รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

สุขอย่างเพียงพอ กับ เศรษฐกิจพอเพียงที่อัมพวา


 
กลับจากตลาดน้ำท่าคา  เกือบ ๆ เที่ยง เรามีสิ่งดี ๆ รออยู่ที่ Homestay.
 
ถึงสองรายการเด็ด ๆ รายการแรกก้คือนวดแผนไทย  
 
น่าสนใจไม่น้อย ซื่งตอนตกลงเรื่องราคา
 
ที่พัก ได้รวมรายการนี้ไว้ด้วยแล้ว  เพราะฉะนั้นงานนี้พลาดไม่ได้ 
 
เตรียมตัวนอนรอได้เลยค่ะ 

 
 
ใช้เวลาในการนวดนานมาก คนละสองชั่วโมง
 
จากการสอบถามผู้ที่ใช้บริการ
 
พบว่าได้รับความประทับใจในฝีมือการนวดในครั้งนี้พอประมาณ 
 
 
(ผลิตภัณฑ์ ตะกร้าใส่ผลไม้ที่สานจากใบมะพร้าว)

สำหรับคนเป็นครูแล้ว ไปไหนมาไหนก็อดไม่ได้ที่จะเสาะแสวงหาความรู้
 
เพื่อนำไปฝากลูกศิษย์ตัวน้อย  ดังนั้นช่วงที่สมาชิกกลุ่มหนึ่ง
 
ไปรับบริการนวดแผนไทย
 
สมาชิกที่เหลือคือครูอิง  และครูรุ่นน้องอีกคน
 
พร้อมด้วยสองหนุ่มน้อย(ลูกชายครูอิง)
 
ก็ไปเรียนรู้งานจักสาน ผลิตภัณฑ์จาก "มะพร้าว" กันค่ะ
 
 

ฟังจากปราชญ์ชาวบ้านแล้ว น่าทึ่งกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดูเหมือนจะสอดรับกับ
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างมาก
 
ทั้งด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  การลดโลกร้อน  
 
การนำวัสดุธรรมชาติรอบตัวมาใช้ประโยชน์อย่างแยบยล  
 
และรักความเป็นไทย  อย่างน่าชื่นชม
 
 
 
 
ดูวิธีการทำแล้วไม่น่าจะยาก  ปฏิบัติจริงกันเล้ย
 
แต่แล้วครูอิงประเมินความสามารถของตัวเองแล้ว
 
สรุปว่าขอนั่งเป็นกำลังใจ  ลุ้นให้สุภาพสตรีสาวสวยผู้นี้  
 
เป็นผู้รับการถ่ายทอดเพื่อนำไปถ่ายทอดต่อให้กับคุณครูท่านอื่น ๆ
 
และลูกศิษย์ตัวน้อยที่ประจวบฯค่ะ

 
 
สักพัก  ก็มีแรงเชียร์เพิ่มขึ้น เมื่อสมาชิกบางท่าน
 
เสร็จสิ้นจากการรับบริการนวดแผนไทย
 
เดินตัวปลิวอย่างสบายเนื้อสบายตัวมาสมทบ  ต่างก็ช่วยกันจำ  

จนคิดว่างานนี้น่าจะได้ต่อยอด
 
ด้วยการนำไปฝึกให้กับเด็กนักเรียนชั้น ป.5-6 ได้

 
 
เกือบสำเร็จแล้วค่ะ  สาวสวยของเราเริ่มยิ้มปลื้มกับผลงานของตัวเอง
 
โดยมีหนุ่มน้อยเสื้อเขียวคอยเป็นตากล้อง  
 
เก็บภาพสวย ๆ ไว้ให้เจ้าของภาพได้ชื่นชมและภาพอาจฟื้นความทรงจำได้
 
เมื่อเวลาผ่านไป  
 
 
 
ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ  ได้ตะกร้าใบย่อมสำหรับบรรจุสิ่งที่เราต้องการ
 
ขณะที่พวกเรากำลังเรียนรู้งานสานใบมะพร้าวอยู่นั้น  เจ้าของ  Homestay
 
ก็ทำขนม ถ้าเป็นที่บ้านฉัน (สงขลา) ขนมแบบนี้เรียกว่า "ขนมโค"
 
เสร็จพอดีเช่นกันจึงลองจัดใส่ตะกร้า ก็ดูดี  
 
ตะกร้าสารพัดประโยชน์จริง ๆ ใส่ขนมก็ได้
 
ใส่ผลไม้ก็เยี่ยม  นอกจากนี้ใบมะพร้าวยังสานเป็นรูปแบบอื่่น ๆ
 
ได้อีกมากมายหลายอย่างสานหมวกก็ได้ค่ะ  
 
แต่วันนี้เวลามีน้อย พวกเราจึงได้ความรู้ได้ปฏิบัติจริง  
 
ในเรื่องของการสานใบมะพร้าวเป็น
 
ตะกร้า เท่านั้น  แค่นี้ก้พอใจแ้ล้วอย่างน้อยเราก้มีสิ่งดี ๆ
 
กลับไปฝากลูกศิษย์  และเป้นของฝากประเภทคงทนเสียด้วย

 
 
 
                                                       
หมายเลขบันทึก: 479233เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพลงอัมพวา เคยฟังแต่ผู้ชายร้องนะครับ

ยรรยงค์ เสลานนท์ กระมัง

ถ้าผมจำไม่ผิด

สวัสดีน้องครูอิง ไปหลายหนแล้ว แต่ไปไม่ถึงตรงนี้

สานเป็นโคระใสหนุน ตะกร้ายังไม่หอนสาน

แวะมาฟังเพลงด้วยคนค่ะ ครูอิง...นาน ๆ ได้ฟังทีก็ยังไพเราะอยู่ดีค่ะ...คิดถึงเสมอค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท