สุขภาพต้องมาก่อน


เรียนแพทย์ และผู้เกี่ยวข้อง

  

 

  เว็บไซต์เพื่อสังคม 
    http://www.nature-dhrama.com
    http://www.nature-dhrama.ob.tc                                   

 

                                        สุขภาพมาก่อน

          ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก  ประกาศเป็นจุดยืนว่า "เรื่องสุขภาพของประชาชนต้องมาก่อน" จากจุดยืนตรงนี้จึงใคร่นำเสนอแนวคิด
เรื่องปัญหาสุขภาพของประชาชนต่อผู้บริการในรัฐบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีความรู้ความสามารถทุกระดับในเรื่องนี้ เพื่อให้เห็นความสำคัญ
และช่วยกันหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาต่อไป

         ความเป็นจริงที่ประจักษ์ขณะนี้คือ  โรงพยาบาลของรัฐขาดบุคลากร  ขาดเครื่องมีออุปกรณ์ด้านการแพทย์   ทำให้การบริการล่าช้า
ไม่ทั่วถึง  ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สรุปว่าการดูแลสุขภาพของประชาชนยังด้อยคุณภาพ รัฐบาลต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ให้มากขึ้น

         เหตุที่รัฐบาลแต่ละสมัยยังแก้ไข ปรับปรุง หรือถึงขั้นพัฒนาในเรื่องนี้ไม่ได้ตามที่น่าควรจะเป็น นั้นน่าจะสืบเนื่องจากสาเหตุใหญ่คือ
เรื่องการจัดงบประมาณด้านนี้ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุงบประมาณถูกผลักดันไปเรื่องอื่น ๆ จะสาเหตุใดไม่ขอกล่าวถึง  แต่ขอทวงติงว่า บรรดา
ผู้แทนของประชาชนควรมีวิสัยทัศน์  ประกอบกับความความสุจริตใจ แล้วจะมองภาพรวมออกว่า งบประมาณเรื่องใดควรตัด ควรเพิ่ม ควร
ให้ความสำคัญมากน้อย อะไรต้องทำก่อนหลัง  ทั้งนี้ต้องมีจิตวิญญาณที่จะตัดสินใจอย่างถูกต้องโปร่งใส นี่คือผู้แทนของประชนที่แท้จริง
และหากพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบด้วยเหตุผลอื่น ๆ ประกอบคิดว่าความจำเป็นเรื่องสุขภาพของประชาชนควรมาก่อน

          โรงพยาบาลขาดบุคลากร ขาดอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์เป็นเรื่องสร้างความเสียหายอย่างมาก ปัญหาที่เกิดคือการรักษา หรือการ
วินิจฉัยโรคของแพทย์เป็นไปอย่างฉาบฉวย ขาดอุปกรณ์การดูแลรักษาก็ขาดประสิทธิภาพ ขาดแพทย์เฉพาะทางทำใหผู้ป่วยเสียโอกาส
ซึ่งถือว่าผิดพลาดอย่างยิ่ง   คล้ายเป็นการปล่อยปละละเลย ไร้ซึ่งคุณธรรมด้วยซ้ำ

          หากจำนวนผู้ป่วยมาก แต่มีแพทย์น้อยการวินิจฉัยโรคให้ผู้ป่วยก็จะเป็นไปอย่างฉาบฉวย เนื่องจากรีบร้อนเพื่อตรวจให้หมด ให้ทัน
เวลา ดังนั้นผลที่ออกมาอาจมีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนได้มาก เมื่อจ่ายยาไม่ตรงกับโรค   ผู้ป่วยก็ไม่หาย  เปลืองเปล่าทั้งการใช้ยา และ
เปลืองเปล่าต่อสุขภาพของประชาชน

         หันมาเรื่องการขาดแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก โรงพยาบาลประจำอำเภอมีแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
น้อยมาก การรักษาเฉพาะทางถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลจังหวัด อันที่จริงโรงพยาบาลประจำอำเภอควรมีศักยภาพการบริการที่เท่าเทียม
กับโรงพยาบาลจังหวัด

          บุคลากรที่ควรกล่าวถึงเช่นกันคือ พยาบาล บุคลากรด้านนี้ยังไม่เพียงพอเช่นกัน  มีประเด็นหนึ่งที่น่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับขวัญ และ
กำลังใจของผู้ปฏิบัติงานคือเรื่องลูกจ้าง    เดี๋ยวนี้พยาบาลที่เป็นลูกจ้างมีจำนวนมาก หากค่าตอบแทน สวัสดิการไม่เท่าเทียมกับข้าราชการ
ประจำ ทำให้ขวัญ และกำลังใจในการทำงานขาดหายไป   ปัญหาคือคุณภาพของงานตามมาอย่างแน่นอน    รัฐจึงจึงต้องเห็นความสำคัญ
เรื่องนี้ให้มากเช่นกัน ไม่ใช่คิดแต่เพียงลดรายจ่าย ต้องคำนึงถึงคุณภาพงานเป็นสำคัญด้วย

         เรื่องใหญ่อีกเรื่องคือเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือทางการแพทย์บางอย่างมีราคาแพงเนื่องจากต้องสั่งซื้อต่าง
ประเทศ   แม้จะแพงเท่าไรหากผันงบประมาณได้ก็สามารถที่จะจัดการให้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามต้องการ  ทั้งนี้ต้องฝากไว้กับผู้แทนของ
ปวงชน  และนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ

         เรื่องราว และปัญหาสาเหตุต่าง ๆที่กล่าวมา พอจะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์เจาะลึก เพื่อหาข้อแก้ไข
ปรับปรุง และพัฒนาให้ถูกจุดต่อไป อย่างไรก็ดีใคร่ขอเสนอความคิดไว้บ้างตามสมควร

          ประเด็นแรกคือการบริหารจัดการอย่างไร ต่อสถานีอนามัย   ซึ่งเดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็น    "โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ.... "    โรง
พยาบาลอำเภอ  และรวมทั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัด ถึงให้เกิดศักยภาพในการให้บริการดี   และระบบงานที่ประสานเกี่ยวข้องครบ
วงจร  เพื่อการขับเคลื่อนงานให้เกิดคุณภาพ และประหยัด   ด้านความพร้อมของอาคารสถานที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี    จะเห็นว่ามี
สถานีอนามัยทุกตำบล  มีโรงพยาบาลอำเภอทุกแห่ง  โรงพยาบาลประจำจังหวัดก็มีครบถ้วน   เพียงแต่ให้มีการบริหารจัดการที่ดี
ที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น  

          ขอนำเสนอให้โรงพยาบาลจังหวัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์   โรงพยาบาลศูนย์เป็นสถานผลิตแพทย์ใหม่  ส่งเสริมสนับสนุนแพทย์
หรือผลิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง   ศุนย์ข้อมูลด้านสาธารณสุข  ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับยาและการรักษา เกี่ยวกับโรคภัย  เครื่องมือแพทย์
หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประการสุดท้ายคือใหเป็น้ศุูนย์รักษาผู้ป่วยเฉพาะทาง ที่ต้องรักษาบำบัดเป็นพิเศษกว่าโรงพยาบาลอำเภอ

          การผลิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ที่โรงพยาบาลศุนย์เป็นเรื่องง่าย และทำสะดวก เพราะส่วนสำคัญที่ส่งเสริมสนับสนุนมีพร้อม การสอน
นักศึกษาแพทย์ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดในระบบมหาวิทยาลัยตามที่ทำกันก็ได้    หากคิดให้ดีให้รอบคอบการจัดการเรียนการสอนนักศึกษา
แพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นเรื่องเหมะสมที่สุด   สามารถเรียนทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติปฏิบัติ  เคสคนไข้เฉพาะทางก็มีให้ศึกษา
ศูุนย์การวิจัยเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็อยู่ที่นี่ อาจารย์ที่สอนก็เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่อยู่ใกล้ชิด ห้องเรียนคือโรงพยาบาล
เหมาะที่สุดสำหรับนักศึกษาแพทย์ การได้รับสัมผัสประสบการณ์ตรง  มีผู้ให้คำแนะนำใกล้ชิดตลอดเวลา เมื่อเรียนจบหลักสูตรน่าจะมี
ประสิทธิภาพ มีคุณภาพมากกว่าเรียนในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเวลาฝึกงานในโรงพยาบาลเพียงจำกัด

           ที่กล่าวมาเป็นข้อดี  ข้อได้เปรียบ และด้านความพร้อม  ความคล่องตัวในการที่อำนวยความสะะดวกผลิตนักศึกษาแพทย์
ที่โรงพยาบาลศูนย์  การใช้วิทยากรภายนอก หรืออาจารย์พิเศษนั่นขึ้นอยู่กับความต้องการ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่ฝ่ายบริหารการจัดการ

          ด้วยโรงพยาบาลศุนย์มีทั่วทุกจังหวัด ฉะนั้นการผลิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องง่าย สะดวก สามารถผลิตแพทย์ได้รวดเร็ว
ต่อเนื่องและตรงตามความต้องการ   สามารถผลิตแพทยป้อนให้โรงพยาบาลอำเภอได้  และหากเป็นไปได้โรงพยาบาลอำเภอก็อาจ
เป็นเครื่อข่ายการผลิตแพทย์อีกทอดหนึ่ง   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาล

          การผลิตนักศึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์เป็นการลดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล  งบประมาณที่ไปทุ่มเทให้กับการขยายการผลิต
นักศึกษาแพทย์ตามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องใช้งบประมาณมาก  เป็นงบสถานที่  งบเครื่องมือเครื่องใช้   งบค่าตอบแทนผู้สอน หรือด้าน
อื่น ๆที่เกี่ยวข้อง  การสอนนักศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัย ดูแล้วเป็นเรื่องที่ไกลตัว เป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องสัมพันธ์   ยกตัวอย่างเช่น
อาจารย์ที่สอนนักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่ก็ดึงมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามความต้องการ  ยกตัวอย่างให้เห็นเรื่องนี้เรื่องเดียวก็คงเห็น
ชัดเจน ว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องขาดสัมพันธภาพ ขาดความสะดวกคล่องตัว  ดังนั้นประสิทธิภาพในการจัดการย่อมส่งผลสืบเนื่อง
ตามมา    ฉะนั้นหากงบประมาณทุ่มเทมาที่โรงพยาบาลศูนย์ และยึดเป็นสถานผลิตนักศึกษาแพทย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ  จะเป็นเรื่อง
ดียิ่ง และที่สำคัญรัฐบาลลดการใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล

          โครงการส่งเสริมสนับสนุนความรู้ให้แพทย์เฉพาะทางสามารถทำได้ง่ายที่โรงพยาบาลศูนย์  ก็เช่นเดียว และแนวเดียวกับ การ
ผลิตนักศึกษาแพทย์    ด้วยศักยภาพด้านต่าง ๆ  ของโรงพยาบาลศูนย์มีความพร้อมที่สุด  ดังนั้นการสนับสนุน การเสริมศักยภาพด้าน
วิชาการ   ด้า้นทักษะเฉพาะทางจึงเป็นเรื่องที่ง่าย และสะดวกเช่นกัน เพียงแต่ใช้หลักการบริหารการจัดการที่ดีเท่านั้นเอง

           ส่วนเรื่องการจัดตั้งศูนย์วิจัยในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขก็ทำได้ง่าย และสะดวกเช่นกัน เมื่อความพร้อมของ
เครื่องมืออุปกรณ์ ความพร้อมของบุคลากรมีครบควบคู่กันไป จึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ และการบริการจัดการเป็นสำคัญ

          สำหรับการจัดเป็นศูนย์รับผู้ป่วยเฉพาะทาง รวมทั้งเน้นคนไข้ในรายที่มีปัญหามาก ๆ เพื่อแบ่งเบาโรงพยาบาลประจำอำเภอ
และที่สำคัญจะได้ผู้ป่วยที่ต้องการศึกษา และวิจัย  การจัดเป็นศุนย์รักษาโรคเฉพาะทางยังมีประโยชน์ครอบคลุมไปทุกด้านที่จัดให้
มีในโรงพยาบาลศูนย์ เช่น นักศึกษาแพทย์  การฝึกแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง   และ ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข เป็นต้น

          โรงพยาบาลประจำอำเภอยังขาดแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และสิ่งที่ตามมาคือเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์  รัฐบาลต้อง
รีบยกฐานะโรงพยาบาลอำเภอให้มีศักยภาพทัดเทียมกับโรงพยาบาลศูนย์   ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านแพย์ ด้านพยาบาล
น่าจะไม่เป็นปัญหา   หากทุกจังหวัดยกฐานะโรงพยาบาลจังหวัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์ คงมีศักยภาพพอที่จะผลิตบุคลากรอย่างมี
คุณภาพ และพอเพียง โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศควรตั้งเครื่อข่ายเพื่อสะดวกในการติดต่อ แลกเปลี่ยน รู้ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
เป็นการเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  สำหรับเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือรวมทั้งอาคารสถานที่เหล่านี้
เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องเห็นความสำคัญดั่งที่ว่า "สุขภาพมาก่อน"

          สถานีอนามัยน่าจะคงไว้ในรูปแบบเดิม  คือเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐาน  การดูแลเฝ้าระวังป้องกันด้านสาธารณสุขในเชิงรุก  
การส่งเสริมด้านสุขภาพ  การติดตามดูแลผู้ป่วย  หรือ อื่น ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวข้อง ซึ่งในรูปกรอบตามแผนที่ปฏิบัติเดิมมีความพร้อม
สมบูรณ์อยู่แล้ว  การมาเปลี่ยนชื่อเป็น " โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ..."  เหมือนกับย้ำเน้นว่าให้การรักษาด้วยเป็นสำคัญ การขยาย
งานในลักษณะอย่างนี้เป็นเรื่องที่ผิดพลาดพอสมควร  ผิดพลาดอย่างไร ? ในเมื่อโรงพยาบาลอำเภอยังไม่พร้อมด้านบุคลากร ด้าน
อุปกรณ์ทางการแพทย์  แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทำไมถึงขยายงานให้กว้างออกไป ยากแก่การควบคุมบริหาร และไร้ซึ่งคุณภาพ

          ที่พูดได้เต็มปากเช่นนี้เพราะข้อมูลที่เชิงประจักษ์ทุกคนเห็นกันชัดเจน  และหากเจาะลงไปลึก ๆ ก็จะพบรายละเอียดลงไป
อีก  เช่นตอนนี้มีมโยบายให้แพทย์โรงพยาบาลประจำอำเภอไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ " โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพ...." อาทิตย์ละครั้ง หรือ
2 ครั้ง ตามแผน   แผนวางไว้  มีไว้ แต่พอปฏิบัติจริงทำไม่ได้เต็มที่เพราะโรงพยาบาลขาดบุคลากร  ฉะนั้นแผนงานตรงนี้ควรจะให้
โรงพยาบาลอำเภอมีความพร้อม มีศักยภาพก็สามารถที่จะบริหารจัดการได้  ฉะนั้นสถานีอนามัยน่าจะคงชื่อเดิม หรือ ชื่อใหม่ที่พอ
จะเป็นชื่อที่สอดคล้องกับงานว่า "ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ"

         สิ่งที่สมควรจะปรับปรุงส่งเสริมในสถานีอนามัยคือ เรื่องของการบริหารจัดการเกี่ยวกับอุบัติเหตุ  สถานีอนามัยควรมีรถพยาบาล
เพื่อดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ  การอำนวยความสะดวก และดูแลในเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะโดยเฉพาะปัจจุบันอุบัติเหตุบนท้องถนน
มีจำนวนมาก

          เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดเพี่ยงข้อเสนอในประเด็นแรก   สำหรับประเด็นที่สองคือเรื่องงบประมาณ   ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่า
"สุขภาพมาก่อน" ฉะนัันงบประมาณต้องติดตามมาด้วย เรื่องนี้ผู้แทนของเราเป็นผู้ดูแล หากผู้แทนของเราไม่ทำหน้าที่ที่เหมาะสม
หรือประชาชนนำเสนอผ่านผู้แทนแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ประชาชนอาจใช้สิทธิ์ลงชื่อเรียกร้องได้ตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดีหากท่านที่เกี่ยวข้องได้อ่านบทความนี้ หากมีข้อคิดในส่วนที่เห็นว่าน่าจะนำปฏิบัติได้ ก็ควรให้การสนับสนุน และขับ
เคลื่อนไปตามกระบวนการ “ เพื่อได้พัฒนาเรื่องนี้ต่อไป

          อย่างไรก็ดีหากดำเนินชิวิตตามแนว ตามหลักการของ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจัดทำ
จัดดำเนินการอย่างที่ว่า  "มาก่อน"  การระดมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่อย่างมีสุข ทั้งสุขภาพจิต
และสุขภาพกาย คงทำกันอย่างเชิงรุก และต่อเนื่อง   ส่วนการบริหารจัดการน่าคงอยู่ในรูปแบบนี้ เพียงแต่สังคมแบบ
"ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" ช่วยเหลือกันเกื้อกูลกัน  คงไม่เกี่ยวข้องเรื่องงบประมาณซึ่งรูปแบบแนวคิดนี้น่าศึกษาติดตาม

หมายเลขบันทึก: 476667เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยกับความคิดความเห็นของท่าน

ผมปวดหัว เวียนหัว อาการหนัก

หมอจังหวัด ตรวจลวกๆ บอก ความดัน กับความเครียด

จริงๆ เนื้องอกในสมอง กว่าจะรู้เกือบตาย

สนานีอนามัย นำหน้า ด้วยโรงพยาบาล

การบริหารจัดการใกล้ล้มเหลวแล้วล่ะ ส่วนใหญ่น่ะ

เป็นนโยบาย ปชส.หาเสียงของเจ้ากระทรวงและ

กระจายตำแหน่งและรายได้เท่านั้น

เรื่องห่วงใยหรือปรับปรุงการบริการไม่มีหรอก

เรียน คุณชยันต์ เป็นพระคุณยิ่งสำหรับข้อคิดเห็น และดอกไม้

ประโยคนี้ ทำให้คิดถึง คุณป้า ณ เจียงฮาย ที่พูดบ่อยๆ เวลาเราชอบนอนดึก ขอบคุณค่ะ :)

เรียน คุณ Poo เป็นพระคุณยิ่งสำหรับกำลังใจ

เรียน ท่านสมาชิกที่เคารพรัก ขอมอบภาพลายเส้น จาก http://www.nature-dhrama.com (เว็บไซต์ผมเองครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท