ดำ เด็กข้างบ้าน 1 ชาตรี สำราญ


ดำเขียนมาได้พียงนี้ เห็นว่า พอแล้ว เพราะการใช้ความคิดนั้น ถ้าไม่ผ่านการฝึกจนชิน ผู้เริ่มฝึกคิดจะมีอาการง่วง เฉื่อย เนื่องจากการใช้สมองหรือบังคับให้คิดมากนั่นเอง

๑.

วันนี้ทดลองสอนให้เด็ก "ดำ" เขียนความเรียง 3 บรรทัด เริ่มแรกเธอคิดไม่ออก นึกไม่ได้ว่าจะเขียนอะไรหรือเอาอะไรมาเขียน จึงถามว่า "ตอนมาเรียนนั้น แดดออกไหม" เธอตอบว่า "ฝนตก" จึงให้เขียนคำว่า

ฝนตก

แล้วถามต่อว่า "เธอมาอย่างไร" ดำตอบว่า "เดินตากฝน" ก็ให้เขียนบรรทัดที่สอง ถามต่ออีกว่า "เดินตากฝนมาแล้วเป็นอย่างไร" เธอตอบว่า "เปียก" เป็นคำตอบสั้น ๆ แต่มีความหมายจึงบอกให้เขียนในบรรทัดที่สาม ความเรียงของดำบทแรกก็ได้ดังนี้

ฝนตก

ฉันเดินตากฝน

เปียก

เขียนได้แค่นี้ก็ให้นึกเรื่องใหม่ เธอนึกไม่ได้ จึงถามนำว่า "เมื่อคืนเป็นอย่างไรบ้าง" ดำตอบว่า "ฝนตก" ก็ให้เขียนตามที่ดำอยากเขียน ดำเขียนว่า

เมื่อคืนฝนตก

เขียนเสร็จแล้วนั่งนิ่ง บ่งบอกอาการว่า นึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไรต่อ จึงถามว่า "ฝนตกแล้วได้ยินเสียงอะไรร้อง" ดำจึงเขียนบรรทัดที่สองได้ว่า "อึ่งอ่างร้อง" แล้วนั่งนิ่งอีก ปล่อยให้ดำคิด จนเห็นว่าคิดไม่ได้แน่แล้ว ก็ถามว่า ที่ไหน ดำตอบว่า "ข้างบ้านฉัน" ความเรียงบทที่สองของดำคือ

เมื่อคืนฝนตก

อึ่งอ่างร้อง

ข้างบ้านฉัน

เขียนเสร็จดำอ่านให้ฟัง ชมว่า เก่ง เขียนได้ดี ลองคิดเรื่องใหม่อีก ดำบอกว่า เรื่อง หมา ที่ดำพูดอย่างนี้เพราะข้าง ๆ ดำมีลูกสุนัข นอนหมอบอยู่ 2 ตัว ปล่อยให้ดำใช้คำว่า "หมา" ไม่กะเกณฑ์ให้ใช้คำระรื่นหู เพื่อจะดูว่า เด็กน้อยจะปล่อยอารมณ์ออกมาอย่างไร เพราะ"การเขียนโดยใช้ความคิดนั้น ถ้าผู้เขียนมีอิสระในการคิด เขียนและการแสดงออก ภาษาของผู้เขียนจะมีพลัง" ด้วยสำเหนียกอย่างนี้ จึงปล่อยให้เขียนตามที่ดำอยากเขียน ดำเขียนว่า

หมาสองตัว

นอนหมอบนิ่ง*

อยู่ข้าง ๆ ฉัน

* นิ่ง ดำเขียน นิ้ง

เขียนเสร็จแล้ว ดำอ่านออกเสียงดัง ๆ เขาอ่านได้ถูกต้อง ออกเสียง

ชัดเจน จึงชมว่า "เขียนได้ดีขึ้น บอกเล่าเรื่องราวได้ตรงความเป็นจริง ขอชมว่าเก่ง" ดำยิ้มสายตาบ่งบอกถึงความพอใจ ถามว่า "พอแล้วยัง" ดำตอบว่า "จะเขียนอีก" นี่คือความพึงพอใจที่จะเรียนต่อ บรรยากาศการเรียนการสอนถ้าเป็นแบบนี้อย่างต่อเนื่องจะดีมาก

ปล่อยให้ดำคิดเรื่องเขียนอยู่นานสัก 10 นาที เห็นว่าเด็กน้อยยังคิดไม่ออกจึงถามถึงพ่อของดำว่า "พ่ออยู่ไหม" ดำยิ้ม นึกเรื่องได้ เขียนทันที

พ่อดูทีวี

น้องดูทีวี

ฉันเขียนหนังสือ

คำง่าย ๆ ความสั้น ๆ แต่ชัดเจนบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างตรงไป ตรงมาอย่างนี้แสดงว่า "ดำคิดได้ตรงตามความเป็นจริง" เขาเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ก็จะเขียนด้วยภาษาสั้นๆ แต่สื่อความหมายได้ตรงประเด็น ชัด มองเห็นภาพตามความเป็นจริง

ดำเขียนมาได้พียงนี้ เห็นว่า พอแล้ว เพราะการใช้ความคิดนั้น ถ้าไม่ผ่านการฝึกจนชิน ผู้เริ่มฝึกคิดจะมีอาการง่วง เฉื่อย เนื่องจากการใช้สมองหรือบังคับให้คิดมากนั่นเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเปิดโอกาสให้ดำกลับบ้านได้

3/7/54 

https://docs.google.com/docume...



หมายเลขบันทึก: 473240เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2012 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท