พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น


พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น

  พฤติกรรมสุ่มเสียงที่มักพบจากวัยรุ่น จนมีผลกระทบต่อการศึกษาของตัวเด็กเอง จากสถิติการติดตามของศูนย์วิจัยปัญหาการดื่มสุรา

 มีการติดตามทุกปี นาน 4 ปี และมีการเยี่ยมบ้านทุกปี

กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กหญิงร้อยละ 48.4 ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติแอฟริกัน-อเมริกัน ร้อยละ 50.4 รองมาคือผิวขาว (ร้อยละ 49.6) จากการติดตามและสร้างสมการ cohort sequential latent growth model คือ การดื่ม/ไม่ดื่มสุราของเด็กเริ่มจากวัย 9 ปีไปจนถึง 16 ปี ขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ เพศ, เชื้อชาติ, สถานภาพสมรสของพ่อแม่, เศรษฐานะของครอบครัว, การดื่มสุราของพ่อแม่, ประวัติครอบครัวมีปัญหาการดื่มสุรา, ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว, การให้คำปรึกษาแนะแนวของพ่อแม่, การคบเพื่อนไม่ดี, การดื่มสุราในกลุ่มเพื่อน และการกระตุ้นจากหมู่เพื่อนฝูงให้มีการดื่มสุรา

เริ่มจากปี 1999 ผู้วิจัยทำการสำรวจสุขภาพเด็กวัยรุ่นในเมืองใหญ่เขตตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest) ของสหรัฐอเมริกา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มสุราในระยะ 30 วัน และ 1 ปี คำตอบมีได้ตั้งแต่ 0 (ไม่ดื่ม) จนถึง 8 (ดื่มเท่ากับหรือมากกว่า 2-3 ครั้งต่อวัน), พฤติกรรมการดื่มของพ่อแม่/ผู้ปกครอง คำตอบมีได้ตั้งแต่ 0 (ไม่ดื่ม) จนถึง 9 (ดื่มเท่ากับหรือมากกว่า 2-3 ครั้งต่อวัน), ประวัติครอบครัวญาติพี่น้องมีปัญหาการดื่มสุรา คำตอบ คือ 0 (ไม่มี) หรือ 1 (มี), ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวและการให้คำปรึกษาแนะแนวของพ่อแม่ คำตอบมีได้ตั้งแต่ 0 (ไม่เคย ) จนถึง 5 (เกือบตลอดเวลา), การคบเพื่อนไม่ดี คำตอบมีได้ตั้งแต่ 1 (ไม่ทำเลย ) จนถึง 5 (ทำบ่อยมาก), การดื่มสุราในกลุ่มเพื่อน คำตอบมีได้ตั้งแต่ 0 (ไม่ดื่ม) จนถึง 8 (ดื่มเท่ากับหรือมากกว่า 2-3 ครั้งต่อวัน), การกระตุ้นจากหมู่เพื่อนฝูงให้มีการดื่มสุรา คำตอบมีได้ตั้งแต่ 1 (ห้ามปรามมาก) จนถึง 5 (กระตุ้นอย่างมาก), ค่านิยมเกี่ยวกับการดื่มในกลุ่มเพื่อน คำตอบมีได้ตั้งแต่ 1 (น้อยมาก ) จนถึง 5 (เกือบทั้งหมด), สถานภาพสมรสของพ่อแม่ คำตอบคือ 0 (อยู่คนเดียว) หรือ 1(อยู่ด้วยกัน) และเศรษฐานะของครอบครัว คำตอบมีได้ตั้งแต่ 1 (รายได้น้อยกว่า $5000) จนถึง 11 (มากกว่า $90,000)

สถิติวิจัย ใช้ latent variable growth modeling (LGM) approach เป็น cohort-sequential LGM, testing fit model ใช้ Chi-square goodness of fit test and root mean square error of approximation

 

ผลการศึกษาวิจัย: พบว่า อัตราการดื่มสุราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ (ตาราง 1)

อายุ

9

10

11

12

13

14

15

16

ร้อยละของผู้ที่มีการดื่มอยู่ (percentage of current alcohol users)

กลุ่มอายุ 9   ปี

12.9

9.8

8.5

10.9

       

กลุ่มอายุ 11 ปี

   

13.0

15.0

23.1

27.0

   

กลุ่มอายุ 13 ปี

       

28.1

28.0

38.2

44.2

 

ปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศหญิง และพ่อแม่ดื่มสุราซึ่งมีผลต่ออายุที่เริ่มดื่ม ยิ่งพ่อแม่ดื่มมาก, เด็กก็ยิ่งดื่มตั้งแต่อายุยังน้อย ตรงข้ามกับแรงยั่วยุจากเพื่อนซึ่งจะทำให้มีการดื่มสุราเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งมีเพื่อนไม่ดีและชักชวนให้ดื่มจะยิ่งเพิ่มการดื่มมากขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงด้านเชื้อชาติผิวขาวและครอบครัวไม่สมบูรณ์ (พ่อแม่หย่าร้าง) มีอัตราการดื่มมากขึ้นด้วย

คำสำคัญ (Tags): #ทฟฟท
หมายเลขบันทึก: 477195เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท