อาหารแมกนีเซียมสูงลดเสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาต


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Magnesium-rich diet may lower stroke risk: study' = , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่พบว่า การกินอาหารที่มีแมกนีเซียม (magnesium) สูง เช่น ผักใบเขียว นัทส์ (nuts = เมล็ดพืชเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ), ถั่วเมล็ดแห้ง (beans) เช่น ถั่วลิสงต้ม ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ) มีส่วนช่วยลดเสี่ยงสโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต)
.
ศ.ซูซานนา ลาร์ซซัน และคณะ จากสถาบันกาโรลินสกา สวีเดน ทำการศึกษาข้อมูลจากการวิจัย 14 ปี รวมกลุ่มตัวอย่าง 250,000 คน ทั้งจากสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ติดตามไปเฉลี่ย 11.5 ปี
.
สโตรคหรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน ส่วนใหญ่เป็นผลจากหลอดเลือดตีบตัน ส่วนน้อยเป็นผลจากหลอดเลือดแตก
.
ผลการศึกษาพบว่า การกินอาหารที่มีแมกนีเซียมเพิ่ม ทุกๆ 100 มิลลิกรัม = 1/10 กรัม ลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบตันได้ 9%
.
คนอเมริกันที่อายุเกิน 31 ปีได้รับแมกนีเซียมเฉลี่ย 242 มก./วัน ต่ำกว่าคำแนะนำมาตรฐาน คือ 420 มก./วันในผู้ชาย และ 320 มก./วัน ในผู้หญิง
.
มหาวิทยาลัยฮาวายรายงานปริมาณธาตุแมกนีเซียมในอาหารไว้ดังต่อไปนี้ (mg = มิลลิกรัม = มก. = 1/1000 กรัม; ออนซ์ = 30 กรัม; ถ้วยมาตรฐาน = 240 มิลลิลิตร/มล.) [ hawaii.edu ]
  • ผักโขม/ปวยเล้งสุก > 150 มก./ถ้วย
  • เมล็ดพืชและนัทส์ (เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ) > 50-75 มก./ออนซ์ (30 กรัม)
  • ถั่วเมล็ดแห้ง (เช่น ถั่วลิสง ฯลฯ) ต้ม/สุก > 70-100 มก./ถ้วย
  • ข้าวกล้อง > 80 มก./ถ้วย
  • ข้าวขาว > 25 มก./ถ้วย
  • ขนมปังขาว > 7 มก./แผ่น
  • ขนมปังโฮลวีท/ผสมรำ > 20 มก./แผ่น ขึ้นไป
  • นม > 25 มก./ถ้วย
  • โยเกิร์ต > 45 มก./ถ้วย
การกินข้าวกล้อง-ถั่วต้ม ช่วยให้ได้รับแมกนีเซียมสูงพอเป็นประจำ เช่น ถ้ากินข้าวสวยวันละ 3 จาน = 9 ทัพพีแบนๆ จะได้แมกนีเซียมประมาณ 3 x 80 = 240 มก./วัน = 75% ของคำแนะนำสำหรับผู้หญิงอเมริกัน (ขนาดรูปร่างน่าจะใกล้เคียงกับผู้ชายไทย) ฯลฯ
.
อ.ลาร์รี โกลด์สตายน์ จากมหาวิทยาลัยดุค กล่าวว่า การกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ ผลไม้ทั้งผล ผัก ถั่วที่ไม่ผ่านการทอด (ถั่วที่ผ่านการทอดมีแคลอรีสูง เพิ่มเสี่ยงน้ำหนักเกิน-อ้วน) มีโซเดียมต่ำ, โพแทสเซียม และแมกนีเซียมสูง เป็นอาหารกลุ่มแดช (DASH = อาหารช่วยป้องกัน-ลดความดันเลือดสูง) ที่ดีกับสุขภาพโดยรวม
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> ติดตามบล็อกของเราได้ที่นี่ > [ Twitter ] & [ บ้านหมอ-บ้านสุขภาพ ]

  • Thank Reuters > SOURCE: Am J Clinical Nutrition - bit.ly/AhalBY
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 17 มค.54. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 475000เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2012 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เก็บภาพมายืนยันกับคุณหมอว่า รับประทานข้าวกล้องเป็นประจำค่ะ..

Large_photo156 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท