น้ำท่วม...นายจ้างต้องหยุดกิจการชั่วคราว...ลูกจ้างจะได้ค่าจ้างหรือไม่???


น้องน้ำ...ทำให้หลายคนเข็ดขยาดไปตามๆกัน...ภัยธรรมชาติอย่าง เช่น น้ำท่วม  แผ่นดินใหว ถือเป็นเหตุสุดวิสัย...ซึ่งส่งผลให้หลายโรงงานไม่สามารถประกอบกิจการได้ตาม ปกติ บางโรงงานจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วเคราว หรือบางแห่งอาจต้องปิดกิจการไปเลย

แล้วช่วงที่ต้องหยุดกิจการเพราะ เหตุน้ำท่วม...ลูกจ้างจะได้ค่าจ้างหรือไม่ครับ...เป็นคำถามที่นักศึกษาชั้น ปี 2 ถามผมในระหว่างเรียนวิชากฎหมายตั๋วเงิน...ผมก็ตอบไปว่าดีใจที่นักศึกษาถาม.. เพราะจริงๆกว่าจะได้เรียนกันก็ต้องรอถึงปี 4 ในวิชากฎหมายแรงงาน...

ผม..ตอบ นักศึกษาโดยให้เขาลองคิดจากหลักการอันหนึ่งที่ว่า...ลูกจ้างทำงาน...นายจ้าง จ่ายค่าตอบแทน...ถ้าลูกจ้างไม่สามารถเข้าทำงานได้เพราะนายจ้างไม่ยอมให้ ทำ(ลูกจ้างไม่ผิด)...นายจ้างก็ควรต้องจ่ายใช่หรือไม่...และถ้าไม่สามารถทำ งานได้เพราะเหตุอื่นละ...เช่น นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเพราะปัญหาทางการเงิน เศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีคำสั่งซื้อสินค้า นายจ้างอาจต้องต้องการลดการผลิต หยุดจ้างงานหรือหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว

นายจ้างต้องจ่ายหรือไม่ ???????

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 

มาตรา 75  “ ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการ ประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่ง มิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำการ”

 

จากบทบัญญัติดังกล่าว มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการหยุดกิจการชั่วคราว ดังนี้ครับ

(1)  เหตุ จำเป็นนั้นส่งผลกระทบถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดกิจการชั่วคราว เช่น นายจ้างขาดเงินทุนหมุนเวียน ขาดคำสั่งซื้อสินค้า ไฟไหม้โรงงานเพราะนายจ้างไม่ยอมติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติ โรงงานถล่มเพราะนายจ้างต่อเติมอาคารโดยผิดกฎหมาย (โทษนายจ้างได้)

(2)  อาจเป็นการยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้

(3)  นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่หยุดกิจการ ในอัตราที่ไม่น้อยกว่า 75% ของ ค่าจ้างปกติที่ลูกจ้างได้รับก่อนหยุดกิจการชั่วคราว เช่น ได้ค่าจ้างเฉลี่ยแล้วตกวันละ 300 บาท นายจ้างต้องจ่ายให้ไม่น้อยกว่า 225 บาท คูณจำนวนวันที่ต้องหยุดกิจการไป (จะจ่ายมากกว่าลูกจ้างก็ไม่ว่าหรอกครับ)

(4)       นาย จ้างต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวัน เริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทำการด้วยครับ(ให้ลูกจ้างเตรียมตัวเตรียมใจ)

 

*** แต่มีข้อยกเว้นที่สำคัญซึ่งทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่ต้องหยุดกิจการชั่วคราว คือ

-   เหตุจำเป็นที่ทำให้ต้องหยุดกิจการนั้นหากเกิดจากเหตุสุดวิสัย นายจ้างไม่ต้องจ่ายสักบาทครับ (หากเจอนายจ้างใจดียอมจ่ายให้...ต้องกราบขอบคุณแทนลูกจ้างด้วยครับ)  

-   “เหตุสุดวิสัย” คือ เหตุใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในสภาวะเช่นนั้น  เช่น  แผ่นดินไหว น้ำท่วม จราจล ภัยสงคราม ซึ่งนายจ้างไม่สามารถเตรียมตัวหรือป้องกันล่วงหน้าได้ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ กรณีดังกล่าวถือว่ามีสาเหตุมาจากเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างไม่อาจป้องกันได้ครับ  ดังนี้ นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายค่าจ้าง เพราะมิใช่ความผิดของนายจ้าง

 

ดังนั้น คงสรุปได้แล้วน๊ะครับว่า น้ำ ท่วม...ทำให้นายจ้างต้องหยุดกิจการชั่วคราว...ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้ค่า จ้างในระหว่างที่หยุดนั้นครับ....แต่...เห็นนายจ้างหลายรายยังมีจิตใจดีและ เห็นใจลูกจ้างยอมจ่ายค่าจ้างให้บ้าง...ก็ต้องขอปรบมือให้ด้วยครับ...ลูกจ้าง ที่เจอนายจ้างแบบนี้อย่าลืมและเห็นใจนายจ้างเขาด้วยละครับ...ถ้าโรงงานเปิด แล้วต้องทำงานให้เต็มที่เต็มความสามมารถด้วยครับ 5555555

 

อ.โดม

11 ธ.ค.54

หมายเลขบันทึก: 473640เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2012 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท