การบริหารคนเพื่อบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ


คนสร้างงานหรืองานสร้างคน

การบริหารคนเพื่อบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ

(Human Resource Management for Health Project management)

          การบริหาร "คน"ให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ เหมือนเป็นการวัด "กึ๋น"ของผู้บริหาร ว่าจะสามารถใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการได้ดีขนาดไหน เพื่อให้ผลงาน บรรลุเป้าหมายมากที่สุด เกิดความพึงพอใจหรือได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย (Win-Win)
         การบริหารโครงการ มักจะดำเนินการได้หลายส่วน ตั้งแต่การประเมินสภาพแวดล้อม การประเมินปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรที่ใช้ (input) การประเมินกระบวนการไปจนถึงการประเมินผลผลิต (output)และการประเมินผลลัพธ์(Outcomes)ของโครงการ เป็นการดำเนินการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยการวางแผนและบริหารทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ประกอบด้วยกิจกรรม การวิเคราะห์กิจรรมโครงการ วิเคราะห์โครงสร้างองค์กร วิเคราะห์ทรัพยากรและการกำกับติดตามและประเมินผล
         การวิเคราะห์กิจรรมโครงการ เป็นการวิเคราะห์หรือประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility) ในการทำโครงการ เช่น 1) ความเป็นไปได้ด้านสังคม(Social Feasibility) ว่ามีความขัดแย้งกับเขาหรือไม่ 2) ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ(Economic Feasibility) ดูว่างบประมาณมีความเพียงพอหรือไม่ 3)ความเป็นไปได้ด้านวิชาการ (Technical Feasibility) มีความสอดคล้องหรืออธิบายเชิงวิชาการหรือไม่ 4)ความเป็นไปได้ด้านการบริหาร (Administrative Feasibility) สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางนั้นหรือไม่ และ 5)ความเป็นไปได้ด้านการเมือง (Political Feasibility) เอื้ออำนวยหรือขัดขวางต่อการดำเนินงานหรือไม่ ประกอบด้วยการวิเคราะห์โครงการแบบอิงผลลัพธ์ (Outcomes-Based Evaluation) แบบดั้งเดิม (Conventional) แบบเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework) โดยการแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่เป็นองค์หระกอบพื้นฐาน โดยใช้ Log frame ใช้แบบโดยอ้างอิงกระบวนการบริบท (CIPP Model) การวิเคราะห์ข่ายงาน (Network Analysis Model) การวิเคราะห์ระบบงาน (System Model) หรือ การผสมผสานของการวิเคราะห์แบบเครือข่ายและการวิเคราะห์บริบทร่วมกัน การเลือกที่จะวิเคราะห์แบบใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามลักษณะของโครงการว่ามีความซับซ้อนมากน้อยขนาดไหน
        การวิเคราะห์โครงสร้างองค์กร เป็นการวิเคราะห์หรือทบทวนบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบความเหมาะสมของบุคลากรในองค์กรทั้งจำนวน ศักยภาพตามบทบาทเหน้าที่ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงคือ ให้คนเพียงพอกับงาน แต่ไม่ได้งานเป็นที่ตั้งโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากร
        การวิเคราะห์ทรัพยากร ประกอบด้วยการวิเคราะห์ทรัพยากรทั้ง 4 ด้านคือ บุคลากร งบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีการบริหารจัดการ
การกำกับติดตามและประเมินผลงาน เป็นการประเมินในด้านประสิทธิภาพของงาน ควรประเมินตั้งแต่ระยะเตรียมการทั้ง 4 ด้านว่ามีความพร้อมสามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน ระหว่างดำเนินการ เพื่อดูว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคใดและจะแก้ไขโดยวิธีใดและการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ เพื่อดูว่าผลนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เมื่อเทียบกับความคาดหวัง มีบทเรียนอะไรที่เป็นข้อสังเกตและมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการขยายผลต่อไป
         ส่วนการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร (Human Resource Management) ให้มีความเหมาะสม โดยให้ได้ทั้งงานและคน เริ่มตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์และจัดงาน (Job Description) สร้างกรอบอัตรากำลัง สรรบุคลากรที่เหมาะสม (Job Specificity for Recruitment) จัดคนเข้าทำงาน(Staffing) เติมศักยภาพให้พร้อมและ บำรุงรักษาทั้งคนและอุปกรณ์ให้มีทั้งขวัญกำลังใจและมีศักยภาพเต็มความสามารถ และมีการประเมินผลร่วมกัน เพื่อทบทวนปรับปรุงให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น โดยมองว่า เป้าหมาย คือ ทิศทางที่ทุกคนต้องเดินไปด้วยกัน ซึ่งในการประเมินผลขึ้นกับวัตถุประสงค์ว่าจะประเมินไปที่จุดได เพื่ออะไร เช่น ดูที่คุณลักษณะ (Characteristics) พฤติกรรมในการทำงาน (Performance base) ยึดผลสำเร็จของงาน หรือแบบผสมผสาน
        แต่ทั้งนี้ ไม่มีวิธีการที่จะสมบูรณ์จนไม่มีข้อด้อย ขึ้นอยู่กับบริบทขององค์กร ลักษณะงาน ผลกระทบต่อลูกค้าหรือบริการ การนำแนวคิดหรือวิธีการมาใช้ต้องมีการปรับประยุกต์ให้เหมาะสม แลให้ความรู้สึกของการเป็นหุ้นส่วน (Partner) ในองค์กร มีส่วนร่วมตั้งแต่การคิด วางแผน ดำเนินการและประเมินผล มีความยืดหยุ่น แต่มีกรอบ/วินัยที่ชัดเจน ให้มีการรับรู้โดยทั่วกัน สร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดี และสร้างบบรรยากาศที่ดีในองค์กร ย่อมจะเป็นองค์กรที่มีผลงานดี มีชีวิตชีวา (Happy work place)
โดย ราณี วงศ์คงเดช

ถ่ายทอดแนวคิดและความรู้โดย รศ.ดร.มานพ คณะโต

23/12/2554 

หมายเลขบันทึก: 472308เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท