ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

มาทำอะไรที่น้ำท่วมอยุธยา


WHY WE FiGHT

                WHY WE FIGHT เหตุที่ต้องจั่วหัวอย่างนี้เพราะก่อนหน้าที่จะมานั้นก็สงสัยเป็นกำลังเหลือเกินว่าจะมาทำใม เพราะในความคิดตัวเองนั้นคิดว่า “ขาลุย” มากันแยะแล้ว มาให้เขาลำบากเปล่า ๆ ส่งใจ ส่งเงินมาช่วยยังจะมีคุณค่ากว่า มาให้เขาลำบากเปล่า ๆ และอีกอย่างคือผมจินตนาการไม่ออกเลยว่า “แค่น้ำท่วม มันจะอะไรนักหนา ”  ซึ่งตัวเองก็ได้คำตอบในวันหลัง ๆ หลังจากเข้าพื้นที่ พอไปบางปะหัน ไม่คิดเลยว่าหลังทะเลสาบ ซึ่งก็คือพื้นที่ทุ่งนาเรานี่แหละแต่เผอิญน้ำท่วมทราบมาว่าลึกประมาณ 4 เมตร โดยใช้เวลาในการท่วมวันกว่า ๆ 5 เมตร ผ่านไปจะ 5 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2554 ลดลง 1 เมตร ยังเหลืออีก 4 เมตร ที่ศูนย์รวม ไม่ขอเรียกว่าศูนย์พักพิงนะ เพราะมันไม่ใช่  เป็นศูนย์กลางให้ชาวบ้านมาพึ่ง เพราะเป็นโรงเรียนในละแวกบ้าน มีช้างไม้ลอยอยู่ 2 ตัว น้ำท่วมเกือบมิดเสาประตูฟุตบอล (เดือนที่แล้วคงสูงกกว่านี้ 1 เมตร ไม่น่าจะมองเป็นเสานี้เลย) แม่คนนึงรำพึงว่าเมื่อไรน้ำจะลดเนี่ย มองไม่เห็นอนาคตเลยว่าเมื่อไร  เพราะประตูน้ำเล็กเหลือเกิน คงต้องใช้เครื่องสูบน้ำ  ข้าวพอมีกิน แต่น้ำกินนี้หายากเหลือเกิน  ที่วัดเป็นที่รวมกันนั้น ชายวัยไล่เลี่ยกันกับผมนั่งตาเหม่อลอยเสียความมั่นใจในตัวเอง เรียกหาแต่แม่ เล่าให้ฟังว่า ผมอยากกลับบ้าน ทุกวันนี้ต้องกินยาช่วยให้หลับ ถึงจะนอนได้  อีกกลุ่มหนึ่งก็ถึงกับหลั่งน้ำตา ผมว่าผมโชคดีที่ไม่ได้ไปรับมากขนาดนั้น และอีกอย่างคือพยายามอุเบกขาเข้าไว้ เพราะถ้าเมตตามากเกินไปเราเองจะซึมเศร้าและทำงานไม่ได้  สรุปก็คือสถานการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมาก เพราะน้ำไม่ไปไหนนั่นเอง และอีกที่หนึ่งที่อยากกล่าวถึงคือที่เขตเทศบาลท่าเรือซึ่งเป็นวันที่เกือบสุดท้ายก่อนกลับผมถึงมีเวลาไปเลาะดูเล่น ๆ ยืมจักรยานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ไปดูร่องรอยถึงพบว่าความรวดร้าวมันกองเป็นกองดินที่น้ำพามาวางไว้ที่ตลาดข้างลำน้ำป่าสัก ดินเป็นคืบที่จะต้องคืนลงสู่ท้องน้ำหรือเปล่าไม่แน่ใจ เจ้าแม่กวนอิมที่จมน้ำ ผมลองเอื้อมมือไปวัดบริเวณที่น้ำเคยท่วมของเสาอาคาร อปพร. ขอบอกว่าสุดเอื้อมครับ ช่วงน้ำท่วมนั้นท่วมโรงเรือนตลาดเห็นแต่ลูกลมระบายอากาศ  ในขณะที่ปัจจุบัน ผมยืนอยู่ที่พื้นตลาด เป็นเรื่องที่เห็นแล้ว ซึ้งแล้วว่าน้ำท่วมทำใมต้องอพยพหนีกันจ้าละหวั่น เพราะไม่เพียงชีวิตที่ต้องลอยเท้งเต้ง ทรัพย์สินที่จะจมหายวับไปอีก  ซึ่งอุดรธานีเรามี 4 พื้นที่ ที่ผมเป็นเป็น 4 แบบ คือ แห้งแล้วน้ำลดแล้ว , น้ำกำลังลดแต่ทรงตัวที่ประมาณเข่าในชุมชน เริ่มจะมีส่งกลิ่นเน่า , น้ำทรงตัวที่หลังคาบ้าน เห็นบ้านแต่ยังเข้าบ้านไม่ได้ และ น้ำมิดหลังคาบ้าน ไม่เห็นบ้านเลย  เมื่อมองไปที่อำเภอท่าเรือจะเป็นแบบแห้งนั่นแหละครับ  น้ำพาดินที่มีเชื้อบาดทะยัก เมลิออยด์ เลปโต มาให้ชุมชน เป็นเรื่องที่ผมทราบมาจากทาง สคร.(สำนักควบคุมโรค) อำเภอมหาราชเป็นที่ที่น้ำทรงตัว บ้านส่วนใหญ่น้ำยังขังสูงประมาณเหนือเข่า ชาวบ้านต้องใช้เรือ การเข้าถึงด้านสุขภาพต้องใช้เรือออกจากบ้านมาที่ถนน น้ำเริ่มมีกลิ่นเน่า กลางทุ่งนาท่วม 4 เมตร พี่จรัล อสม.ที่พาเราเดิน บอกว่าของเขา 40 ไร่ จมหมดแล้ว ไปที่บางปะหัน ได้ลงพื้นที่จริง ๆ ก็วันที่ 5 พย. 54 แต่มาที่บางปะหันตั้งแต่วันที่ 2 ที่ 3 แล้ว ต้องใช้เรือเข้าบ้านชาวบ้าน มีกำนันเอาเรือมารับ บางปะหัน ณ วันที่ผมเข้าไป 16 ตำบล ท่วม 13 ตำบล ที่บางเพลิง ยังท่วมสูงเข้าบ้านไม่ได้  ถึงแม้ว่าเราคิดว่า ลดแยะแล้ว  แต่เชื่อเถอะครับ ไม่มีใครคิดว่าลดแยะหรอก  เพราะอีก  4 เมตร ยังไม่เห็นทางออกเลย บ้านแพรก นั้นทราบมาว่าน้ำเต็มทุ่ง ท่วมบ้าน ท่วมฟ้า 5 เมตรกว่ามาเดือนนึงและจะยังอยู่อีกต่อ

 

WHAT WE DO เรามาทำอะไร เป็นเภสัชกรมาทำอะไร หลายคนตั้งคำถามกับตัวผม แต่ผมไม่คิดอย่างนั้น เพราะเราคิดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกกลุ่มงาน ทุกฝ่ายที่ต้องลงแขกเรื่องนี้กัน แบ่งเบาภาระงานกัน และถึงแม้จะไม่รู้เรื่องมาก แต่ก็สามารถเป็นผู้ช่วยกับมารุต ประสาน ติดตาม ถามไถ่ คู่คิด คู่คุยได้ ปรึกษาหารือกันตอนออกชุมชน  บางครั้งช่วยพายเรือ หิ้วกระเป๋ายา วัดความดัน ช่วยถามตามภารกิจ นสค. ซึ่ง นสค.ก็คล่องตัวมากอยู่แล้ว

หลัก ๆ คือ นสค. มาเสริมเติมส่วนขาด เพื่อให้เกิดการ “ฟื้นฟูสภาวะสาธารณสุขให้คืนสภาพโดยเร็ว” ทั้งนี้ขึ้นกับบริบทของพื้นที่ ผ่อนสั้นผ่อนยาว

แล้ววัน ๆ ต้องทำอะไร ผู้ประสานก็วางแผนติดตาม ประสานงาน เติมเต็มส่วนขาดเหลือ วิ่งไปตามจุดต่างๆ ลงพื้นที่ดูสภาพจริง แปรรูปผลงาน รายงาน รอรับนโยบายถ่ายทอดต่อไป

นสค. ทุกเช้าก็สรุปสั้น ๆ ว่าเจออะไร วันนี้จะไปไหน ช่วงเย็นก็เตรียมตัว สรุปรายงาน เรื่องเล่า เคสประทับใจ หรือทำนำเสนอเตรียมไว้ ถ้าเสร็จสิ้นก็ดื่มด่ำ ร้องเพลงผ่อนคลาย ก่อนกลับก็วางแผนส่งมอบงาน ในบางพื้นที่อาจจะต้องทำอาหารกินกัน เช่นที่ผมไปบางปะหันจะเห็นเขากินกุนเชียงทอดกันบ่อยเลย  สรุปคือ อยู่ให้ได้ ในบริบทที่เป็น อาบน้ำสายชำระ ซักแห้งบ้าง กินให้ง่ายเข้าไว้

 

เข้าดูรูปได้ที่

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.271912406178987.60170.100000806897215&type=3

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 467682เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2017 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สู้ๆๆครับ
  • ชาวบ้านต้องการยาแบบนี้ครับ
  • Large_medecineforfoot1 
  • เพื่อต่อสู่แบบนี้
  • คนไม่เคยเห็นน้ำท่วมจะไม่รู้สึกครับ

 

 

ชาวบ้านเป็นโรคน้ำกันเท้ากันมากไหมคะ

ที่ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

มีชาวบ้านเป็นโรคนี้อยู่ค่ะ

ถ้ามีเปลือกข่อย เปลือกตะโกน่าจะเอามาทุบแช่น้ำสักคืน เอาไว้แช่เท้าได้นะครับ

  • จำได้ว่าสมัยเด็กๆชาวนาใช้เปลือกข่อยและเปลือกตะโกนาเหมือนกันครับ
  • เดี๋ยวนี้หาคนรู้จักน้อยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท