แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ครู.....ช่วยคิดหน่อย



{ครู.....ช่วยคิดหน่อย}

A ; ครูช่วยคิดหน่อย
B ; what …. อะไร
A ; การบ้าน...ให้ออกแบบสวนถาด
B ; Concept คืออะไร ... (ลืมตัวไป เด็กที่ถามเป็นประถม)
A ; (เด็กทำหน้างงๆ ) ... ก็สวนถาดหน่ะครู ... เข้าใจไหมเนี่ย
B ; เออ...ขอโทษ...เขาบอกว่าในสวนควรมีอะไรบ้าง แล้วออกแบบได้มากน้อยแค่ไหน
A ; แล้วแต่ใครจะคิดได้อิสระเลยค่ะ
B ; ถ้าอย่างนั้น ... ในสวนควรมีอะไรบ้าง (ย้อนถามให้เด็กคิดสักนิด อยากให้เขาคิดกันเอง ไม่ใช่ไอเดียจากเรา)
A ; ถ้านู๋คิดได้คงไม่ถามครูหรอก ... (ทำหน้าแบบ ... ครูถามอะไรเนี่ย)
B ; เอ๊า....ก็ครูช่วยคิดแล้วนะเนี่ย ... ครูถามความคิดเธอนะว่า ... ในความคิดของเธอ...สวนของเธอน่าจะมีอะไรในนั้น ..... อย่างเช่น มันน่าจะมีสระ มีต้นไม้ใหญ่ เล็ก มากน้อยแค่ไหน ต้นไม้อะไรบ้าง จัดวางอย่างไร ... อะไรพวกนี้หน่ะ
A ; ครูนี่ไม่ได้เรื่อง ... คิดไม่เป็น ... เสียเวลาถาม
B ; แป่ววววววววว...มึนเลย ... อะไรฝ่ะ ... เด็กสมัยนี้มันย้อนซะเราหน้าหงาย ... เออ ... คิดไม่เป็นจริงฝ่ะ คิดไม่เป็นที่จะป้อนคำถามอย่างไรให้เขาคิดได้เอง ... ฮาาา

วันหนึ่งก่อนเข้าเรียนชมรมนาฏศิลป์ เด็กชั้นประถมก็สุมหัวนั่งวาดรูปกันหน้าห้องชมรม ฉันก็เดินเข้าไปถามว่า "ทำอะไรกัน" ก็มีการยิงคำถามปะทะคารมกันดังบทสนทนาข้างต้น

ฉันไม่รู้หรอกนะว่า การให้คำสั่งที่พร้อมให้เด็กแลกเปลี่ยนให้หายข้อสงสัยในห้องเรียนก่อนให้เด็กทำการบ้านมีมากน้อยขนาดไหน เพราะเด็กคนที่ถามเป็นคนช่างซักช่างเถียงมากที่สุดในชมรมฯ ซึ่งบางครั้งฉันก็รำคาญกับการช่างพูด ช่างกล้าเสนอไอเดียการคิดท่าทางการแสดงมากมายของเขา แต่ฉันได้บอกเด็กตั้งแต่ชั่วโมงแรกแล้วว่า เรามาแลกเปลี่ยนความคิดกัน ท่าทางไหนเธอเคลื่อนไหวไม่ได้ยากเกินไปบอกครู ท่าทางไหนเธออยากร่วมนำเสนอบอกครู เรามาร่วมกันคิด เพราะจุดประสงค์ครูอยากให้เธอได้สนุกในชั่วโมงชมรมฯ เพราะพวกเธอคร่ำเคร่งกับการเรียนมาทั้งวัน เรามาเล่นกันในชั่วโมงชมรมฯ

ซึ่งก็ได้ผล เพราะคนที่ดูเหมือนไม่กล้าพูด เริ่มพูด เริ่มเข้ามาคุยกับฉันในชั่วโมงถัดมา แต่นั่นแหล่ะบางครั้งท่าทางที่นำมาให้พวกเขานั้น

“ยากจังครู นู๋ไม่เอาได้ไหม" ... เอาหล่ะซิ หยั่งไงดี ...

“หยั่งงี้แล้วกัน เรามาเล่นกับท่าทางนี้กัน ... ทำตามครูแบบเล่นๆ นะ"

แล้วฉันก็นำพวกเขาเคลื่อนไหวปนเล่นโดยเคลื่อนไหวกระจัดกระจายทั่วห้อง บรรยากาศก็เริ่มผ่อนคลาย เริ่มสนุกกับท่าทาง คนที่ก่อนหน้านี้ทำท่าทางนี้ไม่ได้ ก็เริ่มทำได้ เพราะฉันบอกว่า "เรามาเล่นกับท่าทางนี้กัน" แล้วฉันก็สำทับให้เขาเกิดความมั่นใจว่า

“ใช่ ท่านี้แหล่ะ จำการเคลื่อนไหวกายไว้นะ แล้วนำมารำกัน"

มันเป็นเช่นนี้ตลอดเทอมที่ผ่านมา คือ "เรามาเล่นกัน"

ซึ่งนั่นทำให้เด็กๆ กล้าที่จะพูดแสดงความคิดเห็นกับฉัน เพราะฉันเดินเข้าหาพวกเขา ย้อนกลับไปยังวัยเขาว่า ถ้าจะให้ทำท่าทางอย่างที่เราต้องการให้ได้ วัยพวกเขาจะทำอย่างไร

ส่งผลถึงการเจอะเจอพวกเขานอกเวลาชมรมฯ เสียงเจี๊ยวจ๊าวทักทายตั้งแต่ขับรถเครื่องเข้ามาโรงเรียน และนั่นทำให้เขากล้าเดินเข้ามาคุย เข้ามาถามความคิดเห็นของฉันนอกเหนือจากงานสอนชมรมฯ รวมทั้งบางครั้งพวกเขาก็เข้ามาเล่าเรื่องส่วนตัว เพราะพวกเขาหวังเพียงมีใครสักคนที่เป็นผู้ใหญ่ ที่ฟังเขาอย่างไม่กล่าวโทษ อีกอย่างฉันคิดว่า ในสายตาพวกเขา ฉันคือครูพิเศษ ไม่ใช่ครูประจำ เขาจึงผ่อนคลาย กล้าที่จะเดินเข้ามาหาฉันเช่นกัน ที่สำคัญที่ท่องไว้ประจำใจฉันคือ "ฟังเด็กนะ เป็นเพื่อนเขานะ เพราะเราเป็นครูพิเศษ สามารถเล่นบทบาทนี้ได้"

แต่บางครั้งก็เหลืออดจริงๆ ให้ชักดิ้นแหง่ก แหง่ก เลยเอ๊า ... ครูอยากจ๊ากกกกกกกกกกก


นฤมล จันทรศรี
๗ ธันวาคม ๒๕๕๔

..........

หมายเลขบันทึก: 470641เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2011 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท