เพศวิถีกับกิจกรรมบำบัด


สุขภาวะของมนุษย์ส่วนหนึ่งมาจากเพศวิถีและกิจกรรมตามบทบาททางเพศชาย หญิง และหลากหลายอย่างมีความสุข...ดร.ป๊อป ได้สอนหัวข้อ Sexuality ที่สำคัญอย่างหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของผู้ที่สุขภาพดีหรือผู้พิการ

“The most important revelation is the fact that sex function should be included in the occupational therapy evaluation as it relates to the identification of the patient' s abilities and limitations in his daily living necessary for the resumption of his various roles (p. 27).”

“The treatment model consists of performing an evaluation, establishing treatment goals, and utilizing appropriate treatment modalities (p. 28).”
 
จากประโยคข้างต้น คือ ที่มาของรูปแบบแนวคิดกิจกรรมบำบัดในผู้ที่มีความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหลังจากร่างกายและ/หรือจิตใจบกพร่อง ทำให้ ดร.ป๊อป พยายามชี้นำบทบาทนักกิจกรรมบำบัดไทยที่สำคัญในการพัฒนาความสุขความสามารถของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต แม้ว่าความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจะลดลงหรือคงอยู่
 
เมื่อนักกิจกรรมบำบัด และบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับ Sexology & Sexual Rehabilitation พบผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ก็ให้ทำการประเมินดังนี้
 
1. การประเมินเบื้องต้น (Preliminary Evaluation)
ใช้รายการปัญหา (Problem checklist) ร่วมกับการประเมินความสุขความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น กลัวที่จะตกงาน การหางานทำ ไม่ค่อยพูด ชีวิตทางสังคมที่มีไม่มาก ไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง จัดการปัญหาและการเงินไม่ได้ และปัญหาและความกังวลที่เกี่ยวข้องกับความสุขทางเพศหลังจากเจ็บป่วยหรืออื่นๆ (ไม่ใช่ เพศสัมพันธ์ อย่างเดียว ลองอ่านบทความเพศวิถีของ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - เพศวิถีเกี่ยวกับความปราถนาในรูป รส กลิ่น เสียง และใจ การปฏิบัติตัวของเพศใดๆ และความเข้าใจในบทบาททางเพศแห่งตน) หากหัวข้อสุดท้ายนี้มีปัญหาก็ให้ดำเนินการต่อไป คือ การแจกแจงปัญหาว่ามีปัญหาเพศวิถีก่อนหรือหลังความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือ จิตใจ ปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน กับใคร อย่างไร เพื่อทราบแนวทางการปรับตัวของเพศวิถี รวมถึงปมปัญหาคุมคามทางเพศในอดีต
 
2. การประเมินความบกร่องทางเพศหลังความเจ็บป่วย (Secondary Sexual Dysfunction Evaluation)
สืบค้นว่าความเจ็บป่วยหรือหัตถการทางการแพทย์ใดที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางเพศ พร้อมระบุผลลัพธ์เฉพาะ เช่น เป็นหมัน (Infertility) ไร้สมรรถภาพทางเพศ (Impotence) น้ำอสุจิไหลย้อนกลับ (Retrograde ejaculation) ความรู้สึกไม่ถึงจุดสุดยอดทางเพศ (Anorgasmia) ความเจ็บปวดขณะมีเพศสังพันธ์ (Dyspareunia) ช่องคลอดทำงานบกพร่อง (Vaginismus) อารมณ์ตอบสนองไม่เหมาะสม สถานภาพเกิดปัญหา ซึมเศร้า ฯลฯ
  
3. การตั้งเป้าหมายในการรักษา (Treatment Goals) 
ผู้บำบัดและผู้รับการบำบัดควรเรียนรู้กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถี รวมถึงผลกระทบต่อเพศวิถีต่อจากโรคหรืออื่นๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับตัวต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยความภาคภูมิใจ (Self-esteem) เกิดผลงานในชีวิต (Productivity) และการจัดกิจกรรมที่เพิ่มองค์ประกอบทางร่างกาย/จิตใจ เช่น กำลังกล้ามเนื้อ พลังงานในการมีชีวิตชีวา เป็นต้น
 
4. การจัดสื่อการรักษา (Treatment Modalities)
เช่น การบำบัดด้วยตัวอักษร (Bibliotherapy) จากการอ่านหนังสือ/การแต่ง/อ่านกลอนที่แสดงความสุขแห่งเพศวิถี รวมทั้งการดูภาพยนต์โรแมนติก/อิ่มใจในบทบาททางเพศที่มีความหมายและคุณค่าในชีวิต การปรับอุปกรณ์ช่วย/เสริมความสุขทางเพศวิถี แบบฝึกหัดทักษะทางดูแลตนเอง-การเข้าสังคม-การแต่งตัว-การทำงานที่เหมาะสม เป็นต้น
 
5. การติดตามความก้าวหน้าของการบำบัดใน 2 ปี (Two Year Follow-Up)
 
จะเห็นว่าบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์เริ่มให้การฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแห่งเพศวิถีในประชากรที่เจ็บป่วยเรื้อรังและอื่นๆ อย่างน่าสนใจ เช่น เบาหวาน อัมพาต สมองพิการ พิการทางการมองเห็น พิการทางการได้ยิน ตัดแขนขา ฯลฯ อ่านเพิ่มเติมที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถีเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ได้ที่  
 
 
หมายเลขบันทึก: 477893เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2012 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นำภาพจากดอยแม่สลองมาฝากครับ

ขอบคุณคุณโสภณมากครับสำหรับภาพกัลยาณมิตรที่มีชีวิตชีวา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท