เสนอแนะทางเลือกการประเมินเลื่อนวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยอาศัยภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น แทนการเขียนผลงานทางวิชาการ(ตอน 3)


       มีครูโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตกรุงเทพมหานครคนหนึ่งบ่นกับผมว่า
              ครูที่โรงเรียน(ระบุวิชาเอกด้วย)ส่งผลงานกันกี่คนก็ตกหมด  ทั้งๆที่เป็นคนดี คนเก่ง ลูกศิษย์ ผู้ปกครองก็รักและยกย่อง ว่าสอนดี สอนเก่ง  มีประวัติที่ดีมายาวนาน กลับตกไม่เป็นท่า  แต่ครูอีกหลายคน(ระบุวิชาเอก) ทำงานก็ไม่ดี ชอบเกี่ยง เลี่ยงงาน เด็กก็บ่นว่าสอนไม่รู้เรื่อง กลับผ่านฉลุย ได้เงินค่าวิทยฐานะสองเท่าสบายแฮ  แถมวางกล้ามเยาะเย้ยคนกลุ่มแรกอีก...  ถ้าขืนเป็นอย่างนี้มากๆบรรยากาศของโรงเรียนจะเป็นเช่นไรหนอ...” 
             พอดีผมได้ฟังศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนใหม่  แถลงนโยบายเมื่อตอนรับงาน ฟังแล้วก็โดนใจ ที่ท่านบอกให้ทุกฝ่ายทำงานรับใช้ประชาชน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในทุกเรื่อง  แล้วท่านก็ยกตัวอย่างเรื่องการประเมินเลื่อนวิทยฐานะด้วย ว่าอย่าให้มีหลายมาตรฐาน  ไม่ให้กรรมการประเมินชกกันข้างเดียว  ต้องให้ผู้รับการประเมินสามารถอธิบายชี้แจงได้ด้วย  รวมทั้งท่านพูดอีกว่า ต่อไปอยากให้ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อนครู  ผู้บริหารเข้ามาประเมินได้ด้วย ซึ่งตรงกับสิ่งที่ผมจะกล่าวถึงในตอนต่อไป
               มีครูอีกคนหนึ่งที่ผลงานทางวิชาการไม่ผ่านการประเมิน  ได้เล่าถึงเรื่องที่ถูกกรรมการประเมินชกเอาข้างเดียวไว้ตอนหนึ่งว่า  
               “ประเด็นที่กรรมการประเมินระบุเหตุผลที่ผลงานไม่ผ่านการประเมินนั้น  อ่านแล้วไม่เข้าใจว่ากรรมการอ่านผลงานครบทั้งเล่มหรือไม่  เราทำแล้วแต่ก็บอกว่าไม่ได้ทำ  และที่แนะนำมาก็ใช้ความเป็นอัตตามากกว่าความเป็นวิชาการ  หรือไม่ก็เขียนมาแบบกว้างๆคลุมเครือ  คล้ายกับว่าต้องเขียนตามกรอบที่กรรมการคิดเท่านั้น  อยากจะไปชี้แจงก็ไม่มีช่องทางให้ชี้แจง จะทำหนังสือร้องเรียนก็ไม่กล้า เพราะเท่าที่รู้มา ไม่เคยมีคนร้องเรียนเรื่องการประเมินผลงานคนใดที่สามารถแก้ไขและผ่านการประเมินได้เลย  แถมถูกประจานให้เสียคนด้วยซ้ำ...  จึงอยากวิงวอนว่า ก่อนจะประเมินให้ไม่ผ่าน อยากให้ลองไปอ่านดูประวัติของครูคนนั้นหน่อยได้ไหม ว่าเขาเคยทำประโยชน์ให้แก่โรงเรียน นักเรียน  มีผลงาน เกียรติประวัติตั้งแต่เริ่มรับราชการมาอย่างไรบ้าง...
       
(ยังไม่เข้าเรื่องที่จะเสนอแนะเลย ที่เล่ามาทั้งหมดยังเป็นการรื้อฟื้นเรื่องเก่าๆ  โปรดติดตามตอนต่อไปอีกสัก 2-3 ตอนก็จะถึงเรื่องที่จะเสนอแนะครับ)

หมายเลขบันทึก: 477678เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2012 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท