๒๒๑.ข้อคิดจากงานบริการวิชาการแก่สังคม(รับใช้สังคม)


ในประเด็นนี้ ผู้เขียนนึกถึงช่องทางในการเผยแพร่ผลงานออกไปสู่สาธารณะที่กว้างขึ้น สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงได้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมา งานบางงานของผู้เขียนนึกไม่ถึงว่าจะไปไกลกว่าที่คิด เช่น เรื่อง "นิทานพื้นบ้านเมืองพะเยา" มีครูโรงเรียนเทศบาล ๓ พะเยา นำไปเขียนเป็นสื่อการสอนให้กับเด็ก เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเฉพาะงานที่เป็นเรื่องของท้องถิ่นอื่น ๆ นับว่าเป็นที่นิยมอยู่มิใช่น้อยในการอ้างอิงในสถาบันการศึกษาและขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ, อาจารย์ ๓ เป็นต้น ซึ่งนับรวมเอางานตำรารัฐศาสตร์เชิงพุทธของผู้เขียนเข้าไปด้วย

     วันนี้ผู้เขียนมีภาระกิจแต่เช้า รวม ๔ ภาระกิจหลัก ซึ่งผู้เขียนเรียกเสียสวยหรูว่า "เป็นการบริการวิชาการต่อสังคม" ซึ่งต้องยอมรับว่าเมื่อเรามายืนอยู่ ณ จุด ๆ หนึ่ง ภาระหรืองานก็เดินเข้ามาหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการบริการวิชาการต่อสังคมนั้น พระก็ปฏิเสธไม่ได้ที่ชุมชน สังคมต้องการหรือเรียกร้องให้กระทำ ดังนั้นพระก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องรับใช้สังคมในด้านวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้

     เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐น.ไปเป็นประธานสนามสอบธรรมศึกษา ณ สนามสอบโรงเรียนประชาบำรุง อำเภอเมืองพะเยา ซึ่งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดศรีโคมคำ ส่งพระภิกษุเข้าไปสอนธรรมศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยเปิดทำการสอนและสอบในนามของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๒ สนามสอบคือ (๑)สนามสอบวัดศรีโคมคำ มีผู้เข้าสอบจำนวนร่วม ๑๐๐ คน โดยมีพระสุนทรกิตติคุณ รองเจ้าอาวาส เป็นประธานสนามสอบ  (๒)สนามสอบโรงเรียนประชาบำรุง มีผู้เข้าสอบจำนวน ๕๔๕ คน โดยมีผู้เขียนเป็นประธานสนามสอบ

     นั่นแสดงว่า วัดเป็นศูนย์กลางทางสังคมนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนวัดอาจเป็นสถานศึกษาของทั้งเด็กและพระภิกษุสามเณร แต่เมื่อยุครัชกาลที่ ๕ ให้มีการแยกโรงเรียนออกจากวัด ซึ่งมีผลทำให้วัดสละพื้นที่หรือแบ่งวัดให้เป็นโรงเรียน หรือเราเรียก "โรงเรียนวัด" นั่นเอง  

     ต่อมา มีการเรียกร้องให้ตัดคำว่าวัดออกจากโรงเรียน เช่น โรงเรียนวัดบวร, โรงเรียนวัด...ฯลฯ แต่ไม่มีใครสักคนกล้าให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดสังเวชฯ สักราย...

          เวลา ๑๒.๓๐-๑๖.๐๐ น.เป็นกรรมการสอบปากเปล่านักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คือพระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส วัดหลวงราชสัณฐาน ซึ่งเป็น ๑ ใน ๒ รูปที่เข้าสอบวันนี้ เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์เรื่องเปตตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน... นอกจากนั้นแล้วทางศูนย์บัณฑิตได้ขอแทรกการสอบโคร่งร่างวิทยานิพนธ์ของพระครูสมุห์ราชัย นารโท เรื่องศึกษาบทบาทในการศึกษาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ)...

     นั่นแสดงว่า ทุกชุมชน ไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดไหน พื้นที่ใดล้วนแล้วแต่มี "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ดี ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่าภูมิปัญญาเหล่านี้ ถ้าไม่มีการศึกษา ก็ไม่มีการจดบันทึก หรือขยายสู่สาธารณชน ดังนั้น ถ้าชุมชน ท้องถิ่น หรือหมู่บ้าน คนอยู่ในท้องถิ่นควรจดบันทึกหรือสืบต่อโดยทำเป็นคลังข้อมูลเอาไว้

          เวลา ๑๗.๐๐-๑๘.๓๐ น.จัดรายการวิทยุรายการ "ถามมา-ตอบไป" ร่วมกับพระมหากรภพ กตปุญฺโญ ป.ธ.๙ ซึ่งการจัดรายการแต่ละครั้ง(เฉพาะวันศุกร์) ได้รับความสนใจจากญาติโยมมากพอสมควร

     นั่นก็แสดงว่า เป็นพื้นที่หนึ่งที่ให้คนได้แสดงออกทางด้านความคิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ผิด ๆ อยู่หลาย ๆ ประการ อันแสดงถึงความไม่เข้าใจ เช่น โยมคิดว่าถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรเฉพาะในพรรษาเท่านั้น หรือการสวดมนต์ไหว้พระที่บ้านกรวดน้ำเองไม่ได้ ...ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่ค้างคาใจในกลุ่มชาวบ้านไม่น้อย

     ผู้เขียนเลยตั้งข้อสังเกตว่า ๑)การสื่อของพระมีปัญหา คือเข้าใจมาตลอดว่าได้ให้ความรู้ญาติโยมอย่างดีและมีประสิทธิภาพแล้ว แต่ไม่มีการประเมินผล  ๒)บางครั้งญาติโยมคิดไปเอง เช่น คิดว่าเวลาถวายสังฆทาน ต้องกล่าวคำว่า ...ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์และสามเณร...เพราะทุกวันนี้ถวายแต่พระ ไม่มีสามเณร ซึ่งความเป็นจริงแล้วคำว่าสงฆ์มันคลอบคลุมถึงทั้งพระและสามเณรแล้ว เป็นต้น ๓)ในชนบทยังมีความเชื่อดั่งเดิมปนอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนาอยู่มากพอสมควร...นี้คืองานท้าทายของพระนักเผยแผ่......ฯลฯ

          และตอนดึกรีบจัดทำต้นฉบับหนังสือเรื่อง "ท่าทีคนลุ่มน้ำโขง(พะเยา-หลวงพระบาง)ต่อพุทธศาสนาเชิงรุกในยุคโลกาภิวัตน์" ซึ่งปรับมาจากงานดุษฎีนิพนธ์ของผู้เขียนเรื่อง "การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อพุทธศาสนาเชิงรุกในชุมชนชายแดนไทย-ลาวในยุคโลกาภิวัตน์"  เพื่อเป็นมุทิตาจิตต่อพระเดชพระคุณเจ้าคุณอาจารย์พระสุนทรกิตติคุณ รองเจ้าอาวาส ในวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ ที่จะถึงนี้

     ในประเด็นนี้ ผู้เขียนนึกถึงช่องทางในการเผยแพร่ผลงานออกไปสู่สาธารณะที่กว้างขึ้น สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงได้ ซึ่งเท่าที่ผ่านมา งานบางงานของผู้เขียนนึกไม่ถึงว่าจะไปไกลกว่าที่คิด เช่น เรื่อง "นิทานพื้นบ้านเมืองพะเยา" มีครูโรงเรียนเทศบาล ๓ พะเยา นำไปเขียนเป็นสื่อการสอนให้กับเด็ก เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเฉพาะงานที่เป็นเรื่องของท้องถิ่นอื่น ๆ นับว่าเป็นที่นิยมอยู่มิใช่น้อยในการอ้างอิงในสถาบันการศึกษาและขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ, อาจารย์ ๓ เป็นต้น ซึ่งนับรวมเอางานตำรารัฐศาสตร์เชิงพุทธของผู้เขียนเข้าไปด้วย

หมายเลขบันทึก: 471528เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2011 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เจริญพรขอบคุณอาจารย์บวร ที่เข้ามาอนุโมทนา...สาธุ

เจริญพรคุณโยมสมศรี

ภาพพระพุทธรูปที่ส่งมาดูแล้วสงบ บรรยากาศภายในวัดก็ร่มรื่น

สมกับเป็นรมณียสถานแห่งจิตวิญญาณอย่างหาที่เปรียบมิได้

ดูแล้วทำให้จิตวิญญาณของผู้มองนิ่งสงบตาม อนุโมทนายิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท