นักกิจกรรมบำบัด KM พลังชุมชน


ตัวอย่างกระบวนการเรียนรู้และการสอนที่ ดร.ป๊อป ตั้งใจจะใช้ในเวที 19-20 ม.ค. 55 ณ จ.พิษณุโลก ...ขอขอบคุณเจ้าภาพจากสปสช. เขต 2, ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, และทีมพี่ใหม่ นักกิจกรรมบำบัด รพ.พิษณุโลก

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ

“เสริมพลังกำลังคนพัฒนาเครือข่ายการฟื้นฟูสภาพผู้พิการในชุมชน”

วันที่ 19-20  มกราคม พ.ศ. 2555

ณ โรงแรมท็อปแลนด์  จังหวัดพิษณุโลก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักกายภาพบำบัดมีหลักสูตรการอบรมและแผนงานเพื่อเสริมศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

2. นักกิจกรรมบำบัดมีแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายงานกิจกรรมบำบัดในการดูแลผู้พิการในชุมชน (ระบบปฐมภูมิ) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงงานกิจกรรมบำบัดมากยิ่งขึ้น

กำหนดการและรูปแบบ KM&KT (Knowledge Management & Knowledge Translation) ในห้องกิจกรรมบำบัด

หัวข้อ 1: การพัฒนาระบบสุขภาวะด้วยขอบเขตและกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด
วัตถุประสงค์ย่อย: ผู้เรียนเข้าใจกรอบอ้างอิง Domain & Process ที่จะประยุกต์สู่บริบทที่หลากหลายของชุมชนไทย
กระบวนการ: เรียนรู้จากตัวอย่างการปฏิบัติ มอบหมายให้ผู้เรียนทำ Mind Map เส้นทางการพัฒนางานกิจกรรมบำบัดชุมชน บนกระดาษ A4 แต่ละคน แล้วส่งเพื่อจัดกลุ่มระดมสมองตามบริบทที่คล้ายกันในหัวข้อที่ 2 จำนวนไม่เกิน 5 กลุ่ม
 
หัวข้อ 2: การบูรณาการระบบฟื้นฟูสมรรถภาพด้านกิจกรรมบำบัดจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
วัตถุประสงค์ย่อย: ผู้เรียนฟังการเสวนา แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม เพื่อสรุปแนวทางการจัดการอุปสรรคและการพัฒนาความสำเร็จของระบบกิจกรรมบำบัดชุมชน
กระบวนการ: จัดกลุ่มแล้วเปิดการเสวนาแบบ "เล่าเรื่องเร้าพลัง ตอน: กิจกรรมบำบัดชุมชน-ขจัดอุปสรรคสู่ความสำเร็จได้อย่างไร" ตามดัวยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มและบันทึกแบบ SWOT บนกระดานประจำกลุ่ม ตามด้วยการอภิปรายเสนอแนะจากวิทยากร
 
หัวข้อ/วัตถุประสงค์ย่อย 3: การพัฒนาเครือข่ายชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
กระบวนการ: ใช้เทคนิค QA (Question & Answer) แบบกลุ่มข้างต้น แล้วให้คิดเป็นคำตอบของกลุ่ม บนกระดานประจำกลุ่ม (กระดาษแผ่นที่ 1) จากนั้นวิทยากรนำเสนอ Knowledge Translation Model มาให้แต่ละกลุ่มคิดในประเด็น "เราจะพัฒนาเครือข่ายชุมชนให้มี Occupational Adaptation to Well-being อย่างไร" เพื่อตอบแบบ Flow-chart บนกระดานประจำกลุ่ม (กระดาษแผ่นที่ 2) ตามด้วยสรุปการถอดบทเรียนจากตัวแทนแต่ละกลุ่ม
 
หัวข้อ/วัตถุประสงค์ย่อย 4: การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกกิจกรรมบำบัดและการประยุกต์สื่อการบำบัดและฟื้นฟูสำหรับผู้รับบริการในชุมชน
กระบวนการ: จัดสถานีการเรียนรู้ 3 จุดแบบให้เขียนต่อยอดประสบการณ์ (แนวปฏิบัติที่ตรงกับความต้องการของชุมชน Stroke เด็กพิเศษ และผู้สูงอายุ) สลับกับอีก 3 จุดแบบให้ซักถาม (Free Question) ถึงประสบการณ์ของวิทยากร โดยแต่ละสถานีมีเวลาไม่เกินกลุ่มข้างต้นกลุ่มละ 10 นาที จากนั้นก็วนไปเรื่อยๆ จนครบทุกสถานี สุดท้ายก็ให้แต่ละกลุ่มเขียนแนวปฏิบัติในชุมชนของกลุ่มบนกระดานประจำกลุ่ม (ไม่จำกัดชุมชน ไม่จำกัดกระดาษ)
 
หัวข้อ/วัตถุประสงค์ย่อย 5: การพัฒนาเครือข่ายกิจกรรมบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยและผู้พิการ
กระบวนการ: จากข้อ 4 คัดเลือกให้เกิดกลุ่มชุมชนปฏิบัติที่น่าจะทำได้/ทำแล้วควรต่อยอดในการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน แบ่งเป็น CoPs แล้วเปิดอิสระให้มีการนำเสนอ-ลงชื่อ-การติดต่อ-ข้อเสนอแนะ ในแต่ะละกลุ่ม CoP ตามด้วยการสรุปบทเรียน
 
หัวข้อ/วัตถุประสงค์ย่อย 6: การสัมมนากลุ่มกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพพิการ
กระบวนการ: จัดกลุ่มเพื่อระดมสมองในเรื่อง การสร้างระบบเครือข่ายของOT การสร้างแนวทางปฏิบัติ ระบบการบันทึกข้อมูล การแปลความรู้กิจกรรมบำบัดชุมชน เรื่องละ 15-30 นาที แล้วอภิปรายเวทีรวมจากวิทยากรร่วมสังเกตการณ์และบูรณาการความรู้ในแต่ละกลุ่ม ตามด้วยการสรุปบทเรียน

วิทยากรนักกิจกรรมบำบัดเพื่อพลังชุมชน

ห้องกิจกรรมบำบัด

อาจารย์ ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง     ประธานสาขาวิชากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล

คุณเตือนใจ อัฐวงศ์  นักกิจกรรมบำบัดชำนาญการพิเศษคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

คุณจินตนา ปาลิวนิช  นักกิจกรรมบำบัดชำนาญการ รพ.พุทธชินราช

คุณนีรชา  เหมืองอุ่น  นักกิจกรรมบำบัด รพ.นครพิงค์

คุณอทิตยา  ผัดวัง     นักกิจกรรมบำบัด รพ.นครพิงค์

โปรดติดตาม "นักกิจกรรมบำบัดชุมชน กำลังจะพัฒนาความสุขพี่น้องไทย"

คลิกอ่านตัวอย่างเพิ่มเติม

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตในชุมชน

บทสรุปการจัดการความคิดของคนในชุมชน

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดชุมชน (ภาษาอังกฤษ) 

หรือลองเข้า google พิมพ์คำว่า กิจกรรมบำบัดชุมชน Community Occupational Therapy

หมายเลขบันทึก: 474837เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2012 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับนักศึกษากิจกรรมบำบัดปวีณา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท