ชาวสิงคโปร์ไว้อาลัย Dr. Toh Chin Chye: ผู้ร่วมก่อตั้งสิงคโปร์


ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีในการเมือง คนที่เคยทำงานร่วมกับชายคนนี้อาจมองเห็นจุดด้อยบางประการว่าเขาว่าเป็นคนฟิวส์ขาดง่าย ปากร้าย มองการณ์ใกล้ ฯ แต่ไม่เคยมีใครเลยที่สามารถจะอ้าปากประณามความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ของเขาได้แม้แต่ครั้งเดียว ไม่เคยมีระแคะระคายถึงเหตุการณ์อื้อฉาวที่เกี่ยวเนื่องกับความสุจริตใจของชายผู้นี้เลย

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาชาวสิงคโปร์ต่างร่วมกันไว้อาลัยกับการจากไปของ ดร. โต ชิน ไชย (Dr. Toh Chin Chye) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้ร่วมก่อตั้งพรรรค People’s Action Party (PAP), ดร. โต เสียชีวิตด้วยโรคชรา รวมสิริอายุได้ 90 ปี

ชายร่างเล็ก สวมแว่นนตาหนาเตอะคนนี้ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การก่อตั้งประเทศเล็กๆ นี้ ร่วมกับ ลี กวน ยู, โก เค็ง ซุย ฯ จนมาเป็นสิงคโปร์ที่เรารู้จักอยู่ทุกวันนี้

ดร. โต เกิดในครอบครัวที่ยากจนในเปรัก มาเลเซีย พ่อของเขาทำอาชีพขายรถจักยาน ด้วยความที่เป็นเด็กหัวดี เขาเรียนชั้นมัธยมศึกษาในมาเลเซีย และรับทุนมาเรียนต่ออนุปริญญาทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สิงคโปร์ จากนั้นจึงได้ขอทุนไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ (University of London) จนกระทั่งจบปริญญาเอกทางด้านสรีรวิทยา (Physiology) จาก The National Institute for Medical Research ในปี คศ. 1953

ที่ลอนดอนนั่นเองที่เขาได้พบ ลี กวน ยู และพรรคพวก รวมทั้ง Tun Abdul Razak อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย ซึ่งได้รวมกลุ่มกันโดยเรียกตัวเองว่า กลุ่มนักศึกษาผู้ต่อต้านการเป็นเมืองขึ้นจากประเทศมาเลเซียแและสิงคโปร์ โดย ดร. โต ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้ได้พบปะ สนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของมาเลเซียและสิงคโปร์

ดร. โต กลับมาเป็นอาจารย์คณะแพทย์ที่ National University of Singapore (NUS) หลังเรียนจบ แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ยังเข้าร่วมกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับ ลี กวน ยู และพรรคพวก ซึ่งรวมกลุ่มกันที่ห้องใต้ดินของบ้าน ลี กวน ยู, กระทั่งในปี คศ. 1954 ดร. โต ได้เสนอให้มีการก่อตั้งพรรค People’s Action Party (PAP) ขึ้น เขารับตำแหน่งหัวหน้าพรรรค โดยมี ลี กวน ยู เป็นเลขาธิการพรรค

ดร. โต เป็นกำลังสำคัญสนับสนุน ลี กวน ยู เพื่อต่อสู้กับผู้มีความคิดฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ภายในพรรค และเป็นคนสำคัญในการผลักดัน ลี กวน ยู ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี คศ. 1959

ดร. โต รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่งเช่น รองนายกกรัฐมนตรี (คศ. 1959 - 1968), รัฐมนนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คศ. 1968 – 1975), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสูข (คศ. 1975 -1981) และนอกจากนี้เขาก็ยังรับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ในช่วงปี คศ. 1968 - 1975 อีกด้วย เขาเป็นหัวคิดและผู้นำในการย้ายคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่กระจัดกระจายอยู่ให้มารวมตัวกันที่ Kent Ridge ในปัจจุบัน

ในช่วงนี้เอง ดร. โต ได้รับคำวิพากวิจารย์มากมายในการบริหารงานมหาวิทยาลัย ขณะที่ผู้คนชื่นชมการปรับเปลี่ยนแนวทางการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติ แต่เขาก็ได้ชื่อว่าเป็นเผด็จการโดยเฉพาะการที่เขาห้าม มิให้มีการชุมนุมประท้วงของนักศึกษาที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง เป็นต้น

ดร. โต ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคและลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี ในปี คศ. 1981 เขาทำงานเป็นผู้แทนราษฎรธรรมดาต่ออีกสองสมัยจนถึง คศ. 1988  จึงวางมือจากการเมือง และใช้ชีวิตเงียบสงบกับครอบครัว

เด็กรุ่นหลังๆ อาจไม่รู้จักชายผู้นี้ แต่ทุกครั้งที่เขาร้องเพลง Majulah Singapura เพลงเพลงนี้คือเพลงที่ ดร. โต เลือกให้เป็นเพลงชาติหลังจากที่สิงคโปร์ได้เป็นเอกกราชในปี คศ. 1965 หรือยามที่มองไปที่ธงชาติ ธงสีแดงขาวนี้คือธงที่ ดร. โต เป็นผู้นำกลุ่มออกแบบขึ้นมา พระจันทร์เสี้ยวถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศที่พึ่งได้รับเอกราช ดาวทั้งห้าดวง หมายถึง ประชาธิปไตย, ความยุติธรรม, ความสงบสุข, ความก้าวหน้า และความเสมอภาค สีแดงแทนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพี่น้องร่วมชาติ และสีขาวคือความซื่อตรง บริสุทธิ์

ดร. โต ได้ชื่อว่าเป็นนักสู้ที่ไม่เกรงกลัวใครและไม่ยอมแพ้ใครง่ายๆ ตั้งแต่การต่อสู้พยายามที่จะรวมสิงคโปร์ให้เป็นหนึ่งเดียวกับมาเลเซีย ซึ่งก็ทำได้แค่สองปี ระหว่างปี 1963-1965 จนกระทั่งสิงคโปร์ถูกมาเลเซียลอยแพในปี คศ. 1965 และหลังจากนั้น เขาก็ต้องต่อสู้กับพวกฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ และ พรรคการเมืองอื่นๆ ในช่วงที่เริ่มก่อตั้งประเทศ หรือแม้แต่นโยบายบางนโยบายของพรรค PAP เองเรื่อยมา

S. Rajaratnam หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสิงคโปร์กล่าวถึงเขาว่า “เขาเป็นคนที่เรียบง่าย  แต่รอบคอบ เขาเป็นคนไม่ชอบหาเรื่องใคร แต่หากต้องสู้กับใครโดยมีศักดิ์ศรีของประเทศชาติเป็นเดิมพัน เขาจะสู้จนตายกันไปข้างใดข้างหนึ่ง”

แม้ ลี กวน ยู ก็ได้เขียนคำไว้อาลัย ดร. โต ไว้ว่า “เขาทำงานเพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อตำแหน่งทางการเมือง เขาเป็นนักสู้ที่อาจหาญ เขาสู้เพือความเสมอภาคของประชาชนของสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด  ภาษาใด หรือศาสนาใดก็ตาม กับการจากไปของ ดร โต สิงคโปร์ได้สูญเสียบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและความเป็นเอกราช”

ด้วยพื้นฐานทางครอบครัวและความเชื่อในความเสมอภาคของประชาชน ดร. โต จัดอยู่ในกลุ่มนักสังคมนิยม ซึ่ง ลี กวน ยู รู้ดีและยอมรับว่าในรัฐบาลของเขานั้นมีความแตกต่างในด้านความคิดอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือ ลี กวน ยู กับ โก เค็ง ซุย ซึ่งถือเป็นพวกปฏิบัตินิยม และ ดร. โต จัดอยู่ในกลุ่มสังคมนิยม ซึ่งบ่อยครั้งที่ทั้งสองฝ่ายจะมีข้อขัดแย้งกัน แต่ ดร. โต ก็มิเคยเปลี่ยนจุดยืนของตัวเอง

ประโยคเด่นที่เขาชอบพูดคือ “เมื่อเราอยู่แนวหน้าของการเมือง แน่นอนว่ามันจะมีขวากหนามและลูกศร อย่าหวังหนทางโรยด้วยกลีบกุหลาบ ผมไม่เคยหวังที่จะได้รับช่อกุหลาบ

ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีในการเมือง คนที่เคยทำงานร่วมกับชายคนนี้อาจมองเห็นจุดด้อยบางประการว่าเขาว่าเป็นคนฟิวส์ขาดง่าย  ปากร้าย มองการณ์ใกล้ ฯ แต่ไม่เคยมีใครเลยที่สามารถจะอ้าปากประณามความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ของเขาได้แม้แต่ครั้งเดียว ไม่เคยมีระแคะระคายถึงเหตุการณ์อื้อฉาวที่เกี่ยวเนื่องกับความสุจริตใจของชายผู้นี้เลย

วันนี้ร่างของ ดร. โต มอดไหม้ไปที่สุสาน Mandai Crematorium แต่เลือดนักสู้ เลือดของความซื่อสัตย์ ตลอดจนคุณความดีที่เขาสร้างไว้จะอยู่ในประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ตลอดไป เพราะหากไม่มีชายคนนี้ก็อาจไม่มีพรรค PAP และสิงคโปร์อาจแตกต่างไปจากสิงคโปร์ที่เราเห็นในทุกวันนี้...

หมายเลขบันทึก: 477899เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"ตัวตายแต่ชื่อยัง"

ขอร่วมไว้อาลัยด้วยครับ

ร่วมไว้อาลัยกับคนสิงคโปร์ด้วยครับ

เพราะท่านเป็นคนที่น่าอาลัยจริง ๆ ครับ

ขอบคุณที่เล่าประวัติศาสตร์สิงคโปร์เป็นวิทยาทานคะ ...
ฝ่ายแรกคือ ลี กวน ยู กับ โก เ ซุย ซึ่งถือเป็นพวกปฏิบัตินิยม และ ดร. โต จัดอยู่ในกลุ่มสังคมนิยม ซึ่งบ่อยครั้งที่ทั้งสองฝ่ายจะมีข้อขัดปแย้งกัน แต่ ดร. โต ก็มิเคยเปลี่ยนจุดยืนของตัวเอง ...
เป็นตัวอย่าง การพัฒนาร่วมกันบนวิธีคิดที่แตกต่างคะ
สิ่งที่ทั้งสามผู้นำความเปลี่ยนแปลง มีลักษณะร่วมกันคือ "Commitment"

เมื่อเราอยู่แนวหน้าของการเมือง แน่นอนว่ามันจะมีขวากหนามและลูกศร อย่าหวังหนทางโรยด้วยกลีบกุหลาบ ผมไม่เคยหวังที่จะได้รับช่อกุหลาบ

..

นักการเมือง ตัวจริง เสียงจริง พูดจริง ทำจริง อิงศักดิ์ศรี และมั่นในจุดยืน

ประทับใจนะคะ คำมั่นสัญญา ของผู้นำทั้งสามฝ่าย แม้จะต่างมุมคิดหาก เป็นไปในแนวทาง สร้างสรรค์ เพื่อผลประโยชน์สุขของชาติ และประชาราษฎร์ ชาติจึงเจริญ ได้

ว้าว อยากให้เมืองไทยบ้านเรา เป็นอย่างนี้บ้างจัง ความหวังจะเป็นจริงไหมหนา

 

อาจารย์ Wasawat Deemarn,

นึกถึงคำพูดของ ที่ว่า....

When you were born, you cried while the world rejoiced. Live your life in such a

way that when you die, the world cries while you rejoice.” — Ancient Sanskrit

:)

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมออดิเรก

ค่ะ ปริมคิดว่าท่านเป็นคนที่น่านับถือมากโดยเฉพาะในด้านความซื่อสัตย์ เที่ยงตรง และกตัญญู หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าพอท่านจบปริญญาเอก มีมหาวิทยาลัยในอเมริกาเสนอให้ท่านไปทำวิจัยที่นั่น เพราะเห็นผลงานตอนทำปริญญาเอก และเชื่อว่างานในด้านนั้นจะก้าวหน้ามากขึ้น แต่ท่านปฏิเสธเพราะท่านได้ทุนมาจากสิงคโปร์ จึงต้องการกลับไปทำงานในสิงคโปร์

น่าชื่นชมค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ป

ถึงแม้จะมีความคิดที่ต่างกัน แต่ท่านก็ทำงานร่วมกันกว่า 30 ปีค่ะ

หนทางอาจไม่สวยหรูนักในช่วงนั้น แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีให้สิงคโปร์ในวันนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณปู ขอบคุณค่ะ หวังว่านักการเมืองบ้านเราจะมองความซื่อสัตย์ เที่ยงตรง และกตัญญู ของ ดร. โต เป็นแบบอย่างที่ดีค่ะ

ฝันดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท