พุกาม..เมืองเเห่งทะเลเจดีย์


พุกามเมืองแหล่งวัฒนธรรมทางพุธศาสนาที่น่าเรียนรู้

สวัสดีผู้ที่ติดตาม Blog ทุกท่าน

ในวันที่ 26-28 พ.ย. นี้ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับเชิญจาก Mekong Sub-region Tourism ให้ไปร่วมงาน Travel Leader’ Symposium on Sustainable Tourism ที่จะจัดขึ้นที่พุกาม ประเทศพม่า จึงได้ศึกษาข้อมูลของประเทศพม่ามาฝากกันก่อนที่จะเดินทาง

 

เมื่อกล่าวถึงประเทศพม่าสถานที่ที่ทุกคนนึกถึงและต้องเดินทางไปคือพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ในเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวพุทธทั้งในประเทศพม่าและต่างประเทศ

ประเทศพม่าในปัจจุบันมีเมืองหลวงชื่อเนปีดอ ส่วนเมืองยางกุ้งเป็นนั้นเมืองใหญ่ที่สุด ชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศบังคลาเทศและอินเดีย ตะวันออกเฉียงเหนือติดจีนและทิเบต เหนือติดลาว ด้านใต้ติดประเทศไทยโดยมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้น ส่วนด้านตะวันตกติดทะเลอันดามันและมีชายหาดที่สวยงามอยู่มาก

การแบ่งเขตปกครองในประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 รัฐ 7 เขต สำหรับการเมืองในประเทศพม่านั้นเป็นทราบกันดีว่าปกครองโดยรัฐบาลทหารพม่า แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากที่เรียกร้องประชาธิปไตยกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลาหลายสิบปี โดยมีหญิงแกร่ง อองซาน ซูจี เป็นแกนนำ

ประชากรที่อาศัยในพม่ามี 67 เชื้อชาติ ภาษาหลักและภาษาถิ่น 242 ภาษา ประชากรส่วนใหญ่ในพม่ามีเชื้อชาติ ไทยใหญ่ ยะไข่ มอญ ยะไข่ กระเหรี่ยง คะฉิ่น ไทย และ ชิน พุทธศาสนาเป็นที่นับถือกันมากที่สุดในประเทศพม่า สิ่งนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรพม่ามีวัฒนธรรม การดำรงชีวิตที่ต่างกัน แต่สิ่งที่สามารถยึดเหนี่ยวได้เป็นอย่างดีคือศาสนาพุทธที่ชาวพม่ามีความศรัทธา เลื่อมใส วัฒนธรรมการเรียนรู้ของประชาชนประพม่าโดยเฉพาะชาวบ้าน ยังคงศึกษาหาวิชาความรู้จากพระ

การเดินทางของ ดร.จีระ ในครั้งนี้ถือได้ว่าเดินไปในดินแดนที่เรียกว่าเมืองแห่งทะเลเจดีย์ เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก พุกามได้ชื่อที่ตั้งอาณาจักรโบราณซึ่งเป็นอาณาจักรแห่งแรกของประเทศพม่าที่ได้รับการสถาปนาจากปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม “ พระเจ้าอโนรธามังช่อ” สถานที่แห่งนี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพม่าที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล แต่น่าเสียดายที่ยูเนสโกยังไม่ได้เป็นมรดกโลก แต่รัฐบาลทหารพม่าก็ยังพยายามเสนอชื่ออย่างต่อเนื่อง

พุกามตั้งอยู่ทางในเขตมัณฑะเลย์  ทางตอนเหนือของย่างกุ้ง ติดแม่น้ำอิรวดี สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคือเจดีย์ชเวสิกอง ที่สร้างโดยปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม “พระเจ้าอโนรธามังช่อ” นอกจากนั้นยังมี ภูเขาโพปา ที่ชาวพม่ามีความเชื่อว่าเป็นที่สถิตของสิ่งศักดิ์ ซึ่งเมืองก่อนกษัตริย์พม่าจะต้องทำพิธีกรรมเคารพบูชาที่นั่นทุกปี

และหลังจากกลับการประเทศพม่าในครั้งนี้ ดร.จีระ จะมีบรรยายกาศของสถานที่ที่น่าสนใจในประเทศพม่ามาฝากชาว blog กันอีก

ขอขอบคุณ

 

       ผมมีโอกาสมาเดินถนนในย่างกุ้งเป็นถนนเลียบแม่น้ำอิรวดี ที่น่าสนใจคือสถาปัตยกรรมที่เเบบประเทศอังกฤษที่ส้รางเมื่อพม่ายังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่น่าเสียดายที่ขาดการดูเเล  และช่วงหัวค่ำได้ไปกราบสักการะเจดีย์ชเวดากองอีกครั้ง ทำให้เห็นว่าในเวลาค่ำก็มีความงามต่างไปอีกเเบบ วันนี้ปิดท้ายด้วยอาหารพื้นเมืองรสเด็ด

 

 

หมายเลขบันทึก: 469228เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2011 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอบคุณครับ
  • ประเทศเพื่อนบ้านก็มีสิ่งน่าหลงใหลอยู่มากเช่นกันนะครับ
  • เพียงรอหนาวคราวก่อนให้ย้อนกลับ
  • แต่ไปลับเหมือนคราวลมหนาวผ่าน
  • เย็นสายลมทุกคราวจึงร้าวราน
  • เมื่อวันวานอาวรณ์ไม่ย้อนคืน

 

ศิษย์ สวนสุนันทา

ถ้าเปิดประเทศเต็มตัว

1. จุดเด่นคือวัฒนธรรม

2. ชื่อเสียงของ อองซานซูจี กับการต่อสู้ที่ยาวนาน

3. จากเรื่องราวที่ อาจารย์ ศ.ดร. จีระ ได้ลงไว้ น่าสนใจมาก และอาจจะเป็นคู่ต่อสู่ที่น่ากลัว..........

คนไทยควรสนใจประเทศพม่ามากขึ้น

        1.  ผมทำงานให้มูลนิธิฯ มีโอกาสรู้จักพม่ามากกว่า 10 ปี มีงานทำกับพม่าเรื่อง ทุนมนุษย์หลายเรื่อง

        2.  พม่าคราวนี้ Change จริง หลังจากรัฐบาลทหารครองมานานก็เริ่มเปิดประเทศอย่างเป็นรูปธรรมขึ้น

        3.  ครั้งนี้ผมเดินทางไปพุกาม ซึ่งต้องนั่งเครื่องบินไปย่างกุ้งและต่อไปอีก 1 ชั่วโมง เดินทางลำบากมาก

        4. แต่ถึงเมืองพุกามก็คุ้มค่าเป็นเมืองเก่าทางวัฒนธรรมและเต็มไปด้วยกลิ่นไอของศาสนาพุทธ มีเจดีย์เริ่มต้นกว่า 900 ปี เคยนับได้ 4,000  ปัจจุบันที่มีขึ้นทะเบียนแล้ว 2,400

        5.  ข้อแรกก็คือ มองจากมุมท่องเที่ยว คนไทยก็มี โอกาสควรจะมาดูและศึกษา ได้เห็นเปรียบเทียบไทยเมือ 50 ปี ที่แล้วเป็นอย่างนี้

 

        6.  คนไทยต้องใช้เวลาเดินทางไปเรียนรู้จากประเทศในกลุ่ม ASEAN ด้วยกันให้ถ่องแท้ รู้จริง

        7.  การขยายการท่องเที่ยวของพม่า แปลว่าประเทศไทยได้ เพราะนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาพม่าทางเครื่องบิน ขณะนี้เข้าให้ไทยเป็นทางผ่าน 62% แต่คู่แข่งในอนาคตคือ เวียดนาม ขณะนี้ผ่านเวียดนามมาถึง 22% และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

        8.  พม่าต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการท่องเที่ยวอย่างมาก รัฐบาลไทยและมูลนิธิเคยช่วยดูแลบ้างแล้ว แต่ยังไม่พอ

        9. ขณะนี้ทางกระทรวงการท่องเที่ยวของพม่าได้ขอให้มูลนิธิและผมส่งทีมไปฝึกและสร้างทุนมนุษย์ให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ในพม่าเรื่องการท่องเที่ยว ผมยังหาทรัพยากรไม่ได้ แต่ไปคราวนี้เขาขออีก คงต้องหาทางช่วยเขาแน่นอน ภูมิใจที่เป็นคนไทยแต่คนพม่าเห็นคุณค่าของการเรียนรู้

        10.  ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวมาในพม่าทั้งหมดประมาณ 6 – 7 แสนคนเท่านั้น แต่อัตราเพิ่มประมาณปีนี้ 25% ซึ่งภายใน 5 ปี ก็คงจะขึ้นเป็น 1 ล้าน 5 แสนคนแน่นอน

        11.  นักธุรกิจไทยก็ต้องคิดที่จะมาทำการลงทุนร่วมกับพม่าอย่างจริงใจและระยะยาวอย่าหวังผลสั้นๆ ต้องรู้จักระบบของพม่าอย่างดี ผมคิดว่าผมคงจะช่วยได้

        มูลนิธิต้องทำเป็น Knowledge Center เรื่อง HR กับ Tourism + การเงินกับ Tourism การตลาดกับ Tourism การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกับ Tourism ในพม่าอย่างแท้จริง

        12.  ไปคราวนี้ทางผู้จัด Mekong Tourism Forum ให้เกียรติผมเป็น Speaker ด้วย ผมได้เน้นว่าพม่าเป็นผู้มาที่หลังได้ บทเรียนที่ดี จากความล้มเหลวของไทย เช่น การเสื่อมโทรมของทรัพยากรท่องเที่ยวในภูเก็ตหรือสมุย แต่ก็ต้องใช้ทฤษฎี 2R’s มาจับดูว่า

  • อะไรคือสิ่งที่การท่องเที่ยวพม่าเหมาะสมและมีจุดแข็ง
  • ใช้จุดแข็งและดูบทเรียน แต่ต้องให้ตรงประเด็น (Relevance)
  • Research (วิชาการ) และ Planning
  • Private /Public participation
  • ภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม

        คืออย่า Top down แต่ Bottom up  ด้วยคือพบกันครึ่งทาง ซึ่งคงทำยากในช่วงแรกเพราะรัฐบาลมีการควบคุมมากไป

13. สุดท้าย ทางวิชาการ ไทยมีประสบการณ์มากกว่าในการพลิกบุคลกร ระดับอาชีวะและปริญญาตรี ซึ่งบางส่วนไทยต้องปรับปรุง

        แต่ ตัวแทนมหาวิทยาลัยในพม่าต้องการมาดูงาน Study Tour  ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงท่องเที่ยวพม่าได้ขอแล้วว่าจะส่งอาจารย์มหาวิทยาลัยของพม่ามาดูงานของมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งก็จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ เพราะพม่าเก่งกว่าไทยมาก เรื่องภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ไทยเก่งเรื่อง การตลาด สร้าง Brand และอาจจะช่วยร่วมมือกันได้แบบ Mutual Benefits

 

พม่าตอน 2

1.รูปชุดแรกที่ผู้อ่านเห็นผมยังอยู่ที่ย่างกุ้ง ไกด์พม่าพาไปดู ถนนนี้ติดกับแม่น้ำเห็นตึกเก่าๆ ที่อังกฤษได้สร้างไว้ในช่วงปกครอง ซึ่งในอนาคตถ้ามีการบูรณะขึ้นมาจะสวยงามมากและได้เรียนรู้พม่ามาก

2. ซึ่งก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เห็นอดีตที่งดงามและเจ็บปวดพร้อมกันไป

3.  อังกฤษปกครองพม่าอยู่กว่า 100 ปี 1824 – 1948

4.  ผมถามคนพม่าว่ามีความเห็นอย่างไร

  • คนอายุเกิน 50 ปี ไม่ชอบอังกฤษ
  • คนรุ่นใหม่ ไม่สน สนแต่ IT , BB , ดารา กีฬาบ้าง
  • คงคล้ายๆ สังคมวัยรุ่นทั่วโลก ไม่คิดอดีต ซึ่งน่ากลัว จะเป็นสังคมแบ่งแยก มากกว่าสังคมบูรณาการ

พม่า ตอน 3

1. ช่วงอังกฤษปกครอง มีคุณประโยชน์ตรงที่ว่า กลุ่มชนต่างๆไม่รบกัน

2.หลัง 1948 ถือว่ามีสงครามกลางเมือง (Civil Wars) คือแต่ละเผ่าไม่ยอมกัน

3. ผมเองจะต้อง ศึกษาภูมิศาสตร์พม่ามากขึ้น เพราะบางส่วนติดจีน บางส่วนติดอินเดีย บางส่วนติดลาว และบางส่วนติดไทย

4 ผมและคณะที่มูลนิธิจะศึกษาชนกลุ่มต่างๆ และติดตามดูว่าหลังจากเปิดประเทศ ผ่อนคลายกฎระเบียบ อาจจะให้มีการเลือกตั้งเสรี ทหารกล้าแบ่งปันอำนาจให้อองซานจะแก้ชนกลุ่มน้อยอย่างไร?

5.  เนื่องจากเป็นผู้อยากรู้ อยากเห็น จึงถามคนพม่าตรงๆ หลายเรื่อง

  • ชอบอองซานไหม?
  • อนาคตจะเป็นอย่างไร?

6.  ก็มีคำตอบว่า

  • อองซาน ซูจี ต้องมีทีมงานที่หลากหลาย
  • มีกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ช่วยงาน มองพม่า 2R’s

 

 

 

สวัสดีค่ะทุกท่านที่ติดตาม Blog ของ อ.จีระ

การเดินทางไปพม่าในครั้งนี้ ท่าน อ.จีระ ได้ ให้โอกาสดิฉันเดินทางไปเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการร่วมประชุมในครั้งนี้และยังได้ไปเรียนรู้ สังคมวัฒนธรรมของประเทศพม่าด้วย

โดยส่วนตัวแล้วดิฉันชอบศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ พม่าเป็นประเทศที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะนอกจากที่เรารู้กันดีว่าพม่าเป็นประเทศคู่สงครามในอดีตกลับไทยมายาวนาน และไทยเองก็เสียเอกราชให้พม่าถึง 2 ครั้ง ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม มีความคล้ายคลึง ผสมผสานกัน แต่สิ่งที่พม่าโดดเด่นคือเรื่องการนับถือศาสนาพุทธ ชาวพม่าไม่ว่าจะเชื้อชาติไหนสิ่งที่เหมือนกันคือเรื่องความศรัทธาอันแรงกล้าในคำสอนของพระพุทธเจ้า

ดิฉันเองได้เคยอ่านหนังสือพระราชประวัติของสมเด็จพระพระนเรศวรมหาราช ท่านซึมซับและฝึกฝนเรื่องการเป็นผู้นำผ่านศาสนาพุทธมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์เมื่อครั้งที่เป็นองค์ประกันอยู่ที่ประเทศพม่า โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าบุเรงนองซึ่งตัวท่านเองก็มีความศรัทธาในพระศาสนาอย่างมาก นอกจากประวัติศาสตร์ ประเพณีปฏิบัติแล้วสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาอีกอย่างคือสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะเจดีย์

การเดินทางมาเยือนพม่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกของดิฉัน นอกจากการตื่นตาตื่นใจกับสถานที่ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่าแล้ว ดิฉันยังได้ประสบการณ์จากการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ โครงการนี้จัดขึ้นในความร่วมมือระหว่าง Tourism and Hotel Ministry ประเทศพม่า Mekong Tourism และ Myanmar Tourism Broad เพื่อระดมความคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศพม่าให้ยั่งยืน

สิ่งแรกที่เรียนรู้คือรูปแบบการจัดงาน International ในระดับภูมิภาค เป็นการระดมสมองโดยใช้เครือข่ายจากผู้มีประสบการณ์และโอกาสในการสร้าง Connection เพื่อสร้างงาน 

อีกเรื่องที่ได้เรียนรู้คือพม่าต้องเกิดการพัฒนาก่อนเกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาคนให้เข้าใจว่าประเทศกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การพัฒนาระบบโครงสร้างต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว

แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันคิดว่าประเทศพม่ากำลังเป็นขนมหวานที่ใครๆก็อยากเข้าไปลิ้มลอง ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพม่า ซึ่งตอนนี้ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนก็เข้าไปมีอิทธิพลในประเทศพม่าแล้ว การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในพม่าได้รับการช่วยเหลือจากประเทศจีนแต่แรงงานที่ทำนั้นเป็นแรงงานจีนทั้งสิ้น สิ่งที่น่ากลัวคือคนพม่ายังคงใช้ชีวิตแบบเดิม รายได้เท่าเดิม แต่ค่าครองชีพสูงขึ้น ประเทศยิ่งโตช่องว่างระหว่างชนชั้นก็จะเกิดมากขึ้น

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ พม่าค่อยๆฉายแววแจ่มจรัลขึ้นในเวทีนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASEAN เพราะนอกจากพม่าได้รับโหวตเป็นประธานอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 27 พม่าที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในอีก 2 ปี พม่า กำลังเติบโตเป็นสังคมประชาธิปไตย มีการผ่อนปนในเรื่องกฎระเบียบต่างๆเพื่อเตรียมการเปิดประเทศ ในปี 2558 พม่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ดิฉันก็คิดว่าพม่ายังคงมีอะไรที่น่าค้นหา น่าติดตามอีกมาก อีกส่องที่คนไทยต้องคิดคือถ้าพม่าก้าวขึ้นมาเมื่อไหร่ สมุทรสาครที่ว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลแช่แข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก คงต้องร้างเป็นแน่ เพราะแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่คงย้ายกลับถิ่นฐาน ไปสร้างรายได้เข้าประเทศแผ่นดินเกิดเป็นแน่

สุดท้ายนี้ต้องขอบพระคุณอาจารย์จีระ ที่ให้โอกาสในการเติมความรู้ เติมประสบการณ์ให้ชีวิต แต่ที่น่าเสียดายคือดิฉันไม่ได้ร่วมเดินทางขึ้นบอลลูนเพื่อชมทะเลเจดีย์ที่พุกามกับอาจารย์จีระ แต่ดิฉันบอกกลับตัวเองว่าจะต้องกลับไปพม่าอีกครั้งแต่ไม่ใช่เพื่อชมทะเลเจดีย์ที่พุกามอย่างเดียว แต่เพื่อดูว่าเมื่อพม่าเปลี่ยนแปลง จะเป็นแปลงอย่างไร ไปสู่ความยั่งยืนหรือไม่

                                                         จงกลกร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท