ประโยชย์ท่าน : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่3


ประโยน์ท่าน: หน้าบ้านไอที(ร้านจำหน่าย-ซ่อมคอมพิวเตอร์)แต่มีสิ่งโบราณหลังบ้าน(ผักหวานป่าและเพื่อนๆต้นไม้)

         

           สวัสดีค่ะทุกๆท่านช่วงนี้เดือนพฤศจิกายน เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว และเช่นเดียวกันค่ะ เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูกาลของผักหวานป่าตื่นนอนจากการหลับไหลมาหลายเดือน(ตื่น-การออกยอดและออกดอก)  เพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนจะทยอยนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผักหวานป่าในช่วงเวลาต่างๆตามลำดับ

...วันนี้ดิฉันจึงจะนำชมสวนผักหวานป่า(พื้นที่เล็กๆไม่ถึง 2งานหลังบ้าน) เป็นแปลงผักหวานป่าที่ได้ลงมือวางแผนปลูก ซึ่งเป็นแปลงแรกเพื่อต้องการพิสูจน์ให้ตัวเองเห็นและหายสงสัย ว่าสูตรปลูกผักหวานป่ากับตะขบและความรู้ที่เรียนรู้จากการปฏิบัติ(ค้นคว้า)มาด้วยกันกับคุณโอภาส ไชยจันทร์ดีนอกจากในพื้นที่สวน(ดิน)ของตัวเองแล้ว(ประโยชน์ตน)ประโยน์ท่านจะได้ผลเช่นเดียวกันหรือไม่ ก่อนจะนำความรู้ไปถ่ายทอดเผยแพร่ให้กับคนอื่นๆ(ทำแล้วค่อยพูด) ต้นผักหวานป่าที่เห็นในภาพต่อไปนี้ทั้งหมดอายุได้3ปี

     

ในภาพผักหวานป่า3สายพันธุ์(ใบมน-ใบรี-ใบแหลม)ปลูกคู่กันกับต้นตะขบและต้นขนุน(พืชเสริม) 2หลุมปลูกดังกล่าว ผักหวานเจริญเติบโตได้ดีกว่าหลุมปลูกอื่นๆ เนื่องจากโครงสร้างของดินบริเวณหลุมปลูกร่วนซุยจากการย่อยสลายของต้นไม้ผุ(อินทรีวัตถุ)

 

ในภาพเป็นการวางแถว(ตั้งแถว)ปลูกต้นตะขบไว้ก่อน6เดือน แล้วค่อยนำต้นกล้าผักหวานป่าที่เพาะจากเมล็ดในระยะถั่วงอก(อายุ30-45วัน)และต้นกล้า(อายุ5เดือน)ในภาพจะเห็นต้นผักหวานป่าที่เจริญเติบโตแตกต่างกันในฝั่งด้านซ้านและฝั่งด้านขวามือ มาจากโครงสร้างของดินในแต่ละหลุมที่แตกต่างกัน(บางหลุมดินร่วนซุย,บางหลุมเป็นดินเหนียว)

 

พื้นที่ดินเดิมบริเวณสวนผักหวานป่าแห่งนี้เป็นป่ากระถินและต้นไม้ธรรมชาติ(พื้นที่รกร้างว่างเปล่า) ต่อมาทำการปรับพื้นที่(ตัดต้นกระถินและต้นไม้ต่างๆออกโดยไม่มีการปรับ-ไถพื้นที่) แล้วนำต้นตะขบ-ผักหวานป่า-พืชเสริม มาปลูกในพื้นที่ตามลำดับ(พื้นที่เล็กๆแต่มีผักหวานไว้อิ่มแบบสดๆเต็มๆคำ)

 

                ปลูกเป็นกอ ตะขบหนึ่งต้นต่อผักหวาน3-10ต้น

 

       การแตกยอดสร้างกิ่งกระโดง(กิ่งสร้างลำต้น)ของผักหวานป่าและพืชเสริมสิ่งโบราณที่น่ากิน-น่าทะนุบำรุง  (วิธีการควบคุมความสูงของต้นไม้โดยการโน้มกิ่ง ที่สอนโดยอาจารย์ธรรมชาติค่ะ)

 

หากต้องการควบคุมความสูงของต้นผักหวานป่า(ไม้ประเภททานใบ-ยอดอ่อน)สามารถทำได้โดยการโน้มลำต้นตั้งฉากในแนว 45องศา ก็จะได้ต้นที่เตี้ยและปริมาณยอดเพิ่มขึ้นด้วยจากการตั้งกิ่งกระโดงไปตามลำต้น(ด้านบนของลำต้นได้ยอด-ด้านล่างของลำต้นได้ผล-ลูก) แต่ในธรรมชาติป่า-ภูเขาต้นผักหวานป่าต้นโตๆจะถูกตัดให้ล้มแต่ไม่ให้ขาด  (วิธีการควบคุมความสูงของต้นไม้ แต่ไม่ควบคุมจิตสำนึกของมนุษย์)

 

                                  ประโยชน์จากความเตี้ย!

 

                

             3สายพันธุ์ในกอเดียว /5-10ต้นในหลุมเดียวกัน

 

 

       

หมายเลขบันทึก: 467854เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2011 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

Ico64

แวมาชื่นชมและแสดงความยินดีด้วยนะคะที่ผักหวานป่าตื่นนอนจากการหลับไหลแล้ว...และขอร่วมระลึกถึงวันลอยกระทงประเพณีอันดีงามของไทยเราด้วยนะคะ...รักษาสุขภาพค่ะ

ได้ความรู้ดีจังเลยครับ

ได้ความรู้ ไม่เคยรู้มาก่อนค่ะ ขอบคุณมาก

ที่บ้านปลูกแต่ผักหวานบ้าน

ขอบพระคุณทุกๆท่านค่ะที่เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ

ปลูกผักหวานบ้านแล้วน่าจะปลูกผักหวานป่าเพิ่มอีกชนิดนะคะคุณnana

ขอบพระคุณค่ะ ท่านดร.พจนา กับประโยคสุดท้ายสั้นๆรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกันค่ะขอให้ท่านสุขภาพแข็งแรงๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท