(-: ความเหนื่อย & ความสุข :-)


แม้ว่าจะเหนื่อยจากภาระงานที่ดูเหมือนเยอะ แต่เมื่อเราได้ทำมันเต็มที่ และเต็มใจที่จะทำมัน เมื่อเวลาผ่านไป...สิ่งที่คิดว่า “เหนื่อย” มันก็ไม่เหลือให้เหนื่อยแล้ว ฉันนึกถึงคำคนโบราณ ที่กล่าวกันว่า "เหนื่อยไปก่อน แล้วจะสบายเมื่อภายหลัง" และบอกตนเองว่า "อดทนไว้นะ...พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว"

ชีวิตช่วงนี้เหมือนกับมีภาระงานเยอะ แต่ก็มีความสุขที่ได้ทำมัน   
คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ
1) เพราะอะไรถึงเหนื่อย?    และ 
2)เพราะอะไร ถึงมีความสุข?

 1) เหนื่อยเพราะ "ภาระงานเยอะ"   
ก็เดือนนี้  ต้องเตรียมงานนำเสนอโครงร่าง Thesis  และ ต้องเตรียมสอน   อีกทั้งยังต้อง เรียนอีก 2 วิชา (Online : ThaiCyber U) ในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นิง  และ งานในเดือนนี้ อาจารย์ค่อยข้างให้เยอะจริงๆ. (ความรู้สึกนี้ คงเหมือนกับลูกศิษย์ที่เรากำลังสอนอยู่)

>>> 2) มีความสุข "ก็เพราะรู้สึกดีๆ"    แม้ว่าจะเหนื่อยจากภาระงานที่ดูเหมือนเยอะ  แต่เมื่อเราได้ทำมันเต็มที่ และเต็มใจที่จะทำมัน  เมื่อเวลาผ่านไป...สิ่งที่คิดว่า “เหนื่อย” มันก็ไม่เหลือให้เหนื่อยแล้ว   ฉันนึกถึงคำคนโบราณ ที่กล่าวกันว่า  "เหนื่อยไปก่อน แล้วจะสบายเมื่อภายหลัง"  และบอกตนเองว่า "อดทนไว้นะมนต์”  "พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว"คำนี้จำมากจากพี่โกมล เพื่อนร่วมงานที่สถาบันการพลศึกษา.  

สุดท้าย เมื่อฉันทำมันได้ ทำมันเสร็จด้วยความเต็มใจ  และได้เห็นผลงานที่ฉันตั้งใจทำ  ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรอาจพอใจแก่บางคน หรือไม่พอใจสำหรับคนบางคน  ซึึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้.   แต่สิ่งที่ฉันได้ คือ ฉันเต็มที่กับมัน ฉันพอใจแค่ฉันได้เรียนรู้  ได้เรียนรู้ว่า ฉันได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นได้เห็นคุณค่าในสิ่งที่ฉันทำ.

และ ที่ขาดไม่ได้ที่ทำให้รู้สึกดีๆ  ในช่วงนี้ ก็คือ โอกาสดีๆ ที่ฉันได้มาสอนนิสิตสาขาคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 2 และ ความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับรู้ว่า ลูกศิษย์ก็รู้สึกดีๆ ที่ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับฉัน.  เมื่อรู้สึกว่า เขามีความสุข เราก็รู้สึกมีความสุขด้วย.  และ ก็รู้ว่า ลูกศิษย์ของฉัน ก็เหนื่อย ไม่แตกต่างจากฉัน  เพราะ ภาระงานด้านการเรียน ป.ตรี ที่หลากหลายวิชา ทั้งแบบอยากเรียนและไม่อยากเรียน  แต่ก็ต้องเรียน.  เพราะมัน คือ หน้าที่ ที่ต้องเรียนรู้. 

ฉันบอกลูกศิษย์เสมอว่า 
"ที่แท้แล้วครู..ก็เป็นผู้ที่เรียนรู้คนหนึ่ง ที่พร้อมจะเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับพวกเขา   ครูไม่ได้รู้ทุกสิ่ง  และบางสิ่งนิสิตอาจรู้มากกว่าครู ... แต่ในวันนี้ ฉันต้องมาทำหน้าที่ครูของพวกเขา  บทบาทของฉันในวันนี้ จึงเป็นเสมือนผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนที่มากกว่านิสิต ที่สามารถแนะนำและให้คำปรึกษาเขาได้. อันที่จริงแล้วมันก็เป็นแค่ "บทบาทสมมติ"  ที่ต้องใช้เพื่อเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง  ครูก็เรียนรู้บทบาทครู –นิสิตก็เรียนรู้บทบาทนิสิต  หากเราสามารถทำตามบทบาทและหน้าที่ของตนได้บริบูรณ์  มันก็เป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว.

ฉันจึงได้เรียนรู้ว่า “การเรียนรู้ที่ดี” ก็คือ “การทำหน้าที่ที่ถูกต้อง”  และก็ เป็น “การปฏิบัติธรรม”  และ นี่คือ “ชีวิตที่สมบูรณ์”  อันเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษามิใช่หรือ.  

ดังนั้น การเรียนรู้จึงไม่ใช่การรู้แต่เนื้อหาความรู้ หรือวิธีการ  แต่ควรนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ที่มีความถูกต้อง มีความงดงามอยู่ในตัวของมัน  และสามารถที่จะอยู่ร่วมกันผู้อื่นได้ ที่ต้องอาศัยการเปิดใจและมีความเคารพซึ่งกันและกัน. แต่สุดท้ายนั่น ทุกคนจะต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งที่จะยืนหยัดด้วยตนเอง พึ่งตนเองได้ ร่วมถึงการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้.

http://patumariya.multiply.com/journal/item/170

หมายเลขบันทึก: 470009เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2011 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท