซะ  บ้านรัก  บ้านใกล้วัด  บ้านหัวสะพาน  บ้านทุ่งติง  บ้านใหม่หัวนอน  บ้านใหม่ใต้ตีน  บ้านทุ่งศาลา  บ้านเก่า

2 . วัดกลาง  หรือวัดมัชฌิมาราม มีบ้านย่อยมาขึ้นต่อวัดนี้ 5 หมู่บ้านคือ  บ้านนกอูก  บ้านตีนเป็ด  บ้านปลักยาว  บ้านโคกขะเน๊ะ  บ้านเก่าทุ่ง  ที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดกลางเพราะเดิมที่ตรงสร้างวัดอยู่ตรงกลางระหว่างวัดหัวนอนกับวัดปอม ต่อมาเรียกวัดกลางนั้นแล

3 . วัดปอม  หรือวัดพิกุลใหญ่  มีบ้านย่อยมาขึ้นต่อวัดนี้  8 หมู่บ้านคือ  บ้านเมืองไพร  บ้านทุ่งทวน  บ้านยุโละ  บ้านโคกกลาง  บ้านป่าโหนด  บ้านหัวพาน  บ้านช้างหวัง  บ้านกะเต๊ะ      ที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดปอมเพราะเดิมที่ตรงสร้างวัดมีต้นมะขามป้อม  ต่อมาเรียกแค่ปอมนั้นแล

เราได้มีโอกาสไปนมัสการและสัมภาษณ์สมภารวัดหัวนอน  ท่านเป็นเจ้าอาวาสลำดับที่เจ็ด ที่นับได้คือ พระครูพิพัฒน์อรรถกิจ ( เนื่อง  ติกฺขปญฺโญ )  อายุ 67 ปี  พรรษา 45 ปี สำหรับพระลูกวัดที่ได้สัมภาษณ์มีดังนี้

1 . พระสุทิน  อภินนฺโท  อายุ  28 ปี

2 . พระณรงค์  ณรงฺโค  อายุ  25 ปี

3 . พระฮก  ธมฺมญาโณ  อายุ 32 ปี

4 . พระมนูญ  มนูโญ  อายุ  25 ปี

5 . พระจิต  เขมธโร  อายุ  75 ปี

สิ่งที่เป็นมุมคิดเมื่อสัมภาษณ์พระคุณเจ้าคือ  บทบาทของพระสงฆ์อย่างหนึ่งคือการออกไปเยี่ยมญาติโยมเมื่อทราบข่าวว่าญาติโยมคนไหนไม่สบาย  และการออกไปสนทนาธรรมแบบไม่เป็นทางการคือไปคุยที่ศาลาลิงกับผู้คนที่เข้ามาพักผ่อนหย่อนใจ  ศาลานี้อยู่ตรงใกล้ทาง 4 แยกจึงมีคนหลายหมู่บ้านมาสื่อสารส่งข่าวต่าง ๆ รวมถึงเป็นแหล่งบันเทิง  โต้คารมกันสนุกสนาน.

        ในท้ายสุดได้ไปนมัสการสัมภาษณ์ท่านรองเจ้าคณะรัฐกลันตันรูปปัจจุบันคือพระครูพิศาลศุภกิจ  ( บุญ  พรหมณี ) อายุ 71 ปี  พรรษา 51 ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดประชาจินาราม  บ้านกูลิม  อำเภอตุมปัต  รัฐกลันตัน  ได้ทราบว่า 

แม่น้ำโกตาบารู

 วัดนี้มีทั้งชาวไทและชาวจีนอย่างละครึ่งมาร่วมทำบุญขึ้นตรงต่อวัดนี้ซึ่งมีชาวพุทธประมาณ 400 ครัวเรือน และพื้นเพเดิมท่านก็เป็นคนเกิดที่บ้านยุงเกานั้นแล.

หมายเลขบันทึก: 479391เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชอบชื่อนี้จังเลยวัดหัวนอน
  • อ่านบันทึกของอาจารย์ทำให้นึกถึงพี่น้องกลุ่มชนต่างๆในไทย
  • บางกลุ่มก็เปลี่ยนแปลง อย่างหาร่องรอยไม่เจอ โดยเฉพาะกลุ่มใหญ่ๆ
  • กลุ่มเล็กๆเสียอีก ที่ยังดำรงความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้ค่อนข้างดี
  • ส่วนใหญ่จะถูกกลืน เลือนหายไป เีรียกว่าปรับตัวได้ดี หรือหาตัวตนไม่พบกันแน่
  • กลุ่มคนไทในมาเลเซีย น่าสนใจที่ยังดำรงความเป็นไทไว้ได้อย่างมาก เป็นเพราะเป็นคนกลุ่มน้อยหรือเปล่า เลยไม่ยอมถูกกลืนไปง่ายๆ(คนรุ่นเก่าๆ)

นมัสการครับ พระคุณเจ้า

เรื่องนี้คงได้คุยกันอีกยาวละครับ

อัตลักษณ์ของชุมชนคนท้องถิ่น สิ่งสำคัญคือการยึดโยงผูกติดอยู่กับพระพุทธศาสนาจึงทำให้อัตลักษณ์ดำรงอยู่ได้นะครับ

นมัสการครับผม

ดีมากครับคุณพี่ที่ได้เอาประวัตพระพุทธศาสนาในต่างแดนมาฝาก

สวัสดีครับ คุณประเวศ นนท์ศิริ

ผมได้ผ่านพบวัดทางพระพุทธศาสนาเลยนำมาเล่าไว้ให้ได้ฟังกัน ตามประสาของคนเดินทางครับ...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท