นักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม(6) : อิบนุหัยษัม Alhazen ابن هيثم


นักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม(6) : อิบนุหัยษัม Alhazen ابن هيڽم

أبو علي محمد بن الحسن بن الحسن بن الهيثم البصري อาบู อาลี มุฮำมัด อิบนุ อัลหะสัน อิบนุ อัลหะสัน อัล ฮัยษัม อัลบัศรี Abu All al-Hasan ibn al-Hasan ibn al-Haytham ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ อัลฮาเซน(Alhazen)

อาบู อาลี อิบนุ อัล ฮัยษัม เกิดที่ บัศเราะฮฺ ประเทศอิรัก ในปี ฮ.ศ.354 (ค.ศ.965) เขาได้เห็นความรุ่งเรืองในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ การแพทย์และอื่นๆ เขาจึงหันไปศึกษาในสาขาวิชาเรขาคณิตและการมองเห็น(แสงและสายตา) เขาได้อ่านหนังสือมากมายจากบรรดานักวิชาการที่โด่งดังก่อนหน้าเขา ทั้งที่มาจากกรีกและมาจากอันดะลุส(สเปน) อย่างเช่น อัซซะห์รอวี และคนอื่นๆ เขาได้เขียนหนังสือในเรื่องทางการแพทย์หลายเล่ม และได้ร่วมวางกฎเกณฑ์ที่เริ่มที่อัซซะห์รอวีได้ริเริ่ม

อิบนุ อัลฮัยษัม ใช้ชีวิตในแบกแดดอย่างสันโดษ มีความชำนาญเฉพาะในเรื่องทางการแพทย์ด้านสายตา แต่ชาวแบกแดดชอบถามเขาในทุกเรื่อง เพราะเป็นที่รู้ว่าอัลฮัยษัมเป็นคนเก่ง จึงนับว่าเขาเป็นผู้กว้างขวางในวิชาความรู้ โดยเฉพาะเรื่องสายตาและการมองเห็น นอกจากนี้เขายังเป็นผู้รู้ด้านดาราศาสตร์ เรขาคณิต คณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ จักษุแพทย์ ปรัชญา ฟิสิกส์ และจิตวิทยา

อิบนุ อัลฮัยษัม บางครั้งถูกเรียกว่า อัลบัศรี เพราะเกิดที่เมืองบัศเราะฮฺ(Basra البصرة) ชาวลาตินยุโรปจะเรียกชื่อท่านว่า alhacen หรือ alhazenและได้รับการขนานนามเป็น Ptolemaeus Secundus อิบนุ อัลฮัยษัม หรือ อัลฮาเซน ได้หักล้างทฤษฎีของยูคลิด (Euclid) และปโตเลมี(Ptolemy)ปราชญ์ชาวกรีกที่สอนกันมาเป็นเวลาพันกว่าปีว่าแสงจากดวงตามนุษย์ส่งออกไปยังวัตถุทำให้มองเห็นวัตถุ แต่อิบนุอัลฮัยษัมเป็นคนแรกที่อธิบายว่าการที่มองเห็นวัตถุเพราะแสงจากวัตถุสะท้อนเข้ามาสู่สายตา มิใช่ตาของมนุษย์ส่งแสงออกไปดังเช่นที่ยูคลิดและปโตเลมีเคยสอนไว้ เขาใด้การทดลองโดยใช้ห้องมืดในการพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าว ต่อมางานวิจัยของอิบนุฮัยษัมได้ถูกอ้างอิงซ้ำและศึกษาเพิ่มเติมโดยนักวิทยาศาสตร์เปอร์เซียชื่อ กามาลุดดีน อัล-ฟาริซี (كمال‌الدين ابوالحسن محمد فارسی ค.ศ.1267-1319) ซึ่งได้สังเกตลำแสงภายในลูกแก้ว เพื่อศึกษาการสะท้อนของแสงแดดในละอองฝน ผลการศึกษานี้ทำให้เขาสามารถอธิบายการเกิดรุ้งกินน้ำเป็นคนแรกของโลก

ภาพวาดแสดงการอธิยายของอิบนุอับฮัยษัมถึงการสะท้อนของแสงเข้าสู่สายตา ทำให้มองเห็นวัตถุไม่ใช่แสงจากตาไปยังวัตถุ

ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 11 อิบนุอัลฮัยษัมได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการมองเห็นของมนุษย์ โดยหักล้างความเห็นของ Galen, Euclid และ Ptolemy และรูปต่อไปนี้เป็นการแสดงลักษณะการมองเห็นของดวงตาทั้งสองข้าง เกี่ยวเนื่องประสาทสายตาและสมอง

ตำราของอิบนุอัลฮัยษัม

• Kitab-at-Manazir(كتاب المناظر) ถูกแปลเป็นภาษา Latin Opticae Thesaurus Alhazin(1270) เป็นหนังสือที่พูดถึงการมองเห็นและแสงในลักษณะต่างๆในทางพิสิกส์

• Mizan al-Hikmah (ميزان الحكمة) พูดถึงชั้นของบรรยากาศที่อยู่รอบโลก ความสูงของแต่ละชั้น

• และตำราอื่นๆอีกกว่า 200 เล่ม อิบนุอัลฮัยษัมเป็นผู้เริ่มใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และมีอิทธิผลต่อ Francis Bacon, Kepler สร้างและศึกษากล้องรูเข็ม การแยกแสงเป็นสีต่างๆ การหักเห เงา รุ้ง การมองเห็น บรรยากาศ มวลกับความแร่งโน้มถ่วง แรง Analytical Geometry

รูปอิบนุอัลฮันษัม บนธนบัตร 10000 ดินาร์ของประเทศอิรัก

ดวงตราไปรษณีย์ของปากีสถาน แสดงความสำคัญของอิบนุอัลฮัยษัม การมองเห็น ดวงตาและเรขาคณิต

หมายเลขบันทึก: 475062เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท