การขอที่ไม่ต้องถูกรังเกียจ


๓. การขอที่ไม่ต้องถูกรังเกียจ

ผู้ขอย่อมเป็นที่รังเกียจของผู้ให้ ถ้าการขอนั้นไม่ถูกกาละเทศะเมื่อได้มาแล้วก็ไม่ก่อให้เกิดกุศล เพราะผู้ให้ ให้ทั้งที่ไม่เต็มใจที่จะให้ 

แต่การขอ ที่ไม่ต้องหนักใจทั้งผู้ให้และผู้รับ คือการขอโทษ คนเราย่อมกระทำการอันอาจจะล่วงเกินคนอื่นได้ เพราะเราอยู่ร่วมกัน

แต่บางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจ หรือกระทำไปด้วยการคิดไม่ถึง การล่วงเกินหากไม่หนักหนา ไม่เหลือบ่ากว่าแรง เราก็ย่อมให้อภัยกันได้ ทั้งๆที่รู้ว่าตนเองทำผิดยังไม่คิดขอโทษ อย่างนี้ต้องโกรธกันแน่

เมื่อทำผิดจริง ยอมเอ๋ยปากขอโทษ  สักครั้งก็ไม่น่าจะเสียหายเพราะเมื่ออยากได้สิ่งของจากเขา  ก็ออกปากร้องขอตั้งมากมาย

 คนเราอยู่ร่วมกันต้องคิดถึงอกเขาอกเรา ใจเขาใจเรา โทษเขาโทษเราผิดเล็กน้อย ต้องรู้จักให้อภัย  เมื่อรู้ว่าผิดต้องรู้จักขอโทษมันเป็นการขอและการให้ ที่ไม่หนัก ทั้งผู้ให้และผู้ขอ ข้อสำคัญคือใจ

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯอุบล
หมายเลขบันทึก: 471465เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2011 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณทุกกำลังใจ ที่ให้ดอกไม้แห่งความดีงาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท