ใช้แรงจูงใจ ดึง ความฉลาดภายใน (ภาค 1/2)


การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีนัยยะมากไปกว่า การจัดเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาล แล้วไป "unzip" ที่บ้าน..แต่ยังหมายถึง
การสร้าง"แรงจูงใจ" เพื่อดึง "ความฉลาดทางสุขภาวะภายใน" ของตนเอง ออกมาจัดการกับปัญหาตนเองด้วย..ครั้งนี้มีสองภาคคะ
ภาคแรก -- การทดลองที่ทำให้เห็นภาพ แรงจูงใจ : เก็บตกจากรายการ TED talk 
ภาคสอง -- มุมมองตะวันตกต่อ ความฉลาดภายใน : เก็บตกจากการบรรยายที่ฟังวันนี้ ณ สถาบันการแพทย์ผสมผสาน UCSF Oscher
###

ภาคแรก :

เมื่อ 60 กว่าปีก่อน นักพฤติกรรมศาสตร์นาม  Karl Duncker ได้ทดลองโดยตั้งโจทย์ว่า เมื่อให้อุปกรณ์ ได้แก่ แท่งเทียน กล่องกระดาษแข็ง เข็มหมุด ไม้ขีด
ทำอย่างไรให้ใช้อุปกรณ์ทุกอย่าง แล้วเทียนไม่หยดลงโต๊ะ

.
แบ่งอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้เงินเป็นแรงจูงใจหากแก้ปัญหาสำเร็จ  ส่วนอีกกลุ่มไม่ให้อะไร

.

กรณี A : กลุ่มแรกที่สัญญาว่าจะให้เงินหากสำเร็จ เสร็จ "ช้ากว่า" กลุ่มที่ไม่ได้อะไร 3 นาทีครึ่ง
กรณี B : กลุ่มแรก กลับเสร็จ "เร็วกว่า" อีกกลุ่มหนึ่ง

แปลว่าอะไร ??  ( Hint - กรณี A ต่างจาก B อย่างไร)

ภาพจาก TED talk: Dan Pink on the surprising science of motivation

ในวีดีโอ Dan Pink กล่าวสรุปจากการทดลองดังนี้

กรณี A: เป็นปัญหาที่ต้องการคิดนอกกรอบ กล่าวคือ ผู้ที่แก้ปัญหาได้ ต้องมองกล่องซึ่งทำหน้าที่ใส่เข็มหมุด ว่าสามารถทำหน้าที่เป็นเชิงเทียนได้ด้วย..หากยึดติดกับความคุ้นเคยเดิม (Functional fixedness) จะแก้ไม่ได้
กรณี B : เมื่อทำให้กล่องว่างๆ เสีย ไม่มีกับดักให้ติดยึด
ปรากฎว่า การให้รางวัลเป็นเงินล่อ แย่ในกรณี A  แต่ดีในกรณี B
..
หากแบ่ง แรงจูงใจเป็นสามระดับ
ระดับ 1: ความต้องการพื้นฐานทางกาย  คือไม่หิว ไม่เจ็บ
ระดับ 2: ความต้องการสูงขึ้น คือ  เงิน คะแนน รางวัล
ระดับ 3:  มีสามประการ คือ 
 - ตนเองมีสิทธิเลือก                          : Autonomy
 - พัฒนาทักษะในสิ่งที่ตนถนัด             : Mastery 
 - ทำสิ่งที่มีความหมายต่อผู้อื่น/สังคม     : Purpose.

เราต่างมีแรงจูงใจระดับ 1 เพื่อความอยู่รอด

  • ในกรณีปัญหา มีวิธีแก้ชัดเจน เหมือน กรณี B : เช่น ให้ถึงมาตรฐานอุตสาหกรรม, ให้ถึงมาตรฐานเวชปฎิบัติ 
    แรงจูงใจในระดับ 2 ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพ
  • ปัญหาที่ซับซ้อน เหมือน กรณี A : เช่น การคิดนวัตกรรม 
    แรงจูงใจระดับ 2 กลับทำให้คน "ติดแน่น" กับวิธีแก้ปัญหาเดิม ซ้ำร้ายการให้ "Overdose" อาจทำให้ "ดื้อยา" หรือ "เสพติด" ได้
    จำเป็นต้องมี แรงจูงใจระดับ 3
    ...
    หากมองทางการแพทย์ : บุคลากร / ผู้ป่วย
    หากมองทางการศึกษา :  อาจารย์ / นักศึกษา
    มีสิทธิเลือกจัดการเวลา, มีโอกาสฝึกฝนพัฒนาในสิ่งที่ตนถนัด
    และ ได้ทำสิ่งที่มีความหมายต่อผู้อื่น ต่อสังคม  เพียงไร?
    ...
    สมัยโบราณ
    มนุษย์ปฎิบัติตาม "เจ้าลัทธิ" เพราะความกลัว
    มีการสังเวย กราบไหว้ฝนฟ้า
    มนุษย์มีไฟฟ้าได้ เพราะใช้วิจารณญาณ
    .
    หากการแพทย์ให้ผู้ป่วยปฎิบัติตาม เพราะความกลัว
    (ถ้าไม่ทำตามนี้ จะเป็น.../ ไม่ต้องมารักษากับฉันอีก..)
    นั่นหมายความว่าอย่างไร

###

ตอนต่อไป จะขอโยงถึงหัวข้อที่ฟังบรรยายวันนี้ค่ะ  Mindful based stress reduction -- วิถีตะวันออกที่ใส่รสตะวันตก

หมายเลขบันทึก: 470792เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2011 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การเรียนรู้เรื่อง "แรงจูงใจ" ใช้ในกระบวนการสอนนักศึกษาครูได้เป็นอย่างดีเลยครับ คุณหมอบางเวลา ;)...

ขอบคุณครับ

*น่าสนใจมากค่ะ...แรงจูงใจดึงความฉลาดภายใน..ที่ช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จอันพึงประสงค์ให้เร็วขึ้น

*นึกย้อนประสบการณ์ในชีวิตของตนเอง เป้าหมายในแต่ละช่วงที่..ต่างระดับ..ต่างวัตถุประสงค์..ได้แรงจูงใจที่ผลักดันความคิดและความเพียรให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในหลายรูปแบบ..ด้วยวิธีนอกกรอบ ที่แลกด้วยต้นทุนชีวิตหลายอย่าง..(ขอสงวนไม่เล่าในที่นี้ เพราะจะกลายเป็น "ตนข่มผู้อื่น" ที่ติดกรอบเดิมๆ)

 

ขอบคุณค่ะอาจารย์ 
ตัวอย่างใกล้ๆ ตัวเรา ของแรงจูงใจระดับ 3 
คงเป็นบล็อกดีๆ (รวมทั้ง 1000+ บทความของอาจารย์)  
ใน gotoknow นี้เองค่ะ

"ด้วยวิธีนอกกรอบ ที่แลกด้วยต้นทุนชีวิตหลายอย่าง"

ฟังประโยคนี้แล้ว รู้สึกอยากฟังประสบการณ์พี่ใหญ่ด้วยใจจริงค่ะ
ชื่นชมพี่ใหญ่ที่ละเอียดอ่อนเข้าใจความอ่อนไหวของผู้อื่น..
โดยส่วนตัว เชื่อว่า วิธีคิด วิธีดำเนินชีวิต ของผู้ประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่งค่ะ

อาจารย์หมอ...ผู้ทรงอิทธิพลครับ...

น่าสนใจในบันทึก...ใช้แรงจูงใจ ดึงความฉลาดภายใน

ความฉลาด ที่มีทั้งด้านบวกและลบ

...............

คุณหมอให้เงินจูงใจ...กับคนไข้โรคเรื้อนและวัณโรค...ในการกินยาประจำเดือนและกลับมารักษาตามนัด...คนไข้ก็มาตามนัด...แต่เมื่อครบตามกำหนดโรค...กลับไม่หาย...เพราะคนไข้ยังอยากรักษาสถานภาพการเจ็บป่วยไว้เพื่อได้เงิน...

...............

คุณตาอายุ 60 ปี ต้น ๆ ได้เงินเบี้ยผู้สูงอายุแล้วเดือนละ 500 บาท มาขอคุณหมอรับรองความเป็นพิการด้านหูไม่ได้ยิน...ผ่านไป 1 ปี พร้อมกับได้เงินเบี้ยผู้พิการอีก 500 บาท เป็น 1,000 บาทต่อเดือน...มาขอคุณหมอให้ยกเลิกความพิการ...เพราะไปทำใบขับขี่แล้ว จนท.ไม่ทำให้...และอาชีพของคุณตา คือ ขัยรถยนต์รับส่งนักเรียนในหมู่บ้านมาอำเภอ

..............

เพื่อนผมที่กรุงเทพฯ รับราชการ...รู้สึกว่า ตนเองถูกทอดทิ้ง เพราะไม่เคยได้รับถุงยังชีพน้ำท่วม เหมือนเพื่อนบ้านท่านอื่น ๆ

..............

คงเกี่ยวบ้าง..ไม่เกี่ยวบ้าง...แต่หาเรื่องมาเล่าให้อาจารย์หมอฟัง

ก็ยังดีนะครับ

ท่านอาจารย์ ป. ครับชัดเจนที่สุด องค์ความรู้นี่เสริมความเชื่อตามกรอบแนวคิดของผมให้ดียิ่งขึ้น ขอบพระคุณมากนะครับ

เรื่องเล่าของคุณหมออดิเรก มีคุณค่าต่อบันทึกนี้มากค่ะ
ช่วยให้เห็นภาพเป็นรูปธรรม
ของ
"ความฉลาด ที่มีทั้งด้านบวกและลบ"
ขออนุญาต สะท้อนจากเรื่องดังนี้ค่ะ

เรื่องแรก ขอตั้งชื่อว่า "จ้างให้มารักษา"... สะท้อนถึงดาบสองคมการใช้เงินเป็นแรงจูงใจ เพื่อให้เข้าร่วมกิจกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ

เรื่องที่สอง ขอตั้งชื่อว่า "จ้างก็ไม่พิการ"..อาจเพราะเงินอุดหนุนความพิการน้อยจนไม่พอสำหรับการยังชีวิต โดยปราศจากการทำอาชีพก็เป็นได้ 

เรื่องที่สาม ไม่รู้จะตั้งชื่อว่าอย่างไร แต่ได้ข้อคิดลึกๆ เลยค่ะ

ยินดีที่ได้เติบโตทางความคิด จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และท่านอื่นๆ ในนี้เสมอค่ะ :-)

เห็นการไล่ตามหลักการที่ดีเยี่ยม หากเราสามารถทำได้ก็จะเป็นดั่ง ดร.และเสธฯ ทั้งหลายเลยล่ะ ชอบจังมันเป็นเรียงลำดับกันดีครับ ต้องนำมาใช้จะเกิดประสิทธิผลที่ดีเยี่ยมครับ

ขอยกตัวอย่าง เรื่องการทำงานที่มีความหมาย "purpose" : ในการสำรวจแพทย์อายุรกรรมประจำ Mayo clinic จำนวน 465 คน พบว่าแพทย์ที่ทำงานซึ่งตนเห็นว่า"มีความหมาย" น้อยกว่า 20% ของชั่วโมงงาน หรือ 1 ใน 5 วันทำงาน จะพบภาวะเหนื่อยล้าหมดแรง (Burnout) มากขึ้นสองเท่า...

งานที่แพทย์ในการศึกษานี้ เห็นว่า "มีความหมาย" ได้แก่

1. 68% ตอบ การดูแลผู้ป่วย

2. 19% ตอบ การทำวิจัย

3. 9% ตอบ การเรียนการสอน

4. 3% ตอบ การบริหาร

ที่มา Shanafelt et al. Arch Intern Med. 2009;169(10):990-995

 

สวัสดีวันรัฐธรรมนูญค่ะคุณเพชร

หลักการนี้เกิดจากการสังเกตซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ในยุคสี่สิบกว่าปีก่อนเป็นสังคมอุตสาหกรรม
คนจึงไม่ใส่ใจนัก เพราะแรงจูงใจระดับสอง ยังใช้การได้ดีอยู่
ทว่าปัจจุบัน หากอยากเป็น ดร. หรือ เสธ. ก็น่าลองค้นหาแรงจูงใจระดับสามนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท