dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ผลสำรวจเด็กไทยต้นทุนชีวิตต่ำ


ผลสำรวจเด็กไทยมีต้นทุนชีวิตต่ำ

ผลสำรวจเด็กไทย : ต้นทุนชีวิตต่ำ

                   เมื่อไม่นานมานี้มีการเผยแพร่เกี่ยวกับเด็กไทยในเรื่องต้นทุนชีวิตโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลและผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สสส. รายงานว่าแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สสส.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ)กระทรวงศึกษาธิการ ได้สำรวจต้นทุนชีวิตของเด็กไทยทั่วประเทศเมื่อปี 2553 จำนวน 12200 คน พบว่าปัจจัยที่ทำให้เยาวชนไทยอ่อนแอ 10 อันดับแรกที่น่าเป็นห่วง คือ

                  1 รู้เท่าทันสื่อ 53 %

                  2 จิตสำนึกของชุมชนในการอยู่ร่วมกัน 55%

                  3 จิตอาสา 56%

                  4 ความกล้าแสดงออก 58%

                  5 ใฝ่เรียนรู้ 59%

                  6 ใฝ่รู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น 61%

                  7 ควบคุมอารมณ์ตนเอง 61%

                  8 หลักธรรมศาสนาสู่ชีวิต 62%

                  9 รักการอ่านหนังสือ 63%

                  10 โอกาสเข้าร่วมกิจกรรม 65%

             นอกจากนั้นผลสำรวจพบว่าเด็กภาคอีสานและภาคใต้มีต้นทุนชีวิตอยู่ในระดับสูงกว่าภาคอื่นๆ ในขณะที่ภาคกลางอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยมีความจำเป็นที่เรียกว่าเร่งด่วนในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กของเรา สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นถ้าเรามาวิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้วจะสังเกตเห็นว่าเราละเลยกันตั้งแต่ปฐมวัย เราจำเป็นต้องพัฒนาเมื่อเด็กยังเล็กอยู่ ที่กล่าวมาจะเห็นว่าสิ่งที่เด็กขาดคือ การพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม เป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันจะเห็นว่าสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสติปัญญาโดยเฉพาะเด็กของเราจากการสำรวจมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาการทางสังคม อย่างการเข้าร่วมในสังคมหรือโอกาสการเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กมีถึงร้อยละ 65% คุณธรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้องคงจะไม่พ้นในเรื่องของจิตสาธารณะ เรียกได้ว่าในสังคมไทยขณะนี้ต้องช่วยกันเริ่มปลูกฝังให้กับเด็กของเรา ทั้งต้องส่งเสริม และพัฒนาให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเฉพาะวัยของเด็กในช่วงอายุ 3-8 ปีเพราะเป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับ การปลูกฝังและส่งเสริมจริยธรรมและวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง เด็กวัยนี้เป็นวัยทองหรือโอกาสทองของการเรียนรู้ มีการเจริญเติบโตทางสมองอย่างรวดเร็ว ถ้าเด็กได้รับการพัฒนา การมีตัวอย่างที่ดีและได้รับการกระตุ้นด้วยวิธีที่ถูกต้อง หากเป็นการมีคุณธรรมด้านจิตสาธารณะถ้าเด็กได้รับการปลูกฝังและฝึกตั้งแต่แรกก็จะติดตัวไปจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ อย่างเช่นการมีพฤติกรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม จะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่วัยแรกเริ่มและเป็นกระบวนการอย่างมีขั้นตอน พอจะกล่าวได้ดังนี้คือ จะต้องให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตั้งแต่ การให้ความรู้ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างความเข้าใจ การเสริมสร้างเจตคติ การสร้างกรอบแนวคิด และสุดท้ายคือการฝึกทักษะให้เกิดพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของน้ำ อากาศ ขยะ เป็นต้น อันเป็นความคาดหวังของสังคมไทยในปัจจุบันนี้

 

    

 

  

หมายเลขบันทึก: 471299เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2011 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

What do we expect 67%? 82%? 97%?

If we look at the population as a whole, in recent months, would we say "2 จิตสำนึกของชุมชนในการอยู่ร่วมกัน 55%" is better than expected?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท