กฎหมายลิขสิทธิ์ : "วิทยานิพนธ์" มหาวิทยาลัยมีลิขสิทธิ์ร่วมกับนักศึกษาหรือไม่?


ในการเรียนระดับปริญญาโทนั้น ความสำเร็จในการสร้างสรรค์งานวิจัยเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "วิทยานิพนธ์" ถือเป็นปัจจัยหลักในทุก ๆ มหาวิทยาลัยที่เป็นเกณฑ์สำคัญของการสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตได้


ทางเว็บไซต์ wikipedia.org ให้ความหมายไว้ดังนี้

วิทยานิพนธ์, ปริญญานิพนธ์ หรือ ดุษฎีนิพนธ์ (อังกฤษ: thesis หรือ dissertation) เป็นเอกสารที่เขียนโดยนักวิจัย นักศึกษา หรือนักวิชาการ พรรณนาขั้นตอน วิธีการ และผลการศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าวิจัยมาได้ โดยเขียนอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วิทยานิพนธ์เป็นเอกสารบังคับในการจบการศึกษา สำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการจะใช้เป็นเอกสารในการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ

(http://th.wikipedia.org/wiki/วิทยานิพนธ์)



เมื่อรูปเล่มของวิทยานิพนธ์สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราเคยสังเกตเห็นบนปกจะเขียนไว้ว่า


ลิขสิทธ์นี้เป็นของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย .........



จำได้ว่าตอนที่ระหว่างการเรียนปริญญาโท และหลังจากมีวิทยานิพนธ์เป็นของตัวเองแล้ว ก็เคยตั้งคำถามไว้เหมือนกันว่า

ลิขสิทธิ์ของวิทยานิพนธ์ควรเป็นของเราแต่ผู้เดียว หรือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมกับมหาิวิทยาลัย ดั่งที่มหาิวิทยาลัยบังคับให้เราพิมพ์ไว้ที่ปกหน้าดังที่เห็น เหมือนแสดงสิทธิ์เป็นมหาิิวิทยาลัยมากกว่าเป็นของนักศึกษาผู้สร้างสรรค์งานเอง

แน่นอนว่า เราสงสัยนิดเดียว แต่ไม่เคยคิดหาคำตอบ เพราะคิดว่า มหาิวิทยาลัยได้เป็นผู้จัดเตรียมทุกอย่างไว้ให้เราแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน แหล่งความรู้ต่าง ๆ แม้กระทั่งมีการมอบเงินทุนบางส่วนสำหรับการเข้าเล่มวิทยานิพนธ์

ดังนั้น ลิขสิทธิ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งที่เราไม่ได้คิดว่า จะยอมรับไม่ได้


แต่เมื่อมาอ่านคำถามจากหนังสือ "คู่มือลิขสิทธิ์ฯ" แล้วกลับพบผลที่ตรงข้ามกับสิ่งที่เราคิดไว้




จากคำถามที่ว่า ...

"วิทยานิพนธ์" มหาวิทยาลัยมีลิขสิทธิ์ร่วมกับนักศึกษาหรือไม่?

 

คำตอบที่ได้คือ ...

 

คุณ อรุณ ประดับสินธุ์ ได้อธิบายไว้ในหน้า ๑๐๗ ไว้ดังนี้

เป็นเรื่องที่น่าศึกษามากสำหรับกรณีวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า น่าจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของนักศึกษาเท่านั้น

ในประเด็นนี้ "สำนักงานอัยการ" ก็เคยตอบข้อหารือจากมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ของนิสิตว่า ลิขสิทธิ์เป็นของนิสิต ผู้ทำปริญญานิพนธ์ โดยให้เหตุผลว่า บุคลากรในมหาวิทยาลัยที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ไม่ถือว่ามีส่วนการสร้างสรรค์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ "สำนักงานอัยการ" เห็นว่า บุคลากรเหล่านั้นไม่มีส่วนสร้างสรรค์อย่างเพียงพอ เมื่อวิทยานิพนธ์เป็นงานสร้างสรรค์ของนิสิต นักศึกษา ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ก็ย่อมตกเป็นของนิสิตนักศึกษาผู้ทำปริญญานิพนธ์นั้น ๆ 

 

..................................................................................................................................................

คำอธิบายเพิ่มเติม

 

เรื่องนี้ละเอียดอ่อน อาจจะต้องพิจารณากันหลากหลายแง่มุม ทั้งการวางกฎระเบียบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยอาจจะเข้ามาเกี่ยวข้อง การยินยอมของตัวนักศึกษาเอง หรือ เทคนิคการให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเช่นเดียวกับทางสภาวิจัยแห่งชาติที่ออกระเบียบสภาวิจัยแห่งชาติ ว่าด้วยทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทกำหนดเรื่อง พ.ศ.๒๕๓๗ ระบุว่า

 

ผลการวิจัยและสิ่งซึ่งเป็นผลจากการวิจัยอันทำขึ้นโดยใช้เงินทุนตามระเบียบนี้เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของผู้วิจัยและสำนักงาน

 

แต่ที่แน่นอน ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะเข้ามามีลิขสิทธิ์ร่วมหรือไม่...

 

สิทธิ์ที่พึงชอบธรรมย่อมตกเป็นของนักศึกษาผู้สร้างสรรค์อย่างแน่นอน

 

 

จึงขอนำเสนอไว้เป็นความรู้สำหรับทุกท่านต่อไปครับ

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...

 

..................................................................................................................................................

ขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ

อรุณ ประดับสินธุ์.  คัมภีร์ลิขสิทธิ์ 180 คำถามที่จำเป็นต้องไขคำตอบ.  กรุงเทพฯ: พสุธา, 2554.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (2 กุมภาพันธ์ 2555).

หมายเลขบันทึก: 477830เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

สวัสดียามดึกค่ะท่านอ. วัต  สบายดีนะคะ..

ถึงแม้ว่า

สิทธิ์ที่พึงชอบธรรมย่อมตกเป็นของนักศึกษาผู้สร้างสรรค์อย่างแน่นอน

ก็ยังมองว่า มหาวิทยาลัยควรมีลิขสิทธิ์ร่วมค่ะ เพราะเป็นแหล่งประสิทธิ์วิชาความรู้ให้กับเรา

อาจจะหัวโบราณหน่อยนึงนะคะ..

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่มีเสมอมาค่ะ

ไม่ใช่แฟนพันธ์แทะ แต่จะติดตามต่อไป..อิ อิ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ..^_^

 

ฝากรูปน่ารัำก ๆ มาให้ดูก่อนนอน

สวัสดีตอนเช้า  อากาศที่ขอนแก่น เริ่มร้อน

แต่ใจของคนที่อยู่ขอนแก่นยังไม่ร้อนตามไปด้วย

 

ความคิดเห็นสอดคล้องกับคุณหมวย สีตะวัน คะ

คือควรเป็นลิขสิทธิ์ร่วมกัน ระหว่างผู้สร้างผลงานกับผู้อำนวยให้เกิดผลงาน

เพราะถ้าไม่มีเขาก็คงไม่มีเรา และถ้าไม่มีเรา  (ผลงาน)เขาก็คงมีน้อย

 

 

ช่วงนี้ปลายภาคเรียนมีภาระงานหนักมากกว่าปกติครับ พี่พยาบาล สีตะวัน ;)...

บางที "การตีกฎหมาย" จักต้องใช้ข้อมูลรอบด้านมาพิจารณาแน่นอนครับ

ฟันธงไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

ขอบคุณมากครับพี่ ;)...

ขอบคุณมากครับ พี่พยาบาล กระติก ;)...

กฎหมายลิขสิทธิ์เขามักจะคุ้มครองเรื่องของการ "ขโมยความคิด" แล้วนำไปใช้ประโยชน์ต่อตนเองจนเกินสมควร

ผมคิดว่า ตราบใดยังไม่ได้ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน "ลิขสิทธิ์ร่วม" น่าจะไม่มีปัญหาครับ

สิทธิ์ที่พึงชอบธรรมย่อมตกเป็นของนักศึกษาผู้สร้างสรรค์อย่างแน่นอน" เห็นด้วยนะครับ....ตอนที่ทำก็มีคำถามอยู่ในใจเหมือนกัน...

นมัสการพระคุณเจ้า Phra Anuwat ครับ ;)...

สิทธิ์นั้นตกเป็นของนักศึกษาแน่นอนครับ แต่บริบทอื่น ๆ จะทำให้เราทราบว่า จะเกิดลิขสิทธิ์ร่วมด้วยหรือเปล่าเท่านั้นเองครับ

ขอบคุณมากครับท่าน ;)...

เพิ่งทราบนะคะ ขอบคุณค่ะ

ดิฉันก็เป็นคนหัวโบราณเหมือนกัน ที่มองเห็น "ครู" คือพระเจ้า แต่มีความเห็นว่าการตัดสินประเดนนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่ว่าสถาบันนั้นๆ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงหรือไม่ เช่น นักศึกษาทำเสร็จ สถาบันย่อมได้ชื่อเสียง ได้หน้า ได้การยอมรับ ได้นักศึกษาเพิ่ม ถามนักศึกษาหรือเปล่าก่อน publish บางคนอาจชอบที่มีชื่อสถาบันเป็นผู้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ --- อีกด้านหนึ่งหากนักศึกษาทำไม่เสร็จ ทำไม่ได้เสียเงินค่าเรียนไปแล้ว (จากการทำงานหนักของพ่อแม่หรือตัวเองแล้ว) ต้องโดนออก มหาวิทยาลัยคืนเงินหรือไม่หรือมีส่วนรับผิดชอบหรือไม่ .......นักศึกษาคือผู้แสวงหาความรู้ ผ้าขาวและอนาคตของชาติ ควรให้เขามีชีวิตเริ่มต้นที่ดี สดใส มองโลกในแง่ดี มีกลุ่มสถาบัน องค์กร สมาคมต่างๆ ที่พร้อมจะช่วยสนับสนุนแบบไม่หวังผล หรือสร้างกฏกติกาสร้างภาระแก่นักศึกษาจนเลยขีดขั้น รบกวนร่วมกันสร้างสรรค์สังคมดีเถิด ท่านๆ ไม่คิดว่าคนไม่ดีในสังคมไทย มีมากไปแล้วหรือเลยคะ

ขอบคุณครับ คุณ kanida ในแง่มุมนี้ ;)...

ขึ้นอยู่กับข้อตกลงจริง ๆ ครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท