ผชช.ว.ตาก (๗๙): การให้คะแนนนิเทศงานอำเภอในภาพรวม


การให้คะแนนการประเมินในภาพรวมของหน่วยงานสาธารณสุขแต่ละอำเภอ จะช่วยให้ผู้นิเทศพยายามเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานได้

สสจ.ตากได้ดให้มีการนิเทศติดตามงานร่วมไปกับตรวจเยี่ยมหน่วยงานในระดับอำเภอโดยการนำของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและหัวหน้าฝ่ายทั้ง ๘ ฝ่ายหรือผู้แทน กำหนดไว้ปีละ ๒ ครั้ง ทั้ง ๙ อำเภอ โดยการนิเทศจะนิเทศทั้ง คปสอ. โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑-๒ แห่งต่ออำเภอ

ในปีที่ผ่านมา ได้ตกลงกันว่า จะให้ผู้นิเทศทั้ง ๘ ฝ่ายร่วมกันให้คะแนนในภาพรวมของแต่ละอำเภอ โดยจำแนกออกเป็นคะแนนของ คปสอ. คะแนนโรงพยาบาล และคะแนนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โดยกำหนดแนวทางการให้คะแนนง่ายๆเป็น ๓ ส่วนคือ

๑. ปัจจัยนำเข้า ร้อยละ ๓๐

๒. กระบวนการ ร้อยละ ๓๐

๓. ผลลัพธ์ ร้อยละ ๔๐

โดย

๑. ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ประเมินการบริหารจัดการ การวางแผน การใช้ทรัพยากรและปัจจัยต่างๆที่ใช้ทำงาน

๒. กระบวนการ (Process) หมายรวมถึง กิจกรรมต่างๆหรือโครงการที่นำลงสู่การปฏิบัติ

๓. ผลลัพธ์ (Results) หมายถึง ผลที่ได้จากการปฏิบัติงานของพื้นที่หรือหน่วยงาน ทั้งผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบทั้งต่อหน่วยงาน เจ้าหน้าที่และประชาชน

ทั้งนี้ แต่ละฝ่ายให้คะแนนตามเกณฑ์โดยให้มีความแตกต่างสามารถเรียงลำดับหน่วยงานได้

ซึ่งผมมีความตั้งใจไว้ว่า ถ้าประเมินรอบที่สองเสร็จแล้ว จะนำคะแนนทั้งรอบแรกและรอบที่สองมารวมกัน เพื่อให้รางวัลโรงพยาบาลดีเด่นจังหวัดตาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดีเด่นจังหวัดตาก และ คปสอ.ดีเด่นจังหวัดตาก โดยจะหางบประมาณมาจัดทำโล่รางวัลให้ เป็นชนะเลิศ รองอันดับหนึ่งและรองอันดับสอง

หมายเลขบันทึก: 479255เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท