การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค โดยใช้ชุดกิจกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ขออนุญาตเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ  เพื่อขอรับการประเมินวิทยฐานชำนาญการพิเศษ

กรุณาแสดงการตอบรับและแสดงความคิดเห็นให้ด้วยค่ะ

ชื่อเรื่อง             การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 4 การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค โดยใช้

ชุดกิจกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  

ชื่อผู้รายงาน         นางจีราพัชร  ทิ้งแสน

 ภาคเรียนที่            2 /2553

                                      บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรม สาระที่ 4  การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

80/ 80  2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลทางการเรียน สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม สาระที่ 4  การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกันจด

อำเภอขุนหาญ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  จำนวน 3 คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 4  การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค จำนวน 18 แผน  ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 4  การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค  จำนวน 6 ชุด  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 4  การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค  จำนวน 20 ข้อ  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 4  การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค  จำนวน 10 ข้อ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ 

ผลการศึกษาพบว่า

1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  สาระที่ 4 การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค

มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 87.22/85.00

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการใช้ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 4 การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค ร้อยละ 79.54

3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อคำถาม  พบว่า  ทุกข้อคำถามที่นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยระหว่าง  2.52 - 3.00

            กราบขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นค่ะ

                                                         จีราพัชร  ทิ้งแสน 

                                               ตำแหน่งครู  วิทยฐานะชำนาญการ

                                          โรงเรียนบ้านกันจด  สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ 7
หมายเลขบันทึก: 476476เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2012 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นกำลังใจให้ครับ

กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดึงดูดความสนใจแก่นักเรียน เพื่อให้การเรียนรู้ในทิศทางที่ต้องการจะให้เป็น อันนั้นแสดงว่าการจัดการเรียนการสอนนั้นมีคุณภาพ มีนวัตกรรมใหม่ๆที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด สาธุๆๆ สู้ต่อไปเพื่อการพัฒนาการของเด็ก เยาวชนของชาติ

หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดต้องการคำแนะนำจะติดต่อไปนะ จาก พระอธิการอลงกรณ์ ผอ.รร.พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาวัดสระกำแพงใหญ่ เทศบาลตำบลสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ 33120

นายอดิศักดิ์ พละศักดิ์

เป็นผลงานที่มีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพน่าจะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สามารถนำไปประยุกต์และบูรณาการในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี

กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ และคุณครูทุกท่าน ที่เข้ามาอ่านผลงานทางวิชาการครั้งนี้ค่ะ จาก จีราพัชร ทิ้งแสน

โปรดติดตามบันทึก ใหม่ ๆ ได้อีกค่ะ ถ้ามีอะไรดี ๆ จำนำมาโพสต์ไว้ที่นี่อีกค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

การเรียนรู้ในเรื่องนี้จริงๆแล้วเป็นเีืรื่องที่ครูหลายคนมองข้าม แต่จริงๆแล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวนักเรียน และครูทุกคนควรให้ความสนใจในชีวิตประจำวันของนักเรียนไม่ใช่เฉพาะสมองหรือความรู้ื่ทา่งด้านวิชาการที่เป็นนามธรรมที่บางครั้งนักเรียนไม่สามารถนำมาใช้เลยด้วยซ้ำ แต่ในการใช้นวัตกรรมทา่งการเรียนรู้สำหรับสุขภาพในครั้งนี้ถือว่ามาถูกทาง และน่าจะถูกนำไปต่อยอดความรู้ของนักเรียนในการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ขอบคุณที่ทำเี่รื่องนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท