การเขียนสาะสำคัญหรือความคิดรวบยอดในภาษาอังกฤษ


การเขียนสาะสำคัญหรือความคิดรวบยอดในภาษาอังกฤษ

สวัสดีครับเพื่อนครูผู้สอนภาษาอังกฤษทุกท่าน

                เมื่อบล็อกที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากการเขียนความคิดรวบยอด หรือสาระสำคัญ หรือมโนภาพ หรือมโนทัศน์ หรือสังกัป อันเป็นการแปลความหมายของคำว่า concept นั้นเอง ทีนี้ในบล็อกนี้ ผมจะได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวทางในการเขียน concept ในรายวิชาภาษาอังกฤษ เอาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณา หากท่านมีวิธีการที่ดีกว่า ขอให้ท่านเขียนบล็อกมานำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

                ทีนี้เรามาดูว่าความหมายของคำว่า concept ดูก่อนนะครับ พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า มโนภาพ หรือความคิดรวบยอด หมายถึง ภาพในใจ หรือแบบของความคิดที่เป็นตัวแทนสิ่งของทั้งประเภท เพราะฉะนั้น ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญก็คือ ลักษณะร่วมกันของบางสิ่งบางอย่าง ที่ทำให้เราแยกมันออกจากประเภทของสิ่งอื่นๆได้ เช่น โต๊ะ เราจะนึกถึง 1. วัตถุชิ้นหนึ่ง 2. จะมี 4 ขา หรือ 1 หนึ่งขาก็ได้ 3. ใช้สำหรับเขียนหนังสือ

                ในวิชาภาษาอังกฤษ เราจะมีการแบ่งแยกกันระหว่างการสอน 2 ระดับเสมอ นั่นคือ 1. การสอนองค์ประกอบทางภาษา และ 2. การสอนทักษะการสื่อสาร การสอนองค์ประกอบทางภาษาก็คือ การสอนเรื่องคำศัพท์ การออกเสียง โครงสร้าง ส่วนการสอนทักษะทางภาษานั้นคือการสอนทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน หรือการนำเอาองค์ประกอบทางภาษามาใช้สื่อสารนั่นเอง

                ทีนี้เวลาเขียนความคิดรวบยอดนี้เพื่อนๆพี่ๆและน้องๆ ต้องแบ่งแยกออกมาว่าสอนในองค์ประกอบทางภาษา หรือ ทักษะทางภาษา ส่วนวิธีการก็เขียนคล้ายๆกันครับ ยกตัวอย่าง เช่น

1. ถ้าเราจะสอนเรื่องความแตกต่างระหว่างพยัญชนะ L และ R ซึ่งเป็นการสอนการฟังเพื่อแยกเสียง แนวทางการเขียนก็จะเป็น

การสอนเรื่องความแตกต่างระหว่างพยัญชนะ L และ R มีความสำคัญต่อคุณภาพการฟังและการออกเสียง การสอนเรื่องดังกล่าวจะสามารถทำให้นักเรียนฟังและพูด เมื่อต้องฟังเสียงที่มีพยัญชนะดังกล่าว และพูดพยัญชนะดังกล่าวได้ถูกต้อง เห็นไหมครับพอเราบอกเรื่องกับนักเรียนเขาจะรู้ได้ทันทีว่า การสอนเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไร เมื่อเวลาเขาต้องฟังและพูดเขาก็จะได้พูดและสื่อสารได้อย่างเป็นระบบและถูกต้อง

2. ถ้าเราต้องการจะสอนเรื่องการใช้โครงสร้าง What’s about+….? โดยการพูด แนวทางการเขียนก็จะเป็น

การสอนโครงสร้าง What’s about+….? เป็นการนำเสนอสิ่งของบางอย่างให้แก่การสนทนา การสอนโครงสร้างดังกล่าวจำเป็นต้องรู้ศัพท์ การออกเสียง และวัฒนธรรมในการพูดและการฟังจึงจะทำให้การฟังและการพูดประสบความสำเร็จ พอเราจะบอกเด็กถึงสาระสำคัญ เด็กจะรู้ทันทีว่าเราเรียนเรื่องนี้ไปทำไม อะไรคือองค์ประกอบที่จะทำให้การสื่อสารสำเร็จผล

หวังว่าทั้งสองโครงสร้างคงจะทำให้เพื่อนพี่ๆและรุ่นน้องชัดเจนขึ้นเวลาเขียนนะครับ ถ้าท่านสนใจหาอ่านความรู้เพื่อเติมขอให้อ่านที่

1.                       ปรีชา ธรฤทธิ์. (2551). หลัการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design. เอกสาร online

2.             บูรชัย ศิริมหาสาคร. 2537. การเขียนสาระสำคัญในแผนการสอน. สารพัฒนาหลักสูตร.14,119 (..-..) : 36 http://isc.ru.ac.th/data/ED0001505.doc

3.           เฉลิมพล  ฟักอ่อน (ม.ป.ป) . การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design. เอกสาร online

หมายเลขบันทึก: 473223เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2012 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ค่ะ Ico64 ขอส่งความสุขด้วยคำกล่าวว่า สุขสันต์ วันปีใหม่ และทุกวันคืนตลอดไปนะคะ...

สวัสดีปีใหมีปี 2555 เช่นกันครับ

ขอบคุณมากนะค้ะสำหรับความรู้

เป็นประโยชน์กับเพื่อนครูมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท