สื่อสารตรงใจ เขียนวิจัยตรงจิต :mental model


ข้าพเจ้าเคยไปร้านขายกางเกงยีนส์ยี่ห้อดังกับเพื่อน พบว่า กางเกงยีนส์มีการออกแบบ ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละสรีระ

เช่น กางเกง สำหรับผู้เอวคอดสะโพกผาย, ผู้เอวใหญ่สะโพกเล็ก etc..
( ปรากฎว่า ไม่มีแบบไหนเข้ากับตัวเองได้เลย ฮา)
ทำให้นึกถึงว่า หากเราสามารถเห็น "รูปทรงทางความคิด" ของผู้คนได้ คงทำให้การส่งข้อมูล "เหมาะ" และ"สม" มากขึ้น
...
เรื่องของจิตใจ เราต่างรู้ว่ามี แต่ไม่รู้จะอธิบายหน้าตา รูปร่าง ได้อย่างไร
แต่ก็มีนักคิด พยายามตั้งสมมติฐาน ออกมาเป็น "Mental model"
คล้ายกับ "พันธุกรรม" ที่ mendel ทำให้รู้ว่ามี แต่ก็ไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร จนกระทั้ง Watson& crick นำเสนอ "DNA model" เมื่อ 50 ปีก่อน
.
.
อารัมภ์บท มายาวพอควร ขอยกกรณี ที่ Mental model ถูกนำมาเอ่ยอ้างกัน
.
พัฒนาการสื่อสารที่มี "Mental model" ร่วมกันระหว่าง ทีมสุขภาพ ด้วย SBAR.
ในเอกสารนี้ กล่าวถึง อุปสรรคในการสื่อสารระหว่างแพทย์ (physician) และ พยาบาล (nurse)
มีปัจจัย จาก การจัดระบบตามลำดับขั้น (Hierarchy),เพศ, เชื้อชาติ และที่สำคัญ คือรูปแบบการสื่อสาร
 (communication style) กล่าวคือ
พยาบาล มักบรรยายในรายละเอียด ความครบถ้วนของข้อมูล ขณะที่ แพทย์ มักใช้ถ้อยคำสรุปสั้นๆ แบบ
 "bullet point" หรือ "Headline"
ซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกับข้อสังเกตในบทความนี้.
ปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อน ระหว่างกัน ส่งผลชัดเจน ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องใช้ความสนใจให้ตรงเป้า และฉับพลัน (immediat correct attention)
จึงมีการนำสื่อสารด้วยระบบ "SBAR" ของทหารมาใช้
ในรายละเอียดมีผู้เขียนใน gotoknow ไว้ที่นี่คะ 
...
ข้าพเจ้าเชื่อว่า แม้ในวิชาชีพเดียวกัน ต่างวัฒนธรรม ก็มีรูปแบบสื่อสารต่างกัน เมื่อก่อนเวลาข้าพเจ้าอีเมล์หาอาจารย์ต่างชาติ  เราพยายามใช้ถ้อยคำที่สุภาพที่สุด อธิบายที่มาที่ไปยาวเหยียด..อาจารย์ก็ตอบกลับมาอย่างจริงใจว่า ไม่เข้าใจ..ช่วยบอกสั้นๆ ว่าเราอยากทำอะไร..
.
ที่น่าสนใจคือ SBAR มีองค์ประกอบ เทียบเคียงกับ SOAP และ Academic writing ดังนี้

 

SBAR

SOAP

Academic writing

Situation 

Subjective (symptom) 

Topic statement (what we think)

Background

Objective ( physical sign + lab + past history) 

Support data (what we/they found) 

Assesment

Assesment

Conclusion ( Therefore..)

Recomendation   

Plan

Recomendation (Next step..)

 

การเขียนวิจัย ให้อ่านแล้วมีเหตุมีผล - logical flaw เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งต่อ การได้รับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ..

หนึ่งใน top 5 ของสาเหตุที่ manuscript ถูกปฎิเสธการตีพิมพ์คือ "Text difficult to follow, to understand" ในขณะที่ปัจจัยต้นๆ ที่ reviewer ประทับใจคือ "Clear, straithforward, easy to follow, logical".
.
.
การปรับ mental model ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางทีก็ต้องใช้ "สคริปต์" ช่วยไปก่อน ดังที่ข้าพเจ้าได้รับจากอาจารย์ที่ปรึกษา..
Topic statement - ผลของการศึกษาเรา สร้างสมมติฐาน แต่ไม่เหมาะนำไปเปลี่ยนแปลงเวชปฎิบัติ
Supporting data - การศึกษาของเราพบว่า A+B สัมพันธ์กับการลดอาการ X, แต่ A ไม่สัมพันธ์กับการลดอาการ X  ซึ่งการศึกษาของ someone และคณะ พบว่า  A ช่วยลดอาการ X 
Conclusion- เนื่องจากการศึกษาเราเป็น observational study: ตัวกวนที่วัดไม่ได้เช่น  psychosocial support อาจบดบังประสิทธิภาพของ A  การที่ A+B มีประสิทธิภาพ อาจเป็น synergistic effect หรือเพราะเป็น second line treatment ในผู้ที่ psychosocial support ไม่ได้ผลอยู่แล้ว 
Recomnedation- ควรมีการศึกษาเพื่อข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป โดยเป็น well controled trial เทียบระหว่าง  A+B กับ A และ placeb 
.
###
แล้วคุณละ ทราบหรือไม่ว่า "Mental model" ของตนเองเป็นเช่นไร


หมายเลขบันทึก: 467751เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2011 03:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)
แล้วคุณละ ทราบหรือไม่ว่า "Mental model" ของตนเองเป็นเช่นไร



ขออนุญาต  ตอบแบบมีอารมณ์ว่า  ยังหาไม่เจอ ยังสร้างไม่ได้

เพราะมันตกหายไปกับน้ำท่วมแล้วคะ ^__^

 

  • สวัสดีค่ะ
  • ลำดวนมักสรุปเรื่องที่ต้องการถ่ายทอดเป็นประเด็นสำคัญไว้ก่อน
  • แล้วจึงขยายแนวคิด
  • ลักษณะทำแผนผังความคิดค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • มาเรียนรู้ความรู้ใหม่ค่ะ "Mental Model" ขอบคุณนะคะ สำหรับอาหารสมองมื้อเช้า
  • อาจารย์หมอป. บอกว่า "เมื่อก่อนเวลาข้าพเจ้าอีเมล์หาอาจารย์ต่างชาติ  เราพยายามใช้ถ้อยคำที่สุภาพที่สุด อธิบายที่มาที่ไปยาวเหยียด..อาจารย์ก็ตอบกลับมาอย่างจริงใจว่า ไม่เข้าใจ..ช่วยบอกสั้นๆ ว่าเราอยากทำอะไร.."
  • เกือบ 30 ปีมาแล้วตอนที่ยังสอนอยู่ที่วิทยาลัยครูสุรินทร์ มีอาจารย์รุ่นน้องคนหนึ่ง เธออยากจะติดต่อขอไปเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศ และได้ไปขอให้อาจารย์ที่ท่านบวชเรียนมาตลอดและจบปริญญาโทจากอินเดีย เขียนจดหมายภาษาอังกฤษให้ พอเขียนเสร็จผู้เขียนก็แนะให้เอาไปให้ดิฉันช่วยดู พบว่าท่านเขียนมาเต็มหน้า อ่านจบแล้วก็ไม่รู้ว่าต้องการอะไร เลยแก้ให้เหลือประมาณ 4-5 บรรทัด แล้วน้องคนนั้นก็สื่อสารรู้เรื่องและได้รับการตอบรับให้ไปเรียนสมใจค่ะ
  • อีกครั้งหนึ่ง น้องที่ไปเรียน  PhD ที่ออสเตรเลียด้วยกัน (สาขาการวัดผล) เขียน Review เอกสารเป็นภาษาไทยแล้วนำไปให้น้องอีกคนที่เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มรภ.สุรินทร์ช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ เธออ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยชอบใจ บอกว่าดูมันเยิ่นเย้อ (ตามธรรมชาติของคนที่จบป.ตรีทางคณิตศาสตร์ที่ชอบการเขียนที่กระชับ) จึงเอาไปให้ดิฉันช่วยเขียนให้สั้นลง ดิฉันเกรงใจคนแปลให้แต่เธอว่าไม่เป็นไร ก็เลยช่วยเขียนสรุปความจาก 4 บรรทัดเหลือบรรทัดครึ่ง ตอนหลังน้อง (ผู้ชาย) ที่แปลให้แต่แรกเห็นหน้าดิฉันแล้วก็ยกหัวแม่มือให้ การเขียนบางครั้งเราต้องเขียนแบบอธิบาย (Explanation) แต่บางครั้งก็ต้องเขียนแบบสรุปความ (Conclusion) ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ใช้ภาษาที่มีความกระชับ (Concise) ใช่ไหมคะ    

...

สื่อสารตรงใจ
เขียนวิจัยตรงจิต
ไม่เขียนเบี้ยวบิด
สื่อสารให้ตรงจิต ... เขียนให้ตรงใจ

...

;)...

  • หนาวลมพอข่มหาย
  • หนาวใจยากนักหนา
  • น้ำท่วมหนาวกายา
  • หนาวอุราถ้าท่วมนาน เอย

 

สวัสดีครับอาจารย์ปัทมา

อาจารย์จุดประกายผมอีกแล้วครับ...

Mental Model นี่เป็นอะไรที่ต้องเรียนรู้ รู้เท่าทัน

มันคือความยึดติด จากความรู้ ประสบการณ์ มีทั้งแบบเบา กับหนักไปเลย..

สุภาษิตโบราณน่าจะเทียบได้กับคำว่า..

"ทิฐิพระ มานะกษัตริย์" ครับ..

เป็นอะไรที่ผมว่าคนในสังคมควรเรียนรู้ เพื่อ Unlearn และ Relearn ครับ

ผมว่าสุนทรียสทนา (Dialogue) ช่วยได้มากครับ..

สำหรับเรื่องการสื่อสาร..เคยเจอลูกศิษย์เล่าให้ฟัง..

โรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง..ส่งคนมีเรียน Mini-MBA กับวิทยาลัยของผม...

ถูกให้ต้องทำ case study (วิธีการศึกษาแบบ MBA ที่จะเอาข้อมูล เอาปัญหา.ขององค์กรหนึ่ง ราวๆ 20-30 หน้า แล้วหใ้นักศึกษาจัดทีมกันเอง..แต่ห้ามอยู่แผนกเดียวกัน มาร่วมกันวิเคราะห์ และแก้ปัญหา)

ทำไปหลายๆ case พอจบ ได้ยินเสียงนี้ครับ..

"อาจารย์ หลังมานั่งแก้ปัญหาด้วยกันมาพักหนึ่ง..แต่ก่อนฝ่ายวิศวกรรม จะชอบทะเลาะกับผ่ายขาย เพราะแค่ศัพท์แสงก็คนละคำแล้ว..ความคาดหวังก็คนละแบบ พอมาทำงานร่วมกันเลยเข้าใจกันมากขึ้น...อ้อใใที่เขาพูดอย่างนี้ เพราะรู้สึกอย่างนี้นี่เอง.. ตอนนี้รู้สึกทำงานกันราบรื่นขึ้น..ทะเลาะกันน้อยลง"

ลองหาอะไรทำแบบนี้กันนะครับ.ประมาณว่ามาแก้ปัญหาร่วมกันสักพัก...เดี๋ยวดีขึ้นครับ..

สวัสดีค่ะ

Ico64

แวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ...ในทางการศึกษา Mental Model เป็นความคิดส่วนย่อยของ 'กรอบแบบแผนความคิด'ในการเชื่อมโยงการคิดเชิงระบบ System Thinking ของคนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องสมเหตุสมผล ได้มาโดยการใช้ความคิดวิจารณญาณการไตร่ตรองแล้ว จนสามารถนำมาเป็นแนวทางในการประเมินสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องมองเห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน...คนจะมีMental Modelหรือ'กรอบแบบแผนความคิด'ที่แตกต่างกันมากบ้าง น้อยบ้าง เหมือนหรือเกือบเหมือนกัน...ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความคิด ความมีวิจารณญาณ และความมีเหตุมีผลในทางที่ถูกที่ควร ของแต่ละคน...

สวัสดีครับ อาจารย์ ป.

ขอร่วมแชร์ด้วยนะครับ อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วนึกถึงประสบการณ์ของตัวเองครับ สำหรับส่วนตัวผมคิดว่า Mental model ของผมน่าจะมีวิวัฒนาการ ปรับเปลี่ยนมาตลอด เป็นการปรับเข้าสู่ความสมเหตุสมผลมากขึ้นตามคุณวุฒิ และวัยวุฒิ คือผมมองตัวเองจากการจัดการหลายสิ่งหลายอย่างที่เคยทำผิดพลาดมาในอดีตนะครับ ก็มีคำถามตัวเองบ่อยนะครับว่า "ทำไปได้อย่างไร" ไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างที่ผมเข้าใจหรือเปล่านะครับ

ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผม

สวัสดีเป็นคนแรกคะ พี่กระติก
ใจที่หล่นหาย..หลังน้ำลด คงได้เก็บกู้ขึ้นมาอีกครั้งนะคะ

 

การทำแผนผังความคิด โดยเริ่มต้นจาก ประเด็นสำคัญก่อน

แล้วเชื่อมโยง ขยายออกไป เป็นเทคนิคที่ดีคะ

ในหนังสือชื่อ "Accidental genious" ก็แนะนำให้ เขียน สิ่งที่ผุดขึ้นมาในใจ

โดยยังไม่ต้องสนใจ ไวยากรณ์​ แล้วค่อยๆ มาเชื่อมโยงคะ 

  • ขอบคุณอาจารย์ที่เพิ่มเติมประสบการณ์คะ
  • คิดว่า การเขียนให้กระชับ โดยสื่อสารให้ตรงวัตถุประสงค์ เป็นสิ่งยาก นอกจากความประณีตในการใช้ภาษาแล้ว ยังต้องอาศัยความเข้าใจจิตวิทยาการรับรู้..จึงไม่แปลกใจคะ ว่าอาจารย์สามารถเขียนได้อย่าง "ตรงจิต" อย่างดีเยี่ยม 
  • เกิดความสมมติฐานขึ้นมาว่า..หากเราขอให้ใครช่วยอะไร น่าจะใช้คำง่าย ชัดเจน conclude และ concise...การอธิบายนั้น น่าจะใช้ก็ต่อเมื่อ ผู้ฟังขอให้อธิบายเพิ่มเติม หากผู้ฟังไม่ได้เตรียมใจ ยัง fixed mental model อยู่ ข้อมูลที่ให้มากไปอาจทำให้สับสนยิ่งขึ้นก็เป็นได้คะ

ขอบคุณสำหรับบทกลอนตรงใจ ไม่เบี้ยวบิดคะ อาจารย์

หน้าหนาวแล้ว รักษาสุขภาพ(ใจ) ด้วยนะคะ :-)

ขอบคุณอาจารย์ สำหรับกลอยต้อนรับฤดูหนาวคะ

ขอบคุณ อาจารย์ภิญโญ ที่เติมเต็มบันทึกนี้คะ

"Mental Model นี่เป็นอะไรที่ต้องเรียนรู้ รู้เท่าทัน..มันคือความยึดติด จากความรู้ ประสบการณ์.."

ทำให้คิดไปว่า การถกเถียงที่หาข้อยุติลำบาก ก็ด้วย ใช้ Mental model คนละแบบเป็นเครื่องตัดสิน โดยเฉพาะในช่วงอารมณ์ตึงเครียด ยิ่งมีแนวโน้มยึด model เดิมอย่างเหนียวแน่น..เพราะไม่มีใครอยากถูกตัดสินว่า "incompetence"  ดังนั้น การพูดคุยโดยไม่ตัดสิน อย่างสุนทรียสทนา (Dialogue)  เห็นด้วยคะว่าช่วยลดภาวะ fixed model ได้

...

เรื่องฝ่ายขายกับฝ่ายวิศวกรรมที่อาจารย์ยกตัวอย่างมา แหม เข้ากับประสบการณ์ตัวเองดีจังคะ

ตอนแรกๆ สื่อสารกับนักเวชสถิติ ลำบาก รู้สึกได้เลยว่า "Mental model" คนละแบบ
นักเวชสถิติ มีแนวโน้มใส่ใจกับ p-value  ปัจจัยไหนไม่ถึง statistical significant ก็คือ "ไม่สำคัญ" สำหรับเขา
ขณะที่ ตัวเอง ใส่ใจกับ เหตุปัจจัยที่สำคัญคือตามทฤษฎี และปฎิบัติทางคลินิกมากกว่า
ศัพท์ที่ใช้ ก็ต้องต่างฝ่ายต่างมานั่งอธิบาย 

...

ตอนหลังมา แทนจะขึ้นต้นด้วยเรื่องวิจัย หันมาคุยเรื่องการปรับตัวเข้ากับที่ทำงานในต่างแดน (นักเวชสถิติก็เป็นคนต่างชาติ เคยเป็นอาจารย์แล้ว ติดตามภรรยามา) ก็คุยกันอย่างเป็นมิตร แล้วยอมรับซึ่งกันและกันมากขึ้นคะ

สวัสดีครับคุณหมอปัทมา

ในมุมมองของผม เริ่มด้วยเรื่องไม่จริงจัง กลับทำให้เรื่องจริงจังราบรื่นได้ จริงๆครับ..ผมมีประสบการณ์คล้ายๆกันนี้เลยครับ..

ปัจจุบันก่อนผมจะสอน AI ผมชอบสอน และให้ลูกศิษย์ทำ Dialogue

เกิดเรื่องแปลกคือ..ส่วนใหญ่พอเรียนทุกอย่างจบ..ถามว่าชอบอะไรที่สุด..จำนวนมาก และส่วนใหญ่จะชอบ Dilogue มากกว่า AI ครับ..

ผมจะต่อยอดเรื่องนี้ในเรื่อง "ศาสตร์แห่งความไม่จริงจัง" ในตอนต่อไปนะครับ..

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็น และข้อเขียนดีๆนะครับล

ขอบคุณอาจารย์ที่เสริมนิยามให้ชัดเจนยั่งขึ้นคะ เป็น "กรอบแบบแผนความคิด" ที่เกิดจากการใช้วิจารณญาณ จนสามารถนำมาเป็นแนวทางในการประเมินสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องมองเห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน...เท่่าที่เข้าใจ มีความหมายในเชิงบวก ทำให้การตัดสิน เป็นไปอย่างมีหลักการ หรือ "fair" คะ

ได้มาเรียนรู้เพิ่มเติมมากมายในสิ่งที่ผมไม่รู้

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

อากาศเย็นแล้วหรือยังครับ

ที่บ้านผมเริ่มเย็น ๆ ผู้มารับบริการน้อยลงมาก

เพราะต้องเกี่ยวข้าวแล้วครับ

วันเสาร์นี้...เห็นเล่นเด็กเล่นว่าวที่สนามฟุตบอลโรงเรียน

ผมเป็นประเภทคิดได้ทุกเวลาครับ

แม้กระทั่งบางวันยามนอน

ฝันกลางวันครับ

 

ขอบคุณคะอาจารย์ พูดถึง วิวัฒนาการของ Mental model ของตนเองที่ปรับไปตามอายุ..

สำหรับตัวเอง..มองย้อนกลับไป "ตัดสินใจเลือกเช่นนั้นได้อย่างไร" หากใช้ Mental model หรือแม้แต่ฟังเสียงในใจ ก็บอกว่า การตัดสินใจครั้งนั้นไม่ถูก..บทเรียนที่ได้คือ อย่าเลือกขณะยังมี Noise ดังกว่าเสียงในใจตนเอง..

ขณะเดียวกัน การเลือกนั้นก็อาจไม่ผิด เพราะ ให้ประสบการณ์ หวาน ขม มากมาย
เราต่างย้อนเวลากลับไม่ได้..ก็ขอให้ค้นพบความสุขและท้าทายในปัจจุบันนะคะ

สวัสดีค่ะคุณหมอป.

อ่านบันทึกของคุณหมอบางเวลา แล้วทำให้นึกถึงกัลยาณมิตร เก่าแก่อีกท่านที่เขียนบันทึก สไตล์ล้วงลึก ต่อเนื่อง กระตุกต่อมคิด ได้อย่างลึกซึ้ง เสมอๆ อย่างนี้

mental model ช่วงน้ำหลากอย่างนี้ ขอต้องกลับไปทบทวนอีกแล้ว ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอป.

  • แค่ได้ยินคำว่า"วิจัย" คุณยายก็เข่าอ่อนแล้วค่ะ กว่าจะปิดเล่มได้เล่นเอาหอบแฮ่กๆเลย
  • ขอส่งดอกไม้มาเป็นกำลังใจนะคะ เก็บมาจากหลังบ้านค่ะ

 

 

อาจารย์หมอ ป. คะ

ถามว่า Mental model เป็นแบบไหน

1. ตามพื้นฐานวิชาชีพ

10 ปีที่แล้ว SOAP

5 ปีที่แล้ว SBAR ครอบคลุมและเชื่อมโยงมากกว่า SOAP

Academic writing ไม่ค่อยถนัด

2. เทียบเคียงชีวิตทั่วไป

10 ปีที่แล้ว...ขาว ดำ แยกกันชัด

5 ปีมานี้...เห็นขาวในดำ มีดำในขาว

สีเทาสว่างหรือเทาหม่น...ขึ้นกับพื้นฐานที่มา (บริบท)

สัมพัทธ์กับอะไร ใคร และความเชื่อมโยง

3. นำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับคนไข้

ก็มีหลักคิด (ทางการแพทย์) ไว้เป็นเบื้องต้น แต่ก็ไม่ถึงกับยึดติดตายตัว

ให้ความสำคัญกับความคิดของคนไข้เป็นหลักด้วยน่ะค่ะ

เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน และให้คำแนะนำต่อไป

ที่นี่เริ่มเข้าสู่หน้าหนาวแล้วคะ

โชคดีไม่มีหิมะแบบทางฝั่งตะวันออก แต่ก็มีฝนตกปรอยๆ ชวนสลึมสลือ :-)

...

ที่บ้านผมเริ่มเย็น ๆ ผู้มารับบริการน้อยลงมาก

เพราะต้องเกี่ยวข้าวแล้วครับ

วันเสาร์นี้...เห็นเล่นเด็กเล่นว่าวที่สนามฟุตบอลโรงเรียน

...

คุณหมออดิเรก บรรยายได้เห็นภาพ ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิต 
ทำให้คิดถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ในความเรียบง่าย  
ขอบคุณคะ ที่ช่วยรั้งกลับมาจากกระแสวัตถุนิยมที่เชี่ยวกราก 

 

ขอบคุณคะคุณ Poo 

ได้เรียนรู้เช่นกันคะว่า การเขียนทำให้เห็นความยุ่งเหยิง-ซับซ้อน-ลึกลับ ของ Mental model ตนเอง..และน่าประหลาดว่า เมื่อได้ข้อคิด จากท่านอื่นๆ ยิ่งทำให้เห็นแง่มุมที่ไม่เคยมองมาก่อน

...

การเขียนบันทึกใน G2K ถือเป็น การเรียนที่ไม่รู้จบ จริงๆ :-)

ขอบคุณสำหรับดอก..(เฉลยได้ไหมคะ :-)

เห็นด้วยคะ คำว่า "วิจัย" ฟังดูก็เหนื่อยแล้ว
ส่วนตัวรู้สึกว่า อาจเพราะ Methodology หรือ mental model แบบตะวันตก 
ไม่ใช่ธรรมชาติ ที่มีความละเอียดอ่อนไปคนละแบบ ก็เป็นได้คะ
แต่พวกเราทำวิจัย-สร้างองค์ความรู้ใหม่ได้แน่นอน ดังที่ อาจารย์​ kapoom , คุณหมออดิเรก อ.ภิญโญ กับ R2R  สามารถทำให้วิจัยสร้างงานและสร้างสุข ก่อปัญญา ไปพร้อมกัน

คุณหมอธิรัมภา อธิบายได้เป็นระบบชัดเจนดีจังคะ
ชอบที่ว่า..

10 ปีที่แล้ว...ขาว ดำ แยกกันชัด

5 ปีมานี้...เห็นขาวในดำ มีดำในขาว

เมื่อก่อน ตัดสินชอบ ไม่ชอบคนด้วยประโยคเดียว

ตอนนี้ อย่างที่คุณหมอว่าคะ ในขาวมีดำ ในดำมีขาว

อย่างวันนี้ น้องที่น่ารักคนหนึ่ง

พูดถึง conflict of interest (เรื่องหมอๆ กับสปอนเซอร์จากบริษัทยา)

ในทำนองที่เราฟังแล้วไม่ค่อยสบายใจนัก

เทียบไปคล้ายการมองว่าเรื่องซื้อเสียงเป็นของธรรมดา

ได้แต่ก็หัวเราะหึๆ ไม่ว่าอะไร..

คุณหมอป.จ๋า คุณยายก๊อปมาจากเน็ตฯค่ะยาวพรึดเลย อ่านแล้ววานลบด้วยนะคะ อายคนอื่นค่ะ

  ขอบคุณคะที่ช่วยเฉลย ให้ความรู้ ขอยกมาย่อๆ ไว้ที่นี่นะคะ :-)

สวัสดีค่ะคุณหมอป.

  • ต้นชุมเห็ดเทศค่ะ ขึ้นตามธรรมชาติที่หลังบ้าน
  •  คุณยายเห็นดอกสวยดีเลยไม่ตัดทิ้งค่ะ มีสรรพคุณทางยาด้วยนะคะ ขออนุญาตนำมาให้อ่านนะคะ อาจเปลืองพื้นที่นิดนึง อ่านแล้วคุณหมอสามารถลบได้ค่ะ

 

แล้วคุณละ ทราบหรือไม่ว่า "Mental model" ของตนเองเป็นเช่นไร

อธิบายง่าย ๆ ขมวดปมถามชวนให้คิดตามและตอบค่ะ หลาย ๆ คนตอบรับข้อเขียนนี้อย่างเห็นได้ชัดเจน

รวมถึงพี่ด้วย

 

น่านสินะ mental model ของเราคืออะไร

"แบบธรรมดา แบบคิดแล้วทำออกมาเป็นรูปธรรมได้"

ยอมรับว่า อ่านศัพท์แสงวิชาการแล้วเกือบทุกครั้ง คิดตามไม่ออก ต้องปิดหนังสือ แล้วค่อย ๆ คิดว่า เราอยากตั้งคำถามหรือคิด ค้นคว้า วิจัยอะไร ที่ธรรมดา ตอบออกมาแบบเป็นรูปธรรม

 

เหตุฉะนี้ เรื่องที่พี่ทำมักเป็นเรื่องไม่ยาก ในสายตาของเพื่อนและผู้ช่วยทำ และมักมีคำถามตามมาเสมอว่า พอหรือคะ(จากลูกศิษย์)

แต่จากเพื่อน เขาบอกว่า "ดี คิดได้ไง"

 

อืม คิดแบบธรรมดา ๆ พื้น ๆ นี่แหละค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท