Gift_Phon
OTs พรพรรณ ฐิติพันธ์รังสฤต

เรียนรู้จากเพื่อน II


แม้ว่าเราจะเจอผู้รับบริการที่เป็นโรค อาการ เดียวกันแต่ทำไมเรากับเพื่อนถึงใช้เทคนิควิธีการต่างๆ การลำดับปัญหาในการรักษายังต่างกันเลยค่ะ นั่นเป็นเพราะความสามารถที่ต่างกันของผู้รับบริการ ความต้องการของผู็รับบริการ หรือข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการฝึกยังต่างกันเลย เราจึงควรให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง มองถึงความต้องการหลักของผู้รับบริการและปัญหาที่ต้องควรแก้ก่อนที่จะส่งผลต่อไปถึงปัญหาอื่นๆ

        เป็นครั้งที่ II แล้วที่ได้ติดตามเพื่อนๆเลขที่ 11-20 ได้ออกมานำเสนอกรณีศึกษาที่ตัวเองได้เจอมาเมื่อครั้งฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ผู้เขียนบล๊อกได้สรุปความรู้ไว้ให้แล้วค่ะ

1. ผลของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะทำให้เกดิความยากลำบากในการใช้แขนและมือในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ ซึ่งการนำเอาหลัก Constraint-induced movement therapy (CIMT: เป็นประเภทของการฟื้นฟูแบบหนึ่งที่ผู้รับบริการต้องใช้แขนข้างที่อ่อนแรงทำกิจกรรมต่างๆโดยข้างที่แข็งแรงกว่านั้นจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวเอาไว้)   พบว่าสามารถช่วยลดความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นในแขนข้างที่อ่อนแรง และมีแนวโน้มในการฟื้นฟูร่างกายที่ดีขึ้นส่งผลดีต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอีกด้วย

2.ภาวะ Dystonia เป็นอาการของการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ไม่ต้ังใจและควบคุมไม่ได้มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ กิจกรรมที่ใช้เพื่อการบำบัดฟื้นฟูจะใช้การทำกิจกรรมต่างๆโดยกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ และการให้ความรู้สึกลักษณะต่างๆ เพื่อกระตุ้นความตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยปรับกิจกรรมให้เข้ากับความสามารถที่มีอยู่ของผู้รับริการก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มความยากในการทำกิจกรรมขึ้น

 3. การใช้หลัก motor re-learning  program (การกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ใหม่)ในผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการเคลื่อนไหว และหลักการใช้ Bilateral arm training (การใช้แขนสองข้างทำงานพร้อมกัน) เพื่อให้มือข้างที่อ่อนแรงได้รียนรู้การเคลื่อนไหวจากข้าองที่แข็งแรง และช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวให้ดียิ่งขึ้น

4. การลดอาการบวมให้ผู้รับบริการที่เกิดการบาดเจ็บที่มือ เช่นการนวดไล่จากปลายนิ้งมือไปถึงข้อมือ , การจัดท่ทาง ยกแขนสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือด หรือเทคนิคอื่นๆซึ่งต้องคำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆของผู้รับบริการที่มีอยู่ด้วย

5. โรค CPA tumors เป็นโรคเนื้องอกในสมองที่เกิดขึ้นที่บริเวณก้านสมอง อาการหลักได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ,สำลักอาหาร,การหายใจ เป็นต้น การรักษาทางกิจกรรมบำบัดจะเน้นเรื่องของการทานอาหาร  มีเทคนิคที่ชื่อว่า Ball -rolling exercise โดยให้ผู้รับบริการอมลูกบอลที่ผูกเชือกยาวไว้ แล้วเลื่อนลูกบอดไปทั่วๆในปาก โดยที่ผู้บำบัดเป็นคนคอยจับเชือกไว้ เทคนิคนี้ช่วยบริหารเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อในปาก และสิ่งที่ต้องมองอีกเรื่องไม่แพ้การอานอาหารคือ สภาพจิตใจของผู้รับบริการ และของผู้ดูแล ดดยค้นหาแรงจูงใจและกำลังของทั้งสองคนนั้

6. การบำบัดฟื้นฟู้ผู้รับบริการที่กระดูกในนิ้วมือหัก สิ่งที่ต้องทำตคือ การประเมินอารการบวม ความคล่องแคล่วในการใช้มือ องศาการเคลื่อนไหวของมือ แรงในมือ 

7.การใช้หลักการของ Brunnstom ในการฟื้นฟูของมือ นิ้วมือที่มีส่วนช่วยในการหยิบจับ และเทคนิค motor re-learning ช่วยส่งเสริมเรื่องของการใช้งานโดยไม่มองถึงการฟื้นฟูของมือและนิ้วมือ และหลักการ CIMT ก็ช่วยส่งเสริมการใช้มือของผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมองด้วยแต่ขึ้นอยู่กับความถี่ของการฝึกด้วย

8. การใช้หลักการของ mirror therapy ในการฟื้นฟูเรื่องของการกระตุ้นการรับความรู้สึก

9.การใช้หลัก Cognitive Behavior Therapy (CBT) ในการฟื้นฟูผู้รับบริการจิตเวชโดยปรับความคิดและพฤติกรรมของผู้รับบริการ เน้นการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน ส่วน Interpersonal Psychotherapy (IPT) เป็นการทำจิตบำบัดระหว่างกลุ่มซึ่งทั้งสองเทคนิคนี้สามารถช่วยฟื้นฟูผู้รับบริการจิตเวชได้

10. การฟื้นฟูผู้รับบริการที่บาดเจ็บไขสันหลังบริเวณที่คอ นอกจากการใช้การประยุกต์การทำกิจกรรม ใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ช่วย นั้นควรฝึกให้ผู้รับบริการใช้ความสามารถของตนเองที่เหลืออยู่ควบคู่ไปด้วยเช่นการฝึกการใช้มมือ การฝึกการนั่งทรงตัว โดยฝึกผ่านการทำกิจกรรมให้ผู้รับบริการมีกรปรับเปลี่ยน วิธีการต่างๆด้วยตนเอง เและนำไปประยุก์กับกิจกรรมอื่นๆต่อไป

 

ทั้งหมดนี้เป็นแค่ความรู้จากเพื่อนๆที่นำมาแลกเปลี่ยนกันเห็นไหมคะว่าการแลกเปลี่ยนกันนั้นทำให้เราได้แนวคิดที่หลากหลายมากขึ้นถึงแม้ว่าเราจะเจอผู้รับบริการที่เป็นโรค อาการ เดียวกันแต่ทำไมเรากับเพื่อนถึงใช้เทคนิควิธีการต่างๆ การลำดับปัญหาในการรักษายังต่างกันเลยค่ะ   นั่นเป็นเพราะความสามารถที่ต่างกันของผู้รับบริการ ความต้องการของผู็รับบริการ หรือข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการฝึกยังต่างกันเลย เราจึงควรให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง มองถึงความต้องการหลักของผู้รับบริการและปัญหาที่ต้องควรแก้ก่อนที่จะส่งผลต่อไปถึงปัญหาอื่นๆ และการสังเกตและเอาใจใส่ผู้รับบริการ ก็ทำให้เรามองผู้รับบริการเป็นองค์รวมมากขึ้นแล้วค่ะ

 

บันทึกนี้อาจะยาวหน่อยนะคะ แต่จัดเต็มความรู้ค่ะ ขอบคุณสำหรับการติดตามและป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ ^_^

หมายเลขบันทึก: 472932เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2011 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Somehow, i am reminded of a 'client-server model' or 'demand-supply model'. The words may have a lot to do with that feeling.

... เราจึงควรให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง มองถึงความต้องการหลักของผู้รับบริการและปัญหาที่ต้องควรแก้ก่อนที่จะส่งผลต่อไปถึงปัญหาอื่นๆ และการสังเกตและเอาใจใส่ผู้รับบริการ ก็ทำให้เรามองผู้รับบริการเป็นองค์รวมมากขึ้นแล้วค่ะ...

  • ปีเก่าลาไกลไม่กลับ
  • เปลี่ยนปรับรับชีวิตใหม่
  • เคราะห์กรรมทำแล้วลาไกล
  • ปีใหม่น้อมนำทำบุญ เอย


ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยคุ้มครองให้สุขสันติ์ตลอดปี 2555 นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท