น้ำเขียว น้ำหนืดในบ่อเลี้ยงปลา กลางคืนกลางวันมีผลต่ออ๊อกซิเจน ส่งผลให้พีเอชแกว่งปลาตาย


สีของน้ำที่หนืดเขียวเข้มเกิดจากแพลงค์ตอนขยายและเพ่ิมจำนวนในปริมาณมากหรือที่ชาวบ้านเรียกกันคือแพลงค์ตอนบลูม

บ่อเลี้ยปลาไม่ว่าจะเป็นปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาสลิด ปลาทับทิม ปลายี่สก ปลาสวาย ฯลฯ เมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่งจะเกิดอาการ น้ำเขียวน้ำหนืดโดยสีของน้ำจะเข้มมาก ยิ่งเป็นบ่อเก่าค้างปีหรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาเป็นระยะเวลานานแต่ไม่เคยล้างบ่อฉีดเลนเลย ยิ่งจะทำให้น้ำเกิดอาการเน่าเสียได้เร็ว ปลาจะเครียดขาดอากาศหายใจโตช้าตายเร็ว ส่วนบ่อที่เลี้ยงแบบคละเคล้าผสมผสานหรือแบบเบญจพันธุ์ที่ปล่อยปลากินพืชลงไปด้วยเช่น ปลากระดี่ ปลานิล ปลาตะเพียนฯลฯอาการเน่าเสียก็จะน้อยหรือช้ากว่าบ่อที่เลี้ยงปลาที่กินโปรตีนเพียงอย่างเดียว สีของน้ำที่หนืดเขียวเข้มเกิดจากแพลงค์ตอนขยายและเพ่ิมจำนวนในปริมาณมากหรือที่ชาวบ้านเรียกกันคือแพลงค์ตอนบลูม แพลงค์ตอนพืชเมื่อรวมตัวเป็นจำนวนมากก็ทำให้สีของพื้นผิวน้ำสามารถที่จะสังเกตุเห็นสีที่มีลักษณะเขียวเข้มได้อย่างชัดเจน และเมื่อได้รับแสงแดดก็จะสังเคราะห์แสง (photosynthesis) โดยดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำออกไปใช้เป็นจำนวนมาก ทำให้ค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างกลับกันถ้าเป็นเวลากลางคืนแพลงค์ตอนพืชจะคายก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์กลับลงไปและแย่งใช้ออกซิิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชหรือแพลงค์ตอนพืชจำนวนมากปล่อยออกมาเมื่อรวมตัวกับน้ำกลายเป็นกรดคาร์บอนิค ทำให้น้ำมีค่าพีเอชเป็นกรดจัด การที่แพลงค์ตอนปล่อยและดึงก๊าซคาร์บอนไดเป็นเรื่องปรกติ แต่ถ้าปล่อยให้แพลงค์ตอนมากเกินไปก็จะมีผลต่อค่าพีเอชของน้ำ กลางคืนน้ำเป็นกรด กลางวันเป็นด่าง หรือส่วนใหญ่เรียกว่าค่าพีเอชแกว่ง ทั้งพีเอชแกว่ง อ๊อกซิเจนน้อยปลาจะเครียด กินอาหารได้น้อย ลอยฮุบอากาศผิวน้ำ หนักมากๆปลาจะตาบอดและตาย แพลงค์ตอนพืชก็เปรียบได้ดังพืชทั่วไปที่สามารถเจริญเติบโตดีเมื่อมีปุ๋ยอันอุดมสมบูรณ์ บางท่านอาจจะแปลกใจในบ่อเลี้ยงปลาจะมีปุ๋ยอยู่ได้อย่างไร ปุ๋ยมาจากมูลของปลา และเศษอาหารที่เหลือตกค้างโดยยิ่งถ้าไม่มีการเช็คยอเช็คปริมาณอาหารว่าปลากินเหลือมากน้อยเพียงใดก็จะยิ่งเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำเขียวเข้มและบูดเน่าได้ง่าย ปลาเมื่อมีอายุการเลี้ยงมากขึ้นสองหรือสามเดือนความหนาแน่นเริ่มมากขึ้น มูลก็มากขึ้นบวกกับเศษอาหารที่เหลือส่งผลให้มีปริมาณของเสียมากขึ้นตามไปด้วย มูลปลาและเศษอาหารเป็นโปรตีนเมื่อถุูกย่อยสลายแตกตัวเป็นแอมโมเนีย ไนไตรท์(สองตัวนี้มีมากเกินไปปลาจะตาบอดขาดอ๊อกซิเจนปลาขับถ่ายของเสียออกมาได้ลำบาก หรือพูดง่ายๆว่าปลาฉี่ไม่ออก) ต่อมาแตกตัวเป็นไนเตรทและไนโตรเจนตามลำดับ ไนโตรเจน ถ้าเปรียบเทียบกับปุ๋ยที่ชาวบ้านใช้อย่างคุ้นเคยก็คือปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 นั่นเอง ทีนี้พอเข้าใจได้ในระดับหนึ่งแล้วไช่ไหมครับว่าทำไมแพลงค์ตอนพืชในบ่อเลี้ยงปลาจึงเจริญงอกงามดีเหลือเกิน วิธีการแก้ไขแบบง่ายๆต้องหมั่นดูแลให้มีเศษอาหารตกค้างน้อย หมั่นเช็คยอ ปล่อยปลาอย่าให้หนาแน่นมากเกินไป หมั่นดูดขี้เลน เพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ 1.80 - 2.00 เมตร ทำความสะอาดบ่อหลังจับหรือก่อนที่จะเริ่มเลี้ยงปล่อยลูกปลาลงไปใหม่ ใช้เครื่องตีน้ำช่วยอาจจะไม่ต้องมากเหมือนผู้เลี้ยงกุ้งก็ได้ และผู้ที่เลี้ยงเป็นธุรกิจอาจจะใช้บาซิลลัสmt (บาซิลลัส ซับธิลิสสายพันธุ์ที่ย่อยสลายโปรตีนจากอาหารปลาและขี้ปลาโดยเฉพาะ)ตัวนี้จะช่วยย่อยสลายต้นเหตุของการเกิดปุ๋ยและก๊าซของเสียต่างๆ และควรใช้ สเม็คโตไทต์ (หินแร่ภูเขาไฟ) ช่วยจับสารพิษในน้ำและอฟลาท๊อกซินในอาหารปลาอีกทั้งช่วยจับก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์(ก๊าซไข่เน่า), ก๊าซแอมโมเนียและก๊าซมีเธนในจุดที่่อ๊อกซิเจนน้อยได้เป็นอย่างดี สองตัวนี้จะช่วยนักธุรกิจผู้เลี้ยปลาให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด มนตรี บุญจรัส ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 475410เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2012 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท