หญิงอกสามศอก หญิงไทยกับอาชีพที่กล้าและแกร่ง!!!!


หญิงอกสามศอก หญิงไทยกับอาชีพที่กล้าและแกร่ง!!!!

"หญิงอกสามศอก" หญิงไทยกับอาชีพที่กล้าและแกร่ง !!! 



 

 

อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรในโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคแห่งความเท่าเทียมกัน สำหรับเพศหญิงที่มีหน้าที่การงานทัดเทียมกับผู้ชาย และเปิดโอกาสให้เข้ามาทำงานทุกในเกือบทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ตำรวจ ฯลฯ แต่เรื่องที่สร้างความแปลกใจให้ไม่น้อย คงเป็นเรื่องของผู้หญิงยุคใหม่ที่ทั้งกล้าและแกร่ง ทั้งบู๊และบุ๋น อย่างเช่นประเด็นข่าวตำรวจจราจรหญิงหัวปิงปองสีชมพูหวานแหวว ที่เกิดขึ้นเพื่อกลบภาพลักษณ์นอกรีตนอกรอยของตำรวจไทย หรือว่าประเด็นของกองร้อยน้ำหวาน บอดี้การ์ดหน้าสวยของนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศไทย

       

       หญิงไทยในยุคก่อน

       ความเชื่อฝังหัวโบราณของคนสมัยก่อนในหลายๆ ประเทศทั่วโลก เกี่ยวกับเรื่องของผู้หญิงนั้น มักเชื่อกันว่าเพศหญิงนั้นเป็นเพศที่อ่อนแอ ไม่สมควรทำงานนอกบ้าน ต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ดูแลงานบ้านปรนนิบัติรับใช้สามี และไม่จำเป็นต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาแต่อย่างใด

 

       ประวัติศาสตร์ของการเรียกร้องสิทธิสตรีครั้งแรกของประเทศไทยนั้น ต้องย้อนไปไกลตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ในกรณีเรียกร้องสิทธิไม่ให้สามีสามารถขายภรรยาของตนเองได้ ไปจนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในปี 2517 ที่รัฐธรรมนูญได้ระบุข้อความมาตร 28 ไว้อย่างชัดเจนว่า

 

       บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

 

       และประเทศไทยก็ได้ร่วมลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งอนุสัญญานี้จัดทำขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ แต่ถึงแม้ภาครัฐจะได้ให้สิทธิความเสมอภาคต่อผู้หญิงแล้ว แต่ในทางปฏิบัติผู้ชายก็ยังมองว่าผู้หญิงยังเป็นเพศที่อ่อนแอวันยังค่ำ อย่างความคิดของ สุทรรศ คูศรีเทพประทาน อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ


       “คือมันก็ดีนะ ที่ผู้หญิงลุกออกมาทำอะไรบ้าง แต่บางอย่างคิดว่า มันไม่เหมาะ ผู้หญิงไม่น่าจะทำได้ อย่างอาชีพทหาร ถ้าเกิดมีการปะทะกันขึ้นมาจริงๆ ทหารชายต้องสู้กับทหารหญิง ปะทะกันขึ้นมาจะมองว่า ผู้ชายเป็นหน้าตัวเมียไหม?”

 

       เมื่อโอกาสทางการศึกษาของชายหญิงนั้นเท่าเทียมกัน จึงทำให้ผู้หญิงมีความคิด ความอ่าน และสามารถบริหารงานได้เท่าเทียมกับผู้ชาย และต้องการที่จะเลือกประกอบอาชีพได้อย่างเสรี เช่น หญิงเก่งอย่าง อรพินท์ ไชยกาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย หรือ คุณหญิงอัมพร มีศุข อธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นอธิบดีหญิงคนแรกของไทย และในตอนนี้เราก็มี นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก จึงเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่า สิทธิการเท่าเทียมกันของผู้หญิงนั้นน่าจะเกิดจะเสมอภาคได้อย่างแท้จริง

       

       เหล่าอาชีพ ‘ดอกไม้เหล็ก’ 

       ในเมื่อสังคมยุคปัจจุบัน ที่เปิดกว้างกับการให้โอกาสผู้หญิงได้รับการศึกษาและสามารถทำงานได้ทัดเทียมกับผู้ชายแล้ว อย่างอาชีพทั่วๆไป ที่เมื่อย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว อาจจะยังไม่มีปรากฏที่ว่ามีผู้หญิงเข้ามาทำงานอย่างจริงจัง แต่ตอนนี้มาว่าจะมองไปทางไหน ก็เห็นว่าอาชีพที่เคยจำกัดไว้ให้แต่ผู้ชายอย่างเดียวนั้น ผู้หญิงก็สามารถทำได้ทัดเทียมกัน ตั้งแต่งานนั่งโต๊ะ ไปจนถึงงานลงภาคสนาม ผู้หญิงก็สามารถทำได้ดีไม่แพ้กัน

       แต่ใครจะเคยไปคิดว่าผู้หญิง จะได้ก้าวเข้ามาทำงานในสายงานอย่าง 3 อาชีพนี้ที่มีความเสี่ยงอันตราย มีความยากลำบาก และเป็นงานที่ไม่น่าไปกันได้กับผู้หญิง

คำสำคัญ (Tags): #ร้อยเอ็ด10
หมายเลขบันทึก: 477857เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2012 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท