Case Study Dystonia - 1


เพื่อการฝึกฝนที่กำลังจะเป็น "นักกิจกรรมบำบัด" ที่มีประสิทธิภาพ

สวัสดีคะ ดิฉันเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด

    *** ซึ่งวันนี้มีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกตนเอง ทบทวนความรู้ ทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้อื่นได้ โดยการทำ Blog นี้

ในช่วงการฝึกปฏิบัติงานที่ผ่านมา ก็เป็นครั้งแรกของการเป็นนักศึกษาฝึกงานเลยนะคะ กับเคสที่ไม่ได้พบได้ง่ายๆแบบนี้ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากครั้งหนึ่ง ^^

Case Study Dystonia (รายละเอียดพอสังเขป)

Dystonia : โรคที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติโดยไม่ตั้งใจ ควบคุมไม่ได้ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ การติดเชื้อหรือสารพิษเข้าสู่สมอง และสมองสูญเสียหน้าที่ในการสั่งการ

ประวัติโดยย่อ : หญิงไทย วัย 40 ปี

ประวัติในการรักษา : ด้วยเป็นเคสที่มารับบริการในการบำบัดฟื้นฟูในที่ให้บริการแห่งใหม่ ซึ่งญาตินำเอกสารประวัติที่มีมาให้เพื่อขอรับการฟื้นฟู ทราบว่า กล้ามเนื้อใบหน้าและคอเกร็งทำให้บึงตึงเหมือนจะยิ้มแบบยิงฟัน กระพริบตาบ่อยครั้ง มือเกร็งกำตลอด ขาเกร็งเดินไม่ตรง จึงเข้ารับการรักษาที่รพ.แห่งหนึ่งโดยผ่ากะโหลกศีรษะ โดยใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆจี้ทำลายเซลล์สมองส่วนที่ผิดปกติ ผลคือ กล้ามเนื้อที่เกร็งคลายตัวลงเป็นที่พอใจในการรักษา หลังจากนั้นผู้รับบริการมีอาการอ่อนแรงแบบทั้งตัวไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย

การประเมิน พบปัญหาที่สำคัญ : กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั้งตัว จึงส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งหมด รวมถึงการกลืนอาหาร

กิจกรรมการบำบัดฟื้นฟู : ให้กระตุ้นการเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ พร้อมให้การรับความรู้สึกในลัษณะต่างๆ เพื่อเพิ่มความตึงของกล้ามเนื้อ โดยการปรับประยุกต์กิจกรรม

  >> วันนี้เป็นการหา Journal Support : ในการหาข้อมูลที่น่าเชื่อมาสนับสนุน หรือเปรียบเทียบกับแนวทางที่เราได้เคยให้การบำบัดฟื้นฟูตามที่เราสนใจ

ซึ่งมี paper น้อยมากที่นักกิจกรรมบำบัดได้ทำกับ csae dystonia และ Journal ที่ค้นพบนั่นต้องซื้อมาอ่าน จึงค้นคว้าเป็นความรู้เกี่ยวกับ Dystonia และ วิธีการรักษาแบบต่าง ๆ

จากเรื่อง (Treament strategies for dystonia) โดยต้องเสียเงินค่าดาวน์โหลด Journal นี้ แต่สามารถอ่านรายละเอียดฟรีได้โดยใช้อินเตอร์ของม.มหิดล ตามลิงค์ล่างนี้ คะ

http://informahealthcare.com/doi/full/10.1517/14656560903426171#h16

สรุป : นักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด สามารถช่วยการเคลื่อนไหวข้อที่ติด ให้โปรแกรมการออกกำลังที่เหมาะสม และให้อุปกรณ์ช่วย มีการเพิ่มเทคนิคทางประสาทสัมผัส 

      : การให้ Sensory motor retuning ที่เรียกว่า CIMT (คือการยับยั้งการทำงานของข้างปกติ แต่กระตุ้นข้างที่มีพยาธิสภาพในการใช้งาน) อาจเป็นประโยชน์กับ hand dystonias เช่น การให้ Splint เป็นต้น

แล้วจะพยายามหาข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นๆ เพิ่มเติม อันสามารถนำแนวคิดปรับใช้กับเคสให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น หากมีโอกาสได้ให้การบำบัดฟื้นฟูกับเคสลักษณะนี้อีก

หากมีความบกพร่องประการ ขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย (Puppa ^^)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 471456เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2011 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับความรู้และประสบการณ์ในวันนี้นะคะ^^

เคสนี้เป็นเคสที่น่าสนใจจริงๆ ทั้งตัวโรค อาการ และวิธีในการรักษา

อย่างไรก็ตามขอเป็นกำลังใจให้ในการทำงานต่อไปนะคะ..สู้ๆค่ะ

ขอบคุณนะคะ คุณ เม เพนกวิน ^^

ถ้าหากมีอะไรแนะนำ>< เชิญได้เลยนะคะ

เผื่อว่าจะได้แนวทางที่จะสามารถช่วยเคสที่มีปัญหาคล้อยกันนี้ได้อีก

ซึ่ง ข้อมูลที่จะนำมาสนับสนุนจากการที่เราได้ให้การฟื้นฟูไปแล้ว สามารถบอกได้เลยว่า หายากมาก ที่จะเกี่ยวข้องกับนักกิจกรรมบำบัดกับเคสแบบนี้ี (Dystonia) >> Flaccid

แต่ ดิฉันก็ได้พยายามหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุน หรือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นในการฟื้นฟูด้วย

โดยข้อมูลได้จากหนังสือ Occupation Therapy for Dysfunction ในการเพิ่ม Low Tone ซึ่งดิฉันก็ได้นำหลักการที่เคยเรียนมาเพิ่มศักยภาพของผู้รับบริการ

และข้อมูลจาก Paper : Treatment strategies for dystonia ที่กล่าวถึงนักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ,การออกแบบการปรับโปรแกรมกิจกรรมช่วยฟื้นฟู,การให้อุกรณ์ช่วย,การให้ Sensory Trick และการใช้ CIMT

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ค่ะ Ico64 ขอส่งความสุขด้วยคำกล่าวว่า สุขสันต์ วันปีใหม่ และทุกวันคืนตลอดไปนะคะ...

ขอบคุณคะ ดร.พจนา แย้มนัยนา

สวัสดีปีใหม่ 2555 เช่นกันนะคะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท