วิทยุชุมชนคนเมืองปาย...สื่อสารธารณะเพื่อชุมชุมชน
ภายในอาคารเก่า ๆ หน้าศาลาการเปรียญวัดหลวง ต.เวียงใต้ อ.ปาย ที่บัดนี้มีการต่อเติมแบบง่าย ๆ ด้วยวัสดุที่พอหาได้และจากการบริจาคจนกลายเป็นที่ทำการ “สถานีวิทยุชุมชนคนเมืองปาย” ที่มีห้องกระจายเสียง ให้ ดีเจ ที่มีทั้งเด็กจนถึงผู้สูงวัย ได้มาจัดรายการในแบบของตนเอง แต่เน้นสาระที่เป็นประโยชน์กับคนเมืองปายเป็นหลัก และยังหวังให้เป็นแหล่งข้อมูลของประชาชนในการติดต่อสื่อสารกัน
วิทยุชุมชนคนเมืองปาย ออกอากาศทุกวัน จันทร์-ศุกร์ มีดีเจ 7 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาจัดรายการตามผังรายการที่ได้ตกลงกันไว้ ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ยกให้เป็นเวทีเด็ก มีทีมดีเจเด็กที่จากแค่เคยติดตามมาดู เมื่อผู้ใหญ่เปิดโอกาส ให้ได้ลองคิดลองทำในที่สุดก็สามารถทำได้และยังชักชวนเพื่อน ๆ มาช่วยกันจัด ตอนนี้มี 6-7 คนที่มีแววและมาทำต่อเนื่อง
“คนที่จะมาเป็นดีเจ เราจะถามก่อนเลยว่าอยากจะมาจัดจริงหรือเปล่า ไม่มีค่าตอบแทนนะ ห้ามอิงผลประโยชน์ใด ๆ ข่าวหรือข้อมูลที่นำเสนอต้องเชื่อถือได้ ต้องรับผิดชอบคำพูดตัวเอง และต้องพูดสุภาพ” อ.เกรียงศักดิ์ คำหอม เจ้าของรายการ “นานาสาระ สุภาษิตล้านนา” ยืนยัน วิทยุชุมชนคนเมืองปายเปิดกว้างสำหรับใครก็ได้ที่อยากจะมาจัดรายการแต่ต้องมาด้วยความสมัครใจและมีใจเสียสละไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ซึ่งโดยการทำงานที่ก่อนถึงช่วงของตนเองก็จะมานั่งรอกันเป็นชั่วโมงเพื่อนั่งคุยแลกเปลี่ยนสอบถามกันในเรื่องราวต่าง ๆ รวมทั้งเทคนิคการใช้เครื่องมือ ซึ่งตอนนี้ดีเจทุกคนทำเองได้หมด ใครจัดรายการเช้าก็มาเปิดสถานี ใครจัดคนสุดท้ายก็ปิดให้เรียบร้อย
![]() |
![]() |
รายการที่จัดก็หลากหลายแยกตามกลุ่มคนทั้งวัย เพศ อายุ และยังมีรายการที่เน้นการสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นหลัก ส่วนข่าวสารดีเจแต่ละคนจะเขียนสคริปรายการของตนเองในแต่ละครั้งว่าจะมาพูดเรื่องอะไรบ้าง แต่หัวใจคือข่าวสารที่เสนอต้องเป็นจริง ข่าวลือ ข่าวโคมลอยที่ตรวจสอบไม่ได้จะไม่มีการนำมาพูด ส่วนข่าวแจ้งข่าวฝากประชาสัมพันธ์จากหน่วยราชการก็ยินดีออกอากาศให้
ลุงหนวด อาชีพขายโจ๊กเข้าเย็นใช้เวลาว่างช่วงกลางวัน มาจัดรายการ เป็นรายการเก็บข่าวมาเล่า โดยจะนั่งอ่านหนังสือพิมพ์แล้วหยิบข่าวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับชุมชนมาเล่า โดยจัดลำดับความสำคัญของข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเร่งด่วน
ดีเจลุงหนวดบอกว่า เวลาจัดรายการเรามีการคัดกรองข่าวสารเหมือนกันโดยหลักของเราคือจะไม่รับสายหน้าไมค์ ผู้ฟังที่โทรศัพท์เข้ามาบางคนโทรมาเพื่อจะว่าคนโน้นคนนี้เราก็ไม่นำมาพูดออกอากาศ และคนที่โทรศัพท์เข้าถือเป็นการตรวจสอบผู้ฟังได้ทางหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาปรับปรุงรายการได้ อีกทั้งยังทราบว่าผู้ฟังเป็นใคร อยู่ที่ไหน ซึ่งดีเจทุกคนก็จะมีข้อมูลของตัวเอง ข่าวที่จัดต้องมีการเน้นข่าวภายในชุมชนและต้องเชื่อถือได้
ดีเจอ๊อด หรือ ประพัฒน์ อินถา เจ้าของร้านปายมิวสิค และอู่ซ่อมรถ และยังเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ก็เอาความรู้จากงานอาชีพ มาจัดรายการให้ความรู้เรื่องการซ่อมรถ การดูแลรถ และการได้ออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่และต่างอำเภอเมื่อได้รับรู้เรื่องราวอะไรก็จะนำมาเล่าในรายการ เป็นการให้บริการแก่คนเมืองปาย
การจ้ดรายการของ ดีเจอีอต |
ตารางออกอากาศหน้าห้องส่ง |
อ.เกรียงศักดิ์ ยกตัวอย่าง ครั้งหนึ่งในการจัดรายการนานาสาระ สุภาษิตล้านนา เป็นรายการสืบสานภาษาท้องถิ่น ซึ่งคนสนใจมาก ครั้งหนึ่งตนได้หยิบยกคำว่า เกศตกป่า คือ การห้ามเอาเสาลงหลุม ตนพูดไปไม่ชัดหรือขาดส่วนสำคัญไปบางเรื่อง ก็มีผู้เฒ่าผู้แก่โทรมาเพิ่มเติมก็เป็นประโยชน์ และเราก็จดกันไว้
“เทคนิคการจัดรายการของดีเจแต่ละคนช่วยกระตุ้นความคิด มองเห็นปัญหาร่วมของคน การดำเนินงานของวิทยุชุมชนคนเมืองปายนี้เราต้องการให้เป็นสื่อทางเลือกของกลุ่มคนต่าง ๆ ในชุมชน และเราต้องการผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ อย่างน้อยทุกคนต้องรับผิดชอบคำพูดของตัวเอง ปรากฎการณ์ทางสังคมที่ภูมิใจคือ เวลาไปตลาดหรือไปที่ไหนก็จะมีคนพูดถึงรายการโน้น รายการนี้ อยากให้เป็นโน้น อย่างนี้ คุยกันในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เกิดกลุ่มย่อย ๆ อย่างนี้เยอะ และที่สำคัญเมื่อก่อนของตกหายก็หายไปเลย เดี๋ยวนี้ของหายใครเก็บได้ก็วิ่งมาให้วิทยุชุมชนประกาศ แจ้งกัน เจ้าของก็มารับขอบอกขอบใจ ได้ความสัมพันธ์ในชุมชน “วิทยุชุมชนคนเมืองปาย”เหมือนเป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะทางอากาศที่คนในชุมชนใช้เชื่อมประสานกัน เพราะบางทีผู้ฟังโทรมาขอเบอร์โทรศัพท์ว่าอยากติดต่อหน่วยงานราชการเรื่องนั้นเรื่องนี้ เราก็แนะนำไป”
ข้อกำหนดที่ยึดถือโดยเคร่งครัด ของ ดีเจทุกคน |
ดีเจลุงหนวด ว่างจากขายโจ๊กก็มาเล่าข่าว |
“ป้าแหลง” หรือ คุณอาภรณ์ แสงโชติ หัวเรือใหญ่ของการนำขบวนวิทยุชุมชนคนเมืองปาย บอกว่า เมื่อเป็นสื่อสาธารณะเราต้องหาแนวร่วม วิธีการคือ ในส่วนราชการใครย้ายมาเราก็เชิญมาออกรายการ ส่วนราชการมีข่าวสารอะไรก็มาฝากประชาสัมพันธ์
วิทยุชุมชนคนเมืองปายผ่านประสบการณ์มาเยอะ แต่ก็สามารถจัดการกันได้ แรก ๆ มีโครงสร้างทางการเลยใครตำแหน่งอะไรพอทำไปก็พบว่าเป็นโครงสร้างที่แข็งเกินไป จึงเปลี่ยนมาเป็นโครงสร้างจากกรรมการมาเป็นผู้ประสานงาน และให้ทุกเครือข่ายเข้ามาเป็นกรรมการ ของวิทยุชุมชนคนเมืองปายมี 5 เครือข่าย คือ กลุ่มสตรี เกษตร ผู้สูงอายุ ชนเผ่า และอิสลาม แล้วเครือข่ายเขาก็ดูแลจัดการกันเอง เกิดการแข่งขันแต่เป็นการแข่งกันโชว์ของดีของแต่ละเครือข่าย แต่ละเครือข่ายมีไม่น้อยกว่า 20 คน ตนก็เป็นประธานอยู่ข้างบน คอยดูว่าขาดเหลืออะไรก็เชื่อมมาช่วยกัน
“ เราต้องจะปล่อยให้เขาจัดการกันไปโดยไม่เข้าไปเลย แต่ฟังอยู่ที่บ้าน ถ้าติดขัดตรงไหนจึงจะเข้าไปช่วย “เราต้องปล่อยให้เขาคิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเองได้ เขาจึงจะโต”
ตู้ ปณ.รับทุกเรื่องที่ผู้ฝังอยากบอก .... เก็บมาปรับปรุง |
กว่าจะถึงคิวตัวเอง ก็ขอแลกเปลี่ยนกันก่อน |
สภาพที่เห็นและการได้พูดคุยกับเหล่าดีเจของวิทยุชุมชนคนเมืองปาย และเขาเหล่านั้นเป็ผู้บริหารจัดการสถานีไปโดยปริยายนั้น จะเห็นว่าการดำเนินการที่สอดคล้องไปกับ หัวใจของวิทยุชุมชนคนเมืองปาย ที่พวกเขาร่วมกันกำหนดขึ้น คือ
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">· คนในชุมชนเป็นผู้ผลิตและผู้ฟัง </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">· เข้าถึงง่าย กล่าวคือ เปิดง่าย ใช้ภาษาถิ่น ต้นทุนต่ำ สถานการณ์ใกล้บ้าน การผลิตเครื่องมือไม่ซับซ้อน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">· เป็นสมบัติสาธารณะทางอากาศ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">· ใช้ระบบอาสาสมัครในการดำเนินการ</p><p> · ไม่แสวงกำไร แต่สร้างต้นทุนทางสังคม คนในชุมชนร่วมกันจัดตั้งและร่วมกันเป็นเจ้าของคลื่นความถี่</p><p>จะเห็นว่าวิทยุชุมชนคนเมืองปาย มีเป้าหมายชัดเจนคือต้องการเป็นสื่อสาธารณะทางอากาศที่ชุมชนเป็นเจ้าของและจัดการเพื่อการรับรู้ข่าวสารและประโยชน์ของชุมชน ใช้การเรียนรู้ สร้างคนผ่านการทำจริงและร่วมคิดร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ “เราผ่านประสบการณ์มาเยอะ มีทั้งคนที่แอบมาใช้ประโยชน์ บางคนเข้ามาฝึกฝนเรียนรู้พอทำได้แล้วก็ไปตั้งสถานีวิทยุของตนเองแต่เป็นเชิงธุรกิจซึ่งผิดหลักการวิทยุชุมชน แต่เราก็เรียนรู้และค่อย ๆ ปรับและควบคุมกันได้” มีกลุ่มแกนนำที่มีภาวะผู้นำที่เอื้อต่อการสร้างคนสร้างการเรียนรู้ เช่น “ป้าแหลง”ซึ่งมักได้รับเชิญไปประชุมหรือดูงานในที่ต่าง ๆ ป้าแหลงก็มักนำตัวแทนของแต่ละเครือข่ายหมุนเวียนกันไปด้วยเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ แต่ทุกครั้งที่มีโอกาสก็จะเอาตัวแทนออกไปด้วยรวมทั้งกลุ่มเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มแกนของวิทยุชุมชนคนเมืองปายมองว่าเราต้องสร้างคนรุ่นใหม่เหล่านี้ขึ้นมาสืบต่อ ส่วนกลุ่มผู้จัดรายการซึ่งมีการจัดสรรแบ่งช่วงเวลาให้กับคนกลุ่มต่าง ๆ ในเมืองปาย รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ ให้สามารถมาใช้ประโยชน์ได้ และพวกเขาก็เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนทักษะและเทคนิคกันอย่างไม่เป็นทางการ “ป้าแหลง”เป็นคุณเอื้อที่คอยสนับสนุนเชื่อมโยงทั้งแหล่งทุนและความรู้เพื่อให้เกิดกิจกรรมและการดำเนินงานของวิทยุชุมชนอย่างต่อเนื่อง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">จากกระบวนการทำงานดังกล่าวทำให้วิทยุชุมชนคนเมืองปายกลายเป็นสมบัติสาธารณะทางอากาศที่คนเมืองปายรู้สึกเป็นเจ้าของ มีการพูดถึง ชี้แนะและเข้ามาสนับสนุน (บริจาค) เป็นศูนย์ข้อมูลเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของชุมชน และยังเป็นอะไรอีกหลากหลายที่คนเมืองปายจะใช้ประโยชน์ได้....อย่างสบายใจ. </p>