กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานราชการ


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานราชการ

 

 

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานราชการ

 

            จากการที่ภาครัฐได้จัดให้มีระบบพนักงานราชการในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมานั้น มา ณ บัดนี้ ก็ได้ล่วงเลยเวลามาประมาณ เกือบ 8 ปี แล้ว สำหรับเรื่อง สิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ ภาครัฐได้ปรับเปลี่ยนให้อยู่เสมอ เนื่องจากเป็นบุคลากรของภาครัฐอีกประเภทหนึ่งในการทำงานให้กับภาครัฐ ไม่ว่าเงินค่าตอบแทน ค่าครองชีพ ภาครัฐได้ดูแลและปรับให้กับบุคลากรประเภทนี้ (พนักงานราชการ) ไม่ด้อยไปกว่าข้าราชการ

             แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ "พนักงานราชการ" อาจยังไม่ได้คิดหรือนึกถึง นั่นคือ "การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" ซึ่งในระบบของข้าราชการ คือ "กบข." ส่วนลูกจ้างประจำ คือ "กสจ." โดยทั้งสองกองทุนนี้ ข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ จะได้รับเงินส่วนนี้ก็ต่อเมื่อเกษียณอายุราชการ หรืออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว...

             ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า สำหรับระบบพนักงานราชการ ยังไม่ได้มีการจัดตั้ง "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" ที่ภาครัฐจะต้องดูแล เพราะถ้าศึกษาตามระเบียบพนักงานราชการแล้ว ผู้ที่จะจัดตั้ง นั่นคือ "ส่วนราชการ" แต่ก็จะเป็นปัญหาว่า บางส่วนราชการก็มีพนักงานราชการจำนวนน้อยที่จะจัดตั้งกองทุนฯ ประเภทนี้ได้ และก็คงเป็นภาระค่อนข้างมากที่จะดำเนินการจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ แต่ถ้าได้ดำเนินการให้กับพนักงานราชการแล้ว สุดท้ายก็จะมีความมั่นคงเกิดขึ้นกับบุคลากรประเภทนี้แน่นอน เพราะเมื่อตนเองทำงานครบอายุ 60 ปี แล้วก็จะได้รับเงินจำนวนก้อนหนึ่งเพื่อเป็นฐานในยามแก่ชรา...

             สำหรับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินการให้กับพนักงานราชการด้วยแล้ว คือ ได้ดำเนินการให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งก็เลยทำกองทุนฯ ให้กับพนักงานราชการไปด้วย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 โดยหักจากเงินค่าตอบแทนของพนักงานราชการ 3 % และนายจ้างออกให้ 3 %เป็นอันว่า...พนักงานราชการของ มรภ.พิบูลสงคราม มีความมั่นคงในบั้นปลายของการทำงานเมื่ออายุครบ 60 ปี...

             ส่วนราชการอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้กับพนักงานราชการ ผู้เขียนคิดว่า ควรจะดำเนินการให้ได้แล้วเพราะไม่เช่นนั้น พนักงานราชการก็จะได้รับเงินค่าตอบแทนเพียงแค่เดือน ๆ เท่านั้น จะไม่มีเงินก้อนเช่นเดียวกับข้าราชการหรือลูกจ้างประจำสำหรับส่วนราชการใดที่มีพนักงานราชการน้อย ควรประสานแล้วจัดตั้งกันเป็นกลุ่ม เพื่อดำเนินการให้กับพนักงานราชการในส่วนราชการของตน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับพนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานของภาครัฐอีกประเภทหนึ่ง...หรือไม่ก็ควรมีตัวแทนพนักงานราชการจากส่วนราชการ รวมตัวกันเพื่อดำเนินการให้ภาครัฐจัดตั้งเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานราชการในกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้แล้ว...

 

ด้วยความปรารถนาดี...

ท่านสามารถดูหรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้จากที่นี่...

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ มรภ.พิบูลสงคราม

                                 

สิ่งที่จะเป็นปัญหาในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ

               จำนวนเงินที่ส่วนราชการจะต้องจัดเตรียมสมทบให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้น 3 % หรือ 5 % ฯลฯ ของเงินค่าตอบแทนแล้วแต่ข้อตกลงที่ส่วนราชการจะตกลงทำกับพนักงานราชการ เพราะสำหรับ กองทุนของข้าราชการ (กบข.) ส่วนมากเดิมที่เคยหักจะหัก 3 % ของเงินเดือนแต่มาภายหลังขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของข้าราชการแต่ละคนว่าจะให้ กบข.หักเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร?...

                  

 

 

หมายเลขบันทึก: 474093เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2012 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พนักงานราชการครู ศธ มีกองทุนแล้วยังคะ

สพฐ มีกองทุนสำรองยังค

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท