หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และการนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน


หลักคุณธรรม 4 ประการ คือ เมตตา การมีความรัก ความปรารถนาดี มุ่งหวังที่จะทำให้ผู้เรียนหรือศิษย์ มีความสุข เป็น ความรักที่บริสุทธิ์เพราะมุ่งหวังแต่ความสุขให้กับศิษย์โดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูจึงจะเป็นที่รักของศิษย์และประชาชนทั่วไป โดยเกิดจากความเมตตาที่ ครูมีให้กับลูกศิษย์ ความเมตตาของผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นสิ่งแสดงให้ เห็นถึง ความมีคุณธรรมทางจิตใจสูงเพราะแสดงให้เห็นถึงความเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อ ความสุขของนักเรียนและประชาชนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การแสดงความเมตตาต่อศิษย์โดยทั่วไปทุกคน กรุณา มีความสงสาร ต้องการช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ความยากลำบากที่เกิดขึ้น เมื่อเห็นผู้ประสบเหตุเดือดร้อน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูย่อมต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะปลอดภัย เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีและต้องการให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจโดยไม่เห็นแก่ ความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่าย ด้วยคุณธรรมข้อนี้ทำให้เห็นได้ว่า เมื่อลูกศิษย์เดือดร้อนประสบ ความทุกข์ยากลำบากผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูก็จะเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มุทิตา การมีความยินดีกับผู้อื่น เมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุขสมหวัง หรือประสบ ความสำเร็จในด้านต่างๆ ผู้เป็นครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความยินดีให้อย่างจริงใจ รู้สึกเบิกบาน พลอยมีความสุขกับเขาไปด้วย เพราะมีความปรารถนาอยากเห็นทุกคนมีความสุขอยู่แล้ว จึงพลอย ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เสมือนเป็นความสุขของตนเอง ไม่ไปอิจฉาริษยา ในความสุขความสำเร็จของผู้อื่น แม้แต่น้อย ยิ่งถ้าเห็นผู้อื่นมีความสุขมากเท่าใด เราก็จะมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น และ อุเบกขา การวางตัวเป็นกลาง มีความหนักแน่น กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ครู

หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และการนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน

หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของครู คณาจารย์ ในการที่จะนำไปเป็นแนวทางใน

การนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในการที่จะนำไปใช้เพื่อเป็นแบบอย่างในการเป็นแม่แบบถ่ายทอดในการปฏิบัติตัว เป็นอย่างดีต่อผู้ที่ได้พบเห็น ตั้งแต่ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านรวมถึงประชาชนในสังคม โดยเฉพาะลูกศิษย์ ที่ครูได้พร่ำสอนอยู่ทุกวัน ที่พวกเขายังเป็นเหมือนผ้าสีขาวบริสุทธิ์ที่จะสามารถแต่งเติมสีสันในทางที่ดีให้เขาได้เรียนรู้  โดยกลุ่มคนเหล่านี้ก็พร้อมที่จะรับการเรียนรู้ หรือการมองหาแนวทางแม่แบบในการที่จะเจริญรอยตามได้อย่างดี โดยหลักทางการครองชีวิตโดยพุทธธรรมนั้น มีทั้งหลักการครองตน หลักการครองเรือน หลักการครองงาน ให้มีความสุข โดยหลักธรรมที่มีประโยชน์มากในการนำมาปฏิบัตินี้ ได้ยกตัวอย่างหลักธรรมที่มีคุณประโยชน์ต่อการเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีของครู ที่จะช่วยส่งเสริมการ ครองตน ครองเรือน ครองงาน ในชีวิตประจำวันได้ ของครูนั้น มีหลักธรรมอยู่อย่างมากมาย ในที่นี้จะขอยกหลักธรรม ดังนี้ หลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา  อุเบกขา และหลัก พละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา นำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ในการสอนให้ความรู้ต่อนักเรียนสร้างสุขต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประชาชน ตาม แนวทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสันติสุขโดยใช้หลักพุทธธรรมเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาแก่สังคมได้ ในปัจจุบันยังสามารถนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนามนุษย์และ สังคมให้เจริญยิ่งขึ้น หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในทุกๆ ด้าน เช่น

         หลักพรหมวิหาร 4

ผู้เขียนขอนำเสนอหลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ปฏิบัติหน้าที่ ให้เกิดความถูกต้อง ดังนี้

ใน พระไตรปิฏก (ที.ม.ไทย) ได้ให้ความหมายของหลักพรหมวิหาร 4    คือหลักธรรมของ พรหม อันหมายถึง ธรรมสำหรับพระพรหมเป็นที่อยู่ของจิตใจ มี 4 ข้อ พรหมวิหารธรรม เป็น หลักธรรมสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่การงาน ทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะพรหม วิหารนี้เป็นธรรมสำหรับพรหมหรือผู้ประเสริฐ ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ถือว่าพระ พรหมเป็นผู้สร้างโลกเป็นเทพเจ้าผู้บันดาลสิ่งทั้งหลาย พระพรหมจึงเป็นผู้ประเสริฐ แต่ในทาง พระพุทธศาสนาถือว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และอภิบาลโลกด้วยการประพฤติปฏิบัติ ตนตามหลักพรหมวิหารธรรมก็ชื่อว่าเป็นพรหมได้

ความหมายของพรหมวิหาร 4 พฺรหฺมวิหาร 4 มาจาก พฺรหฺม + วิหาร พฺรหฺมวิหาร

แปลว่า พฺรหฺม ว อุปสัคค์ หฺร ธาตุ ในความหมาย หรณ = เป็นอยู่   วิหาโร มีอรรถวิเคราะห์ วิหรติ เตนาติ วิหาโร (ชโน) แปลว่า ชนย่อมอยู่ด้วยธรรมนั้น เหตุนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องอยู่แห่งชน (ณ ปัจจัยในกิตกิจจปัจจัย ปัจจัยแห่งนาม กตต์ เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ) พฺรหฺม + วิหาโร = พฺรหฺม วิหาโร เป็นศัพท์สมาส เมื่อนำสองศัพท์มารวมกัน ตามหลักทางภาษา พรหมวิหาร จึงหมายถึง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม หรือธรรมประจำใจของพรหมในศาสนาพรหมณ์ เชื่อว่า พรหมเป็น เทพเจ้าสูงสุดที่สร้างโลก และอภิบาลโลก แต่ทัศนะของพระพุทธศาสนา ถือว่า “มนุษย์ทุกคนมีส่วน

รับผิดชอบในการสร้างสรรค์ และอภิบาลสังคมด้วยเหตุนี้ ทุกคนจึงพึงทำตัวให้เป็นพรหม หรือมี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที.ม. (ไทย) 10/184/225.

หลวงเทพดรุณานุศิษฏ (ทว ธรรมธัช ป.9), ธาตุปฺปทีปิกา, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2534), หน้า 429.


คุณธรรมความเป็นพรหม และปฏิบัติในลักษณะนี้ เป็นการสร้างสรรค์ตน ด้วยหลักพรหมวิหาร และ นำมาใช้กับมนุษย์ในฐานะที่มนุษย์สามารถสร้างสรรค์และอภิบาลโลกได้ด้วยมนุษย์เอง”     

พรหมวิหาร ในอรรถกถามูลปริยายสูตร มูลปัณณาสก ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ พรหม

วิหารว่า เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษเหล่านั้น จึงชื่อว่าพรหม อีกอย่างหนึ่งท้าวมหาพรหมก็ดี พระตถาคต ก็ดี พราหมณ์ก็ดี มารดาบิดาก็ดี สิ่งที่ประเสริฐก็ดี ท่านก็เรียกว่า พรหม

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพรหมวิหารว่า พรหมวิหารธรรม “...เป็นธรรมเครื่องอยู่อาศัยที่ประเสริฐ และไม่มีโทษ”   

ในคัมภีร์มหาอภิธัมมัตถสังคหฏีกา ได้กล่าวไว้ว่า เทวดาทั้งหลายที่มีความเจริญด้วยคุณ พิเศษ มีฌาน เป็นต้น อันเป็นสิ่งที่ประณีตมาก ฉะนั้น เทวดาเหล่านั้น ชื่อว่าพรหม

พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา  มุทิตา อุเบกขา   พรหมวิหาร คือ ธรรมเครื่องอยู่อย่าง ประเสริฐ         เป็นธรรมประจำใจ เป็นหลักความประพฤติที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความ ประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อเพื่อนมนุษย์โดยชอบ

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต)    ได้กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ดังนี้ เมตตา คือความรัก

ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า กรุณา คือความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวง สัตว์ มุทิตา คือความยินดี  ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ด้วยอาการแช่มชื่น เบิกบานอยู่เสมอต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงาม ยิ่งขึ้น อุเบกขา คือความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ

มีจิตเรียบตรง เที่ยงธรรมดุจดังตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลาย

 

 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช,สารานุกรม พระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2529), หน้า 321.

ส.ม. (ไทย) 31/655/434.

วิ.มหา. (ไทย) 2/788/647.

พระสัทธรรมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถ โชติกะ, มหาอภิธมมัตถสังคหกฏิกา, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2540), หน้า 106.

องฺ. ปญฺจก. (บาล) 22/192/252.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม,  พิมพ์ครั้งที่ 11, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จากัด, 2545 ), หน้า 124.

 

 

 

กระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติ ไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดี แล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำจำกัดความคำว่า พรหมวิหาร                                                                                         ๑๐ วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ  คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความ ประเสริฐ หรือ เอาใจไปขังไว้ในความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ตตา แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าหวังผลตอบแทนจะเป็นเมตตาที่เจือด้วยกิเลส ไม่ตรงต่อเมตตา ในพรหมวิหารนี้ ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ว่าเราจะเมตตา สงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะไม่สร้างความลำบากให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ความทุกข์ที่ เขามี เราก็มีเสมอเขา ความสุขที่เขามี เราก็สบายใจไปกับเขา รักผู้อื่นเสมอด้วยรักตนเอง

ุณา แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความ

สงสารปรานีนี้ก็ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกัน สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์  ลักษณะของกรุณา  การสงเคราะห์ทั้งทางด้านวัตถุ  โดย ธรรม  ว่าผู้ที่จะสงเคราะห์นั้นขัดข้องทางใด หรือถ้าหาให้ไม่ได้ก็ชี้ช่องบอกทาง

มุทิตา แปลว่า มีจิตใจอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน  มีอารมณ์

สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา  คิดอยู่เสมอว่าถ้าคนทั้งโลกมีความโชคดีด้วยทรัพย์ มีปัญญาเฉลียวฉลาด เหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข สงบ  ปราศจากอันตรายทั้งปวง คิดยินดี  โดย อารมณ์พลอยยินดีนี้ไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน การแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร 4 คือ ไม่ หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

ุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ  มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบ ความวาง

เฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึง เฉยโดยธรรม  คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

 

 

 

 

 

 

๑๐  ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพมหานคร :

2542), หน้า 1 - 2.

 

 

 

กล่าวโดยสรุป ผู้เขียนเห็นว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นครู อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักคุณธรรม 4 ประการ คือ  เมตตา การมีความรัก ความปรารถนาดี มุ่งหวังที่จะทำให้ผู้เรียนหรือศิษย์ มีความสุข เป็น ความรักที่บริสุทธิ์เพราะมุ่งหวังแต่ความสุขให้กับศิษย์โดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูจึงจะเป็นที่รักของศิษย์และประชาชนทั่วไป โดยเกิดจากความเมตตาที่ ครูมีให้กับลูกศิษย์ ความเมตตาของผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นสิ่งแสดงให้ เห็นถึง ความมีคุณธรรมทางจิตใจสูงเพราะแสดงให้เห็นถึงความเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อ ความสุขของนักเรียนและประชาชนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การแสดงความเมตตาต่อศิษย์โดยทั่วไปทุกคน กรุณา มีความสงสาร ต้องการช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ความยากลำบากที่เกิดขึ้น เมื่อเห็นผู้ประสบเหตุเดือดร้อน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูย่อมต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะปลอดภัย  เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีและต้องการให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจโดยไม่เห็นแก่ ความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่าย ด้วยคุณธรรมข้อนี้ทำให้เห็นได้ว่า เมื่อลูกศิษย์เดือดร้อนประสบ ความทุกข์ยากลำบากผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูก็จะเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มุทิตา การมีความยินดีกับผู้อื่น เมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุขสมหวัง หรือประสบ ความสำเร็จในด้านต่างๆ ผู้เป็นครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความยินดีให้อย่างจริงใจ รู้สึกเบิกบาน พลอยมีความสุขกับเขาไปด้วย เพราะมีความปรารถนาอยากเห็นทุกคนมีความสุขอยู่แล้ว จึงพลอย ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เสมือนเป็นความสุขของตนเอง ไม่ไปอิจฉาริษยา ในความสุขความสำเร็จของผู้อื่น แม้แต่น้อย ยิ่งถ้าเห็นผู้อื่นมีความสุขมากเท่าใด เราก็จะมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น  และ อุเบกขา การวางตัวเป็นกลาง มีความหนักแน่น กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ครู

จะต้องมีความเป็นกลาง ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก ไม่เอนเอียง เพราะอำนาจชักจูงของกิเลสฝ่ายต่ำ

หมายเลขบันทึก: 470437เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2011 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท