สัมมนาภาควิชาวิสัญญีวิทยา มข.2555 : AI & Dialogue (2)


(ต่อจากตอนที่แล้ว)

กิจกรรม...

การฝึกทักษะการหา สามคนไม่ธรรมดา... วิทยากรดัดแปลงเทคนิค World café มาใช้จัดการความรู้

  • แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 5 คน มี 1 คนเป็นเจ้าของร้านกาแฟที่จะมีการพูดคุยกันสบายๆในเรื่องที่กำหนด
  • สำหรับงานนี้ ร้านกาแฟแต่ละร้านกำหนดเป็นร้าน Connectors, Mavens และ Salesman... เวียนกลุ่มไป
  • เจ้าของร้านกาแฟแต่ละร้านต้องเก็บสาระในการพูดคุยโดยอธิบายว่า สามคนไม่ธรรมดาตามหัวข้อที่กำหนดของร้านตนนั้น “เขาคือใคร เขาทำอะไรให้ชีวิตเราดีขึ้น และได้บทเรียนอะไรดีๆจากเขา...”  แล้วนำเสนอ
  • ขณะนำเสนอวิทยากรจะตั้งคำถามลงลึกเพื่อสร้างความชัดเจน
  • รอบต่อมาเพิ่มร้านกาแฟที่มีเรื่องคุยเป็นอะไรก็ได้อีก 1 ร้านเพื่อหาความแปลกใหม่

ชีวิตเรามิได้มีแต่ชาววิสัญญี แต่เรามีบุคลากรอื่นที่น่าสนใจและค้นหาเพื่อทำให้การสร้างงานเกิดความสำเร็จ

...

  ประเด็นที่ได้มาอาจเป็นหลายๆประเด็นรวมกันเป็นประเด็นหลัก หรือบางประเด็นสามารถแตกออกเป็นประเด็นย่อย

เท่าที่ผู้เขียนเก็บประเด็นได้จากการรวมประเด็นย่อยเป็นประเด็นหลัก ได้แก่

ลักษณะของสามคนไม่ธรรมดาในองค์กรของผู้เขียน ประมาณนี้

  • ลักษณะ Connectors จะเป็นผู้ที่เชื่อมโยงด้านสุขภาพหรือครอบครัวของคนในองค์กร...สู่การทำให้คลายทุกข์เรื่องนั้นๆ จริงๆเรื่องนี้มีประเด็นกิจกรรมในภาคฯหลายเรื่องที่สำเร็จได้โดยใช้ connectors นอกภาคฯเช่นการช่วยเชิญวิทยากรต่างสถาบัน
  • ลักษณะ Mavens จะเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการระงับปวด ข้อมูลงานคุณภาพ การจัดเก็บข้อมูล การทำกับข้าว...
  • ลักษณะ Salesman จะเป็นผู้ชักชวน โน้มน้าวผู้อื่นให้เข้าร่วมกิจกรรมภาคฯที่ชัดเจนก็จะเป็นการออกกำลังกาย และโยคะ...

(ผู้เขียนเก็บประเด็นได้ไม่หมดเพราะต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้วย...ขอให้เพื่อนๆที่เข้าร่วมสัมมนาต่อเติมด้วยนะคะ...)

ประเด็นหลักที่จะนำไปแตกเป็นประเด็นย่อย น่าจะเป็นเรื่องงานของ supply UM LEAN การจัดการเรื่องเครื่องมือ...

ประเด็นที่ดี ที่จะนำไปแพร่ขยายแบบเชื้อแพร่กระจายยังไม่เห็นชัดเจน (หากเพื่อนๆเห็นกรุณานำมาต่อยอดด้วยนะคะ...)

ยกตัวอย่างบางงานเช่น Mavens ได้แก่สมาชิกกลุ่มระงับปวดที่ให้ความรู้เรื่องการระงับปวดแก่ผู้อื่น คุณสุธันนี เป็น Maven เรื่อง IT หรือข้อมูลสารสนเทศ สมาชิกหลายท่านที่ถูกเอ่ยนามเป็น Connectors เช่น คุณสุวิมล คุณมณีรัตน์  ส่วนผู้เขียนถูกน้องยกตัวอย่างว่าเป็น Connectors ในเรื่องข้อมูลกิจกรรมของภาควิชาฯ และเป็น Mavens ในเรื่อง HA

...

  ต่อมาให้จับคู่เพื่อเล่าถึงแผนที่เราจะทำได้ภายใน 10 วันข้างหน้า... เป็นงานที่ต้องทำได้ง่าย ทำได้ด้วยตนเอง ไม่ใช้งบประมาณ... เริ่มจากงานเล็กๆ โดยในงานนั้นพยายามหาสามคนไม่ธรรมดา

...หลายท่านวางแผนพัฒนางานประจำของตน

ตรงนี้สำคัญ...

หลายครั้งที่วิทยากรพูดตัดบทในเรื่องเล่าโดยใช้คำถามเจาะลึก ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึง หัวใจสำคัญของ AI นั่นคือการใช้คำถามเจาะลึกในการหา...ตัวจริง ตัวเป็นๆของผู้เกี่ยวข้อง นำสู่การทำจริงที่สามารถนำกลับไปใช้ได้จริง ดังนั้นการกล่าวถึงบุคคลต้องระบุชื่อชัดเจน (คล้ายการจองเจ้าภาพงาน) ... หลายคนเลยอาจอารมณ์ค้างกับการเล่าที่ค้างคา...

นี่เป็นเพียงตัวอย่างการใช้เครื่องมือ AI เท่านั้น(มิได้เน้นในเนื้อหาที่เพื่อนเล่า)เลยอาจดูว่าไม่เนียนไปกับเทคนิคของ“สุนทรียสนทนา”

... 

 โดยสรุป

สุนทรียสาธก หรือ AI (Appleciate Inquiry) ...เกี่ยวข้องกับ

  • การค้นหาสิ่งที่ดีๆ... ซึ่งตั้งต้นจากการตั้งคำถามที่ดีๆ
  • เรื่องดีๆในอดีต กำหนดสิ่งที่ดีๆและชะตาชีวิตที่ดีในอนาคต
  • การใช้คำถามด้านบวก...เพื่อแก้ปัญหาด้านลบ
  • การใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการปฏิบัติ (Positive psychology)
  • เทคนิคของ AI ไม่ใช่เพียงแค่คิดแต่ต้องมีความชัดเจนของความคิดให้มากที่สุด
  • การทำกิจกรรมต้องสนุก ไม่เครียด ไม่เป็นภาระและสร้างความเปลี่ยนแปลง
  • AI ไม่ได้เริ่มที่คนเก่งในองค์กรแต่มองหาคนที่มีเทคนิคการทำงาน เรียกว่าเป็น “ม้านอกสายตา”...
  • การใช้จิตวิทยาเชิงบวก(Positive psychology) ในการปฏิบัติ

 

สุนทรียสาธก หรือ AI (Appleciate Inquiry)เน้นการใช้คำถามเจาะลึกเพื่อต้องการได้ภาพที่ชัดเจนของความคิดมากที่สุด ที่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้จริงเพราะภาพที่เห็นชัดจะมีโอกาสเกิดความเป็นจริงและความเป็นไปได้สูง ในขณะที่ สุนทรียสนทนา (Dialogue) เน้นการฟังอย่างตั้งใจและลุ่มลึก

...สุดท้ายคือเป้าหมายเดียวกัน

คือการเรียนรู้ตนเองและผู้อื่น สู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม... ของตนเองและองค์กร

  สิ่งที่ได้เรียนรู้จะเกิดประโยชน์หรือไม่ก็อยู่ที่ตัวผู้เข้าสัมมนาเอง... ที่จะเปิดใจกว้าง ใช้เทคนิคฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening) ให้ความเคารพ (Respecting)และเชื่อมั่นในผู้พูด ตั้งใจรับฟังแบบ deep listening แขวนความคิดเดิมที่ปิดกั้นของตน เปิดใจกว้างสู่เรื่องที่รับฟังเรื่องใหม่ มุมมองใหม่ที่ได้ยิน คิดวิเคราะห์ สกัดตาม ซึ่งอาจจะปิ๊งเรื่องราวใหม่ๆตามมาได้

...

ขอขอบพระคุณ

 

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ อีกครั้ง ที่ทำให้พวกเราชาววิสัญญีมีหูตาที่เปิดกว้างขึ้นไปกว่าการดมยาสลบไปวันๆ...

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 479216เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะพี่กฤษณา

ชื่นชมกิจกรรมดีๆนี้ น่าสนใจมากค่ะ ถ้ามีโอกาสอยากเข้าอบรมกับอาจารย์บ้างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พี่แก้วต้องลองเองค่ะถึงจะได้บรรยากาศ

สวัสดีค่ะ คุณถาวร

คาดว่าอาจารย์น่าจะได้มาเป็นวิทยากรในคณะฯของเราในเร็วๆนี้นะคะ ต้องลองติดตามดูค่ะ

ผมสนใจการตัดบทเรื่องเล่า โดยไม่ทำให้คนเสีย self หรือรู้สึกไม่ดี เขาทำได้อย่างไรครับ และทำไมไม่รอให้เขาเล่าให้จบก่อน?

เรียน อ.Phoenix ค่ะ

ใคร่เรียนอาจารย์ว่า มิใช่ตัดบทขณะตั้งวงทำกิจกรรมค่ะ แต่เป็นช่วงการนำเสนอ...

จริงๆแล้วผู้เขียนก็ไม่ควรใช้คำว่าตัดบทน่ะค่ะ น่าจะใช้คำว่า ขัดจังหวะช่วงนำเสนอ ดูจะเหมาะกว่าค่ะ ต้องขอประทานโทษด้วยค่ะที่ผู้เล่าอาจสื่อสารได้ไม่ดี จนอาจทำให้เข้าใจผิด

ตัวอย่างการขัดจังหวะการนำเสนอดังกล่าว เช่น ผู้นำเสนอกล่าวถึงแผนงานที่จะทำใน 10 วันว่าเดิมเขามีปัญหาการจัดการเรื่องเงินหรือการเบิกเงิน เขาวางแผนจะพัฒนาโดยหาผู้รู้ (Mavens) ก็จะถูกอาจารย์ถามจี้ต่อว่า...ผู้รู้ที่กล่าวถึงคือใคร?จนต้องเอ่ยชื่อ., มีผู้นำเสนอว่าพบปัญหาเรื่องวิทยุสื่อสารการตามในหน่วยงาน เขาจะถามผู้รู้เรื่องวิทยุสื่อสาร ก็จะถูกอาจารย์ถามจี้ต่อว่า...ใคร?จนต้องเอ่ยชื่อเช่นกันค่ะ

...ส่วนเทคนิคที่ทำให้คนไม่เสีย self หรือรู้สึกไม่ดีคงต้องให้ท่านวิทยากรมาช่วยเล่าเองค่ะ เพราะที่เห็นคือ คนในภาคฯก็ดูสนุกสนานและมีความสุขกับกิจกรรมกันดีค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

เรียน ท่านอ.จิตเจริญ

ขอบพระคุณท่านอ.จิตเจริญค่ะ

ชาววิสัญญี มข.สบายดีค่ะ อาจารย์

ยังคงระลึกถึงอาจารย์ผู้เป็น "ผู้รู้( Mavens) ทางกิจกรรมคุณภาพ HA" เจ้าของประโยค " HA = เฮ็ดเอง" อยู่นะคะ

ด้วยความเคารพ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท