การเงิน...บริหารจัดการกลไกระบบสุขภาพ


Financial management, Health car financial

การบริหารจัดการการเงินการคลังที่ในระบบสุขภาพ  การศึกษาการคลังสุขภาพ ( Health care  financing )  ระบบการเงินการคลังสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในระบบบริการสุขภาพ จะทำให้เรามองภาพของการบริหารจัดการด้านการเงินของระบบสุขภาพได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งนโยบายด้านการคลังนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพที่พึงปรารถนา  และมีเป้าประสงค์หลักเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการคลังระบบบริการสุขภาพ กล่าวคือ การแบกรับภาระค่าใช้จ่ายควรเป็นไปตามความสามารถในการจ่ายของประชาชน ขณะเดียวกันก็ไม่ควรมีครัวเรือนใดต้องล้มละลายหรือตกอยู่ใต้เส้นความยากจนอันเนื่องมาจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล  นอกจากนั้นระบบการคลังสุขภาพยังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม  มีประสิทธิภาพในการจัดสรรและใช้ทรัพยากร และคุณภาพบริการ

        จากภาพ แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐศาสตร์กับการคลังและการให้บริการดูแลสุขภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันใน 3 ฝ่ายก็คือ ผู้ป่วย  ผู้ให้บริการ และผู้จ่ายเงิน ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป แต่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เป็นระบบ

ในการระบบการคลัง จะมีผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง   ได้แก่ ภาครัฐ ในบทบาทปกติ และผู้ติดตาม  เช่น งานบริหารประกันสังคม  รัฐในส่วนที่เป็นผู้ดูแลกฎหมาย เช่น กรมการประกันภัย  ดูข้อตกลงไม่ให้เกิดการเอาเปรียบ   การประกันคุณภาพการให้บริการ  ภาคเอกชน  คนไข้   ส่วนที่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง เป็นลูกค้า     ผู้ให้บริการ รพ.เอกชน คลินิก มูลนิธิ  บริษัทประกัน   

คำถามสำคัญ  ใครเป็นคนจ่าย ใครได้ประโยชน์ ค่าอะไรบ้าง จ่ายมากแค่ไหน  ครอบคลุม จ่ายเท่าไหร่

 

Who pays:  Private sector   ได้แก่ จ่ายเอง  ประกันเอกชน  บัตรประกันสุขภาพของรัฐ กองทุนสุขภาพชุมชน  

                   Government sector    ได้แก่  ภาษีทั่วไป  สวัสดิการภาครัฐ  สวัสดิการประชาชน เช่นบัตรทอง   เงินสะสมเข้าประกันสังคม  ภาษีเฉพาะ  Earmarked tax [Cigarette,liquor  ]

                  International /Foreign sector   ได้แก่  International aid /programme

Compulsory  health insurance  :   Social security  Provident fund   (Medisave) เช่น การหักเงินเพื่อออมไว้ใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาล  ในภาคบังคับ จุดอ่อน ถ้ารายได้น้อย ป่วยบ่อย ก็ไม่พอ ถ้าจะทำ ประชากรต้องมีฐานรายได้เยอะพอสมควร 

Fringe  benefit

-          Private enterprise  health  benefit ผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มเติม เช่น สวัสดิการข้าราชการ  บริษัท

Who  benefit

- Occupation,  Age,  Gender, Society

  • Community level

  • National level

  • Regional level

  • Global level

เงินของภาครัฐ ออกไปอย่างไร เช่น ทุ่มเทไปกับอะไร การได้รับประโยชน์ เป็นอย่างไร

ความเป็นธรรม  ใครได้รับประโยชน์จากสวัสดิการ  แนวคิด/ วิธีการจัดสรรเงิน  

For what 

-          Primary health care  การจัดการน้ำสะอาด สุขาภิบาล การป้องกันและควบคุมโรค Basic curative service , Health service in remote areas

-          Secondary  /tertiary health  care – Hospital services

How much ?

-  จ่ายตามรายการรักษา

-  เหมาจ่ายราย case

-  เหมาจ่ายรายหัว capitation 

-  Free

ปัญหาการแปลงนโยบาย สู่การปฏิบัติ 

Though what mechanism?

-   Direct payment by patient (out of  pocket)

-   Private health insurance

-   Government

What  are  the goals of health care financing?   เข้าถึง เป็นธรรม  ปกป้องความเสี่ยง  มีประสิทธิภาพ ใช้แล้วคุ้มค่า ไม่ใช่จ่ายมากได้ประโยชน์น้อย  คุณภาพบริการเป็นอย่างไร  เหมาะไหม   ความยั่งยืน  ต้องดูการใช้จ่ายให้ครอบคลุม  อัตราการเพิ่มของเงินกระทรวงสาธารณสุข  ต้องมองเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย

ผู้สอน  ผศ.ดร.สุชาดา ภัยหลีกลี้ 

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาัลัยขอนแก่น

วันที่ 22 ธันวาึคม  2554

หมายเลขบันทึก: 472610เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2011 01:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีปีใหม่ด้วยเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท