โรคลืมยืน(นั่งนาน)เพิ่มเสี่ยงป่วยง่าย-ปวดหลัง


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง Office workers 'forget to stand' = "คนทำงาน(ในสำนักงาน ออฟฟิซ ฯลฯ)ลืมยืน(เป็นโรคนั่งนาน)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
ภาพ: กระดูกสันหลัง (vertebra) -หมอนรองกระดูกสันหลัง(intervertebral disk - ลูกศรสีแดง) มองจากด้านข้าง > [ NIH ]
อ.ดร.เมียนา อันแคน และคณะ จากมหาวิทยาลัยลัฟบะโร อังกฤษ (UK) พบว่า คนทำงานในออฟฟิซส่วนใหญ่ใช้เวลานั่งทำงานเฉลี่ย 5 ชั่วโมง 41 นาทีในวันทำงาน
.
คนเราควรลุกขึ้น เดินไปเดินมา หรือเข้าห้องน้ำ อย่างน้อยทุกๆ 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง
.
คนทำงานเป็นโรคลืมยืน หรือโรคนั่งนานมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เพิ่มเสี่ยงโรคภัยไข้เจ็บ เช่น
  • น้ำหนักเกิน-โรคอ้วน อ้วนลงพุง
  • ปวดหลัง
  • ภาวะขาดน้ำ ทำให้อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ

แรงดันภายในหมอนกระดูกสันหลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในท่านั่ง โดยเฉพาะท่านั่งโน้มตัวไปด้านหน้า นั่งยกของหนัก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้แรงดันเพิ่มขึ้น

หมอนกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายถุงรูปกลม โดยมีผนังบางๆ หุ้มของเหลวข้นหนืดคล้ายวุ้นไว้ภายใน
.
หมอนกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ทนแรงกดจากน้ำหนักในท่านั่งได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง... การนั่งนานเกินทำให้หมอนกระดูกโป่งออก และเพิ่มเสี่ยงต่อการแตกไปทางด้านหลัง กดเส้นประสาท ทำให้ปวดหลังได้ 
.
วิธีที่ช่วยป้องกัน "โรคนั่งนาน" ได้ คือ
  • ตั้งโทรศัพท์มือถือ-นาฬิกาปลุกแบบสั่น หรือแสดงภาพขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อเตือนให้ลุกขึ้นยืน หรือเดินอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง
  • ถ้าต้องการลดความอ้วน... ไม่ควรนั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง เพื่อป้องกันอัตราการเผาผลาญกำลังงานลดลง 
  • ยืนแอ่นหลังเล็กน้อย ค้างไว้ในท่าแอ่นหลัง (ท่านี้ช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลัง ป้องกันหมอนกระดูกสันหลังโป่ง หรือแตกไปทางด้านหลัง) สลับการนั่ง
  • การเดินไปมา เช่น เข้าห้องน้ำ ฯลฯ 3-5 นาที หรือขึ้นลงบันได 1 ชั้น ทุก 1-2 ชั่วโมง สลับกับการนั่งบ่อยๆ ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญกำลังงานได้
การดื่มน้ำให้พอ โดยดื่ม 1-3 แก้วหลังตื่นนอน และดื่มเป็นระยะๆ ในช่วงกลางวัน ไม่กลั้นปัสสาวะเกิน 2 ชั่วโมง/ครั้ง ช่วยป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ หลอดเลือดดำอุดตัน โดยเฉพาะเมื่อเดินทางไกล
.
การบริหารในท่านั่งเก้าอี้สลับยืน 10 ครั้ง/ยก(set), ทำแบบนี้ 3 ยก(เซ็ต)/วัน ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าขาแข็งแรง แรงดึงจากกล้ามเนื้อหน้าขาจะทำให้ขาท่อนบนดูกระชับ กระดูกขาท่อนบนแข็งแรงขึ้น ข้อเข่าไม่หลวม ทำให้ข้อเข่าเสื่อมช้าลง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]; เรียนเสนอให้ติดตามอ่านบล็อกของเราที่นี่ > http://health2u.exteen.com/ หรือที่นี่ [ บ้านหมอ ]

    • Thank BBC > Source: British Psychological Society's Annual Occupational Conference.

 

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 15 มค.54. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 474691เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2012 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณอาจารย์หมอวัลลภมากๆ ค่ะ

เป็นประโยชน์ต่อชาว GotoKnow และผู้อ่านในวัยทำงานและวัยเรียนมากๆ ค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท