ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ ๒ วิชา ท ๓๑๑๐๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


การสอบวัดผลระหว่างภาค

ภาคเรียนที่ ๒                      ปีกรศึกษา ๒๕๕๔             เวลา  ๕๐  นาที

รหัสวิชา  ท ๓๑๑๐๒    วิชา  ภาษาไทย ๒     ชั้น ม. ๔     คะแนน     ๒๐  คะแนน

---------------------------------------------------------------------------------------------

คำชี้แจง ข้อสอบทั้งหมดมี ๒ ตอน

 ๑. ข้อสอบตอนที่ ๑  มี  ๔๐ ข้อ ข้อละ ๔  ตัวเลือก ให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวทำเครื่องหมาย  • ลงในกระดาษคำตอบด้วยดินสอ 2B

 ๒. ตอนที่ ๒ เขียนคำตอบเพิ่มเติมในช่องตัวเลือกที่ผิดทั้ง ๓ตัวเลือกตามคำสั่ง

...........................................................................................................................................................

สาระการเรียนรู้ข้อที่ ๑

  ๑.ภาษาพูดประกอบด้วยเสียงตรงตามข้อใด

๑.  หนัก เบา ทุ้ม                                                 ๒.  พูด อุทาน ร้อง

๓.  สระ พยัญชนะ  วรรณยุกต์                        ๔.  คน  สัตว์  ธรรมชาติ

     ๒.  ข้อใดออกเสียงหนัก(ที่ขีดเส้นใต้) ถูกต้อง

                                ๑.  ศิลาอาสน์                                                       ๒.  หนังสือเรียน

                                ๓.  กรมพระยา                                                    ๔.  ชัยพฤกษ์

       ๓.  ข้อใดมีความหมาชัดเจน

                                ๑.  ฉันเกลียดหน้ามาก                                       ๒. ฉันเกลียดหน้านายมาก

                             ๓.  ฉันเกลียดหน้าเด็กชายมาก                        ๔.  ฉันเกลียดหน้าคนชื่อนายมาก

   ๔.  ข้อใดเป็นประโยคชักชวน

                                ๑.  เธอต้องไปนะ                                               ๒.  เธอต้องไป

                                ๓.  เธอจะไปหรือ                                                               ๔.  เธอจะไปไหม

 ๕.  คำว่า”ดี”ในข้อใดพูดออกเสียงยาว

                                ๑.  ลูกๆดีใจที่ได้พบแม่                                      ๒.  เขาเป็นคนดีที่ควรยกย่อง

                                ๓.  เธอรู้สึกดีขึ้นมาก                                         ๔.  อธิบดีดวงกำลังขึ้น

  ๖.  ดรุณี  “อัอม  ครูอุไรให้พวกเราส่งคำขวัญส่งเสริมการประหยัดฉันจะส่งคำขวัญว่าออมวันละนิด  เศรษฐกิจมั่นคง

                  อ้อม “..............................................................................”

                ๑.  เรายังไม่ทราบเลย                                         ๒.  คำขวัญของเธอก็ดีนะ

                ๓.  ฉันต้องไปคิดคำขวัญมาส่งบ้าง                ๔.  ฉันต้องนำเงินไปฝากธนาคารโรงเรียนละ

๗.  ข้อใดไม่เกี่ยวกับคำว่า “ภาษาช่วยธำรงสังคม”

๑. สังคมต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้                   ๒.  ใช้คำพูดได้เหมาะสมตามฐานะ                              

๓.  ปฏิบัติตนตามประเพณีวัฒนธรรม           ๔.  เมื่อพูดไม่รู้เรื่องต้องข่มขู่ไว้บ้าง

๘. แม่   “แดงแม่ไม่จ้างเขาซักผ้าแล้วนะ”   

     แดง  “ ครับแม่ผมจะซักเอง”

    นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับคำพูดของแดง

                                ๑. แดงช่วยแบ่งเบาภาระของแม่                     ๒. แดงช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้าน

                                ๓. แดงช่างพูดประจบแม่                                  ๔. แดงมีน้ำใจต่อแม่จริงๆ

๙.  สำนวนใดต้องการให้เราเป็นคนรู้จักพาตัวรอด     

                ๑.  รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง                                     ๒.  ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

                ๓.  เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า                                                    ๔.  กำขี้ดีกว่ากำตด

๑๐.  ข้อใดไม่สืบเนื่องมาจากวิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทย

                ๑.  เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน                                                         ๒.  ขนทรายเข้าวัด

                ๓.  งอมพระราม                                                                 ๔.  เสือลายพาดกลอน

สาระการเรียนรู้ข้อที่ ๒

๑๑.ข้อใดเป็นประโยคคำสั่ง

๑.คุณต้องซื้อมันแน่                                                             ๒.เธอต้องไปนะ

๓.ฉันว่าเธอต้องชอบ                                                          ๔.เธอไม่ต้องไป

๑๒.คำว่า “ดี” ในข้อใดออกเสียงยาว

 ๑.ลูกๆดีใจที่ได้พบแม่                                                        ๒.เขาเป็นคนดีที่ควรยกย่อง

 ๓.เธอรู้สึกดีขึ้นมาก                                                            ๔.อธิบดีท่านนี้ดวงกำลังขึ้น

๑๓. ข้อความใดใช้ภาษาเพื่อธำรงสังคม

๑.เธอช่วยบอกครูน้อยด้วยว่าเราไม่สน            ๒.คุณพ่อแก่แล้วควรผักผ่อนบ้าง

๓.เราไม่กล้าไปหาคุณครูกลัวท่านจะตำหนิ   ๔.หนูขออวยพรให้คุณครูมีความสุข

๑๔. สำนวนใดสื่อให้เรารู้ว่าบ้านเมืองเรายังมีการติดสินบน

                ๑.ไก่ได้พลอย                                                       ๒.เกลียดตัวกินไข่

                ๓.กินหญ้า                                                           ๔. ไก่กินข้าวเปลือก

๑๕.สำนวนใดที่ได้จากการสืบทอดวัฒนธรรมไทย

                ๑.หัวล้านได้หวี                                                    ๒.เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

                ๓.น้ำลดตอผุด                                                      ๓. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน

๑๖.ข้อใดมีความหมายเกี่ยวกับการทำอาหารอย่างเดียว

                ๑.ต้ม                                       ๒.ตุ๋น                                    

 ๓.เผา                                     ๔.ย่าง    

๑๗. ข้อใดไม่เป็นคำไวพจน์

                ๑. กษัตริย์                                                             ๒. ธ                            

  ๓. ไท้                                                                                    ๔.พ่อหลวงของแผ่นดิน

๑๘.ข้อใดใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับความหมาย

                ๑.เขากินทุกอย่าง                                                 ๒.เขาเสร็จแล้ว

                ๓.เขาเป็นคนใหญ่                                              ๔.เขาอ่านทำนองเสนาะได้ไพเราะ

๑๙.คำใดที่ใช้ทับศัพท์ได้

                ๑.เตาฮั้งโล่                                            ๒.ยี่ห้อ                  

 ๓.เซ็นต์ชื่อ                                                          ๔.เปอร์เซ็นต์

๒๐. ข้อไดใช้คำไม่กำกวม

                ๑. ฉันเกลียดหน้ามัน                                         ๒. พ่อตาเขาเจ็บ

                ๓. คนขับรถชนหมาตาย                                   ๔. เธอซักเสื้อจนขาด

๒๑.ข้อใดใช้คำตรงความหมาย

                ๑.แม้ผมจะออกจากราชการแล้วก็ยังมีบุญบารมีอยู่บ้าง

                ๒.หล่อนงามเหมือนนางฟ้ามาจุติ                  

  ๓.ครูนิรันดร์เสียงหวานปานนกการเวก        ๔.เขามีอาการทุรนทุรายแล้วก็สิ้นใจ              

๒๒. ข้อใดใช้คำซ้อนถูกต้อง

  ๑.เข้าตั้งใจทำงาน                                                ๒.เขาตั้งใจปิดบังความจริง

                ๓. น้องจงใจทำการบ้าน                                     ๔. นักกีฬาจงใจฝึกซ้อมจึงชนะ

๒๓. ข้อใดใช้คำขยายบอกอาการได้ถูกต้อง

                ๑.เด็กอนุบาลร้องให้ฟูมฟาย                             ๒.นักเรียนหญิงห้องนี้ลุกนั่งเกะกะเก้งก้าง

                ๓.สุนัขยังไม่ลืมตาคลานป้วนเปี้ยนข้างแม่       ๔.พอถูกซักถามก็ทำท่าเด๋อด๋า        

๒๔.ข้อใดใช้คำถูกต้องตามข้อเท็จจริงเรื่องเวลา

                ๑.พลบค่ำฝูงค้างคาวบินกลับถ้ำ                             ๒.เช้าตรู่หมู่นกบินกลับรัง

                ๓.น้ำค้างต้องแสงอาทิตย์ยามเช้าเป็นประกาย      ๓.ดอกมะลิบานในตอนเช้าตรู่ดูขาวโพลน

๒๕.ข้อใดใช้คำตรงความหมาย

๑.เจ้าหน้าที่แจกสูติบัตรให้ผู้เข้าชมละคร  ๒. ให้นักเรียนนำสูจิบัตรมาตรวดสอบ วันเดือนปีเกิด

๓. เดินเป็นคำกริยา                                         ๔. สมศรีมีกริยาเรียบร้อยน่ารก

๒๖. ข้อใดใช้กับบอกพจน์ตรงตาม

                ๑.ตำรวจยิงกราดไป๑นัด                                    ๒.แม่รุมด่าพ่อทุกวัน

                ๓. พ่อมีวัวฝูงประมาณ ๑ ตัว                               ๔.ฉันหว่านเม็ดผักบุ้งไปหนึ่งกำมือ

๒๗.ข้อความใดพรรณนาได้ถูกต้อง

                ๑.มะนาวต้นที่บ้านรสเปรี้ยวกว่าที่อื่น             ๒.คุณตาพออายุมากมีผมหงอกดูแปลกตา

                ๓.หาดป่าตองยามเช้าอากาศสดชื่น                       ๔.รู้สึกว่าน้ำตาลถุงนี้จะหวานที่สุด

๒๘. ข้อใดใช้คำบุพบทถูกต้อง

                ๑.เขาบริจาคเงินแก่มูลนิธิคนตาบอด                  ๒.ถวายอาหารเพลแก่พระสงฆ์       

                ๓.ตัวแทนนักเรียนมอบช่อดอกไม้แก่ผู้อำนวยการ       ๔.ถวายเงินแก่ในหลวง

๒๙.  ข้อใดใช้คำลักษณะนามถูกต้อง

                ๑. ห้าโจรปล้นรถเมล์ถูกตำรวจจับแล้ว           ๒. รถรุ่นนี้มีสมรรถนะสูง

                ๓. กระเป๋าลูกนี้แพงมาก                                   ๔. เขาอาศัยอยู่ในบ้านเคลื่อนที่หลังนั้น

๓๐. ข้อความใดสื่อสารเป็นรูปธรรม              

  ๑.ปีนี้ปลาชุกชุม                                          ๒.วันนี้ครูน้อยแต่งตัวสวยหลายคนหันไปมอง

                ๓.ครูนงเยาว์แกงไตปลาอร่อย                     ๔.ผมไม่เป็นคนติดยึดในอัตตา

๓๑. ประโยคใดสื่อสารได้ชัดเจน               

๑.นายนิรันดร์ชอบจัดฉาก                 ๒.สมศรีชอบพูดอวดตัว

                ๓.เขารู้ว่าท่านชอบฉัน                                 ๔.พี่ทำให้ฉันเสียอีก

๓๒. ความใดสื่อสารได้ชัดเจน

                ๑.ลุงทาสีบ้านที่ซื้อมาเมื่อเดือนก่อน           ๒.น้อยไปเยี่ยมย่าที่เขารักเป็นครั้งคราว

                ๓.ฉันออกกำลังกายทุกวัน                 ๔.วันนั้นหนูไม่ได้มา

๓๓.ข้อใดใช้คำไม่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น

          ๑.ในการนี้ขอขอบคุณรองอุดมไว้ ณ โอกาสนี้             ๒.แม่รู้อยู่แก่ใจนะว่าลูกไม่ทานข้าวเช้า

           ๓.ฉันเรียนภาษาไทยวันนี้เข้าใจมากร้อย%                         ๔.ฉันได้ยินมากับหูเขานินทาเธอจริง

๓๔.ข้อใดใช้คำนำหน้านาม ด้วย กับได้ถูกต้อง

                ๑. ฉันเรียนหนังสือกับปากกา                                          ๒.ดูเชื้อโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์

                ๓. เขาไปตลาดด้วยแม่                                                       ๔. ได้ยินกับหู

๓๕. ข้อใดใช้คำนำหน้านามของ ได้ถูกต้อง

                ๑.พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๕                                   ๒. สภาพัฒนาของชาติ

                ๓. ธนาคารของประเทศไทย                                            ๔. พระราชธิดาของรัชกาลที่ ๔

๓๖. ข้อใดใช้คำนำหน้านาม ในได้ถูกต้อง

                ๑. นักเรียนสนใจในเครื่องมือชุดนี้                                 ๒.อย่าตกใจในข่าวน้ำถ่วมโลก

                ๓. ถวายในเจ้าต่างกรม                                                      ๔. รถวิ่งอยู่ในถนนสี่ช่องทาง

๓๗. ประโยคใดเป็นประโยคบอกเล่า

                ๑. เธอมาหาฉันเองนี้ โทษฉันไม่ได้                               ๒. เขาเป็นคนดีแต่ใจอ่อนเหลือเกิน

                ๓. ฉันจะกินวันนี้  ไม่ใช่พรุ่งนี้                                       ๔. เธออิจฉาเขาละซิ

๓๘. ประโยคใดถามให้เลือก

                ๑. คุณมีเงินเท่าไร                                                               ๒. เธอรู้จักฉันไหม

                ๓. คุณจะมาหรือไม่มา                                                       ๔. คุณทานข้าวแล้วไช่ไหม

๓๙. ข้อใดเป็นประโยคชนิดเดียวกันกับข้อความที่ว่า “ฉันบอกให้คุณนั่งลง”

                ๑. เธอลองพูดดีๆกับเขาบ้าง                                             ๒. กรุณาอย่าเดินลัดสนาม

                ๓. ทำใจดีๆไว้นะ                                                                ๔. ส่งผ้ามาให้ฉันเดี๋ยวนี้

๔๐. ข้อความใดข่มขู่ และท้าทาย

๑. อย่าร้องไปเลยนะ                                                          ๒. เธอไม่ไปก็ไม่ว่า

                ๓. คุณเชื่อผมเถอะทานปลาดีที่สุด                                  ๔. ถ้าไม่เปิดประตูฉันจะพังเข้าไป

ตอนที่ ๒

ชื่อ...................................................................................ชั้น  ม. ๔/......                เลขที่.................

คำสั่ง  ให้นักเรียนเลือกข้อสอบจากตอนที่ ๑ มา ๕ ข้อ  แล้วอธิบายเหตุผลตัวเลือกที่เห็นว่าผิด

                ว่าผิดอย่างไร

ข้อ

ตัวเลือกที่ผิด

คำอธิบาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การสอบแก้ตัว
หมายเลขบันทึก: 472527เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2011 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท