ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๙๖. สังคมที่ไม่เป็นธรรม


ความไม่เป็นธรรมพื้นฐานของสังคมไทยอยู่ที่การศึกษา เพราะคุณภาพการศึกษาของเราไม่สม่ำเสมอ หรือมีช่องว่างสูงมาก พ่อแม่จึงตะเกียกตะกายส่งลูกเข้าโรงเรียนดี ลูกของคนที่มีกำลังน้อย ก็ต้องทนรับการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๐/๑๙ โดยไม่รู้ตัว และทำให้พื้นฐานชีวิตอ่อนแอ


          ตัวอย่างสังคมไม่เป็นธรรมที่เลวร้ายที่สุดสังคมหนึ่ง    คือประเทศที่ทรงอำนาจสูงสุดของโลก ... สหรัฐอเมริกา    ดังข้อเขียนเรื่อง Rich America, Poor Americaในนิตยสาร นิวสวีก ฉบับวันที่ ๒๓ ม.ค. ๕๕ ที่บอกว่าในอเมริกามี ๒ สังคม ที่ไม่คุยกัน เหมือนอยู่กันคนละโลกหรือต่างคนต่างอยู่

          ยิ่งนับวันรายได้และความเป็นอยู่ของคน lowest quintile หรือ 1/5 (20%) ล่างสุด ก็ยิ่งแตกต่างจากรายได้และความเป็นอยู่ของคน highest quintile

          สังคมแบบนี้ไม่เป็นธรรม และไม่ยั่งยืน   ในที่สุดจะเกิดความรุนแรง

          ข้อที่น่ากลัวคือ ยิ่งนับวันสังคมอเมริกันก็ยิ่งมีความไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้น   สังคมแบบนี้ความรุนแรงและปัญหาสังคมมีสูง   แต่เราก็มีสังคมสแคนดิเนเวีย ที่ช่องว่างหรือความไม่เป็นธรรมทางสังคมมีน้อย   สังคมแบบนี้มีปัญหาสังคมน้อยกว่า แม้จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจของโลก

          ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๘ ม.ค. ๕๕ ผมไปร่วมประชุม Prince Mahidol Award Conference 2012และสรุปว่า Universal Health Coverage (UHC) คือเครื่องมือ (means) หรือเส้นทางสู่สังคมที่เป็นธรรม  หากมองจากแว่น UHC ประเทศไทยก้าวหน้ากว่าสหรัฐอเมริกามาก   สังคมไทยมีความเป็นธรรมสูงกว่าสังคมอเมริกามาก   แต่เราก็มีความท้าทายในรายละเอียดอีกมากมาย ในการพัฒนาสังคมที่ทั้งเป็นธรรมและมีการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่

          ความไม่เป็นธรรมพื้นฐานของสังคมไทยอยู่ที่การศึกษา    เพราะคุณภาพการศึกษาของเราไม่สม่ำเสมอ หรือมีช่องว่างสูงมาก    พ่อแม่จึงตะเกียกตะกายส่งลูกเข้าโรงเรียนดี   ลูกของคนที่มีกำลังน้อย ก็ต้องทนรับการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๐/๑๙ โดยไม่รู้ตัว   และทำให้พื้นฐานชีวิตอ่อนแอ

 

วิจารณ์ พานิช
๒๙ ม.ค. ๕๕
 

หมายเลขบันทึก: 478866เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2012 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แปลกมากครับ ผมยังไม่อยากเชื่อข้อมูลนี้นัก (จาก นิวสวีค) เพราะที่ usa คนจบปริญญาเอกกับจบม.๖ เงินเดือนต่างกันไม่มาก และนี่คือเหตุผลทำไมคนเมกันไม่เรียนป.เอก (เพราะมันไม่คุ้ม) ดังนั้น MIT จึงมีแต่คนเอเชียเข้าไปเรียน ป.เอก จบ ป.เอกใหม่ เงินเดือนน้อยกว่าพวกจบม.๖ ที่ทำงานในโรงงานประกอบรถยนต์ก็มีครับ

ผมคิดว่าตัวเลขดังกล่าวอาจมีความบิดเบี้ยวบางประการ เช่น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีคนตกงานมาก รายได้เป็น 0 จึงไปถ่วงให้คนด้านล่างมีรายได้ต่ำลงมาก เลยทำให้ตัวเลขช่องว่างมีปริมาณสูงกว่าปกติ แต่พอตกงานเขาก็มีประกันสังคมระดับหนึ่งนะครับ เช่น food stamp

สวัสดีครับ

เห็นด้วยครับ ที่บอกว่าปัญหาพื้นฐานของสังคมไทยอยู่ที่การศึกษา..เพราะปัญหาเด็กไทยในขณะนี้ก็คือ เด็กไม่ตั้งใจเรียนทั้งๆ ที่มีโอกาส และอีกประการหนึ่งก็คือการที่เด็กนักเรียนนักศึกษาคิดว่าการเรียนคืออาชีพ เพราะมีพ่อแม่เป็นนายจ้าง ถึงวันสินเดือนก็ได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง เมื่อเป็นอย่างนี้เด็กก็ไม่อยากจะทำงานเพราะรายได้ที่ได้จากพ่อแม่แต่ละเดือนดีกว่า เลยทำให้ขาดความรับผิดชอบ ส่งผลให้พื้นฐานสังคม/ชีวิตอ่อนแอ

เรียน อาจารย์ที่เคารพ ไม่แน่ใจว่าที่ตนเองเสนอจะผิดถูกมากน้อยเพียงใด ว่าคุณภาะการศึกษาไทยต้องแก้ที่ระบบคิดในการจัดการศึกษาทุกระดับ เช่น ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ควรมีไว้เพื่อปรับปรุงแก้ไข มิใช่มีไว้ตัดสินว่า ทำได้ตามเกณฑ์หรือไม่ได้ ต้องสอนที่ครอบครัวก่อน ในเรื่อง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ รู้จักไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนทุกระดับชั้น เคยไปที่มหาวิทยาลัยในแคนาดา มัศูนย์การค้นหาและเลือกใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่ร฿มีรายละเอียดเป็นอย่างไร เพราะไปแบบรีบๆๆ เดินผ่านเห็นป้ายชื่อศูนย์ จึงอยากเปิดสอนกระบวนวิชานี้ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นทักษะชีวิตของคนไทยยุคใหม่ ตอนนี้พยายามสอนโดยให้ผู้เรียนค้นหาและวิเคราะห์เนื้อหาด้วยตนเองว่าอะไรผิดอะไรถูกเพราะอะไรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท