กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๔๐) : "ชีวิตที่เรียนรู้...ของครูเพลินฯ" (๒)


ประเด็นคำถามเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อจบจากการชมนิทรรศการ คือ 

จากการได้เรียนรู้เรื่องราวของเพื่อนๆ ฉันได้รู้ว่า... 

  • ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ฉันเป็นครูที่ดีในหน่วยวิชาของฉันเอง
  • ฉันได้เรียนรู้อะไรบ้างจากหน่วยวิชาอื่นๆ

 

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเกิดขึ้นทั้งจากการแบ่งกลุ่มสนทนาตามหน่วยวิชา และจากการไปอ่านหัวใจสีม่วงดวงโต ที่คุณครูจะเขียนบันทึกข้อความในประเด็นเหล่านี้ในระหว่างการชมนิทรรศการ ได้ที่บอร์ดหน้าห้องอเนกประสงค์ (ห้องประชุมรวม) ด้วย

 

เมื่อสนทนากันในกลุ่มย่อยแล้วก็จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มใหญ่ หลังพักรับประทานอาหารกลางวัน โดยแต่ละกลุ่มจะมีเวลานำเสนอความคิด ๕ นาที 

 

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มใหญ่สรุปได้ดังนี้  

ปัจจัยความสำเร็จของการเป็นครูที่ดี 

กลุ่มครูประจำชั้น และครูแนะแนว

  • เรียนรู้สิ่งที่เด็กเป็น ไม่ใช้อารมณ์แล้วตีตราเด็ก  หาเหตุผลของการแสดงออก
  •  ฟังเสียงข้างในจริงๆ ไม่ควรเลือกฟังแต่เสียงที่อยากฟัง
  • ดูเด็กจากหลายบริบท ดูให้ครบทุกด้าน เพราะการมองไม่ครบจะทำให้เห็นเพียงด้านเดียว
  • ต้องมองถึงจุดดีและจุดด้อยให้รอบด้าน และพัฒนาเด็กจากจุดที่เขาเป็น
  • ครูต้องรู้จักตัวเองก่อน การใส่แว่นตาสีต่างๆ ทำให้ครูตัดสินใจตามสิ่งที่ตนเองชอบ
  • เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ครูต้องเข้าใจความแตกต่างของแต่ละคน

 

กลุ่มครูมานุษกับโลก

  • ตระหนักถึงบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ดี
  • เชื่อใจกัน ไว้วางใจกัน
  • สนุกกับการเรียนรู้ และการลงมือทำ
  • ครูต้องอ่านเด็กให้ออก ไม่ตัดสินเด็กก่อนที่จะรู้จักเขา
  • ใส่ใจรายละเอียดของเด็กทุกคน
  • การกลับมาใครครวญตนเอง
  • เด็กเป็นอย่างที่ครูเป็น
  • ครูต้องเห็นตัวเอง

 

กลุ่มครูมนุษย์และสังคมศึกษา

  • ต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี
  • ครูดึงความสามารถของเด็กออกมาได้
  • ฟังเสียงเด็กที่เขาพูดออกมา
  • เห็นเด็กเป็นรายบุคคล
  • ครูกล้าที่จะยอมรับ
  • เป็นกัลยาณมิตร
  • มีการสังเกตเด็ก
  • ครูตื่นตัว
  • รักในวิชาที่สอน รักในความเป็นครู
  • สอนแบบไม่สอน
  • ภาวะของครู การเตรียมตัวให้พร้อม
  • การบูรณาการที่จะทำให้เด็กภาพรวม ไม่ใช่เห็นเป็นตอนๆ
  • มีการกำหนดกติกาที่ชัดเจน
  • การเปิดโจทย์กระตุ้นจินตนาการ
  • สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อ

- ลำดับขั้นตอนของกิจกรรม อาจยังไม่ชัดเจนพอ

- การเปิดโจทย์ที่ยังไม่ดีพอ

  • การเป็นครูมนุษย์และสังคมศึกษาที่ดี

-  การคัดกรองข้อมูล ที่เด็กจะเอาไปใช้ในชีวิต

-  ยืดหยุ่น เปิดกว้าง

-  แลกเปลี่ยนข้ามหน่วยวิชา

-  มีการจัดสรรเวลาที่ดี

-  มีเสน่ห์ของวิชาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

  • ทักษะที่สำคัญ

-  การสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว

-  การตอบคำถาม ให้เด็กมีส่วนร่วมสร้างชุดความรู้ใหม่

  • การเรียนรู้ของเด็ก

-  ความพร้อมของสื่อ อุปกรณ์ ที่มาช่วยก่อให้เกิดการเรียนรู้

-  เห็นความสำคัญกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

-  ครูต้องตระหนักและทำให้เกิดขึ้นทักษะต่างๆ เกิดขึ้น

 

กลุ่มครูภูมิปัญญาภาษาไทย

  • ครูต้องมีความเชื่อและศรัทธาในตนเอง
  • สถานการณ์ที่ชัดเจน คำนึงถึง met before ของเด็ก
  • ย่อยโจทย์ให้เด็ก โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็ก
  • สถานการณ์เชื่อมโยงตัวผู้เรียน และเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เช่น เพลงเรือ สำนวนสุภาษิต
  • กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้  เรียนไปแล้วไม่รู้ว่าเรียน
  • “กินครูเป็นอาหาร” เพื่อการเข้าลึกถึงภาษา สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้เอง
  • เน้นความงามทางภาษา และให้การใช้ทักษะภาษาไทยไปเกิดในวิชาอื่นด้วย
  • สามารถต่อยอด ย้ำ ซ้ำ ทวน จนเกิดความรู้ด้วยตนเอง
  • แม้เด็กจะลืมในสิ่งที่ครูเคยสอน แต่เขายังคงจดจำความรู้สึกที่ประทับเอาไว้ได้อยู่เสมอ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 467578เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท