ความเรียงขั้นสูง


ตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูง, การเขียนความเรียงขั้นสูง, ความเรียงขั้นสูง, Extended Essay, EE

ด้านบน : ตัวอย่างความเรียงขั้นสูง : EE

ด้านล่าง : รายงานการศึกษาค้นคว้า : TOK

บทนำ 

                                     เกาะเกร็ด (Ko Kret) 

               “พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ” คำขวัญจังหวัดนนทบุรีที่ได้กล่าวมานี้ ถ้าให้ผู้คนที่ไม่ใช่ชาวจังหวัดนนทบุรีระบุข้อความที่เด่นและเป็นที่คุ้นเคย ชินหูชินตาที่สุด คำตอบที่ได้น่าจะเป็น เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา (ถิ่นเก่าชาวมอญ) แต่ถ้าถามนักบริโภคทุเรียนตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป คำตอบที่ได้ก็จะพ่วง เลื่องลือทุเรียนนนท์ อีกข้อความหนึ่ง สำหรับ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา อาจกล่าวได้ว่า แม้แต่นักเรียนชั้นปฐมวัยก็เคยได้ยิน และบางคนก็ได้ไปเยือนด้วยตนเองมาแล้ว เพราะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รณรงค์ให้คนไทยท่องเที่ยวทั่วไทย ดังนั้นชื่อและภาพของเกาะเกร็ดจึงปรากฏอยู่ตามป้ายประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวบริเวณริมทางหลวง ทางด่วน ทางพิเศษ ตลอดจนมีรายการโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ นำเสนอ โดยการนำเที่ยว แนะนำสินค้า ทั้งอาหารและของที่ระลึก ซึ่งของที่ระลึกที่ขึ้นชื่อลือชาจากเกาะเกร็ด ก็คือ เครื่องปั้นดินเผา ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาของชาวมอญ หรือ ชาวรามัญนั่นเอง (main_nonthaburi.htm: 6 สิงหาคม 2554:18.00 น.) สุรัตน์ บัวหิรัญ ประธานศูนย์ OTOP เกาะเกร็ด กล่าวว่า ความวิจิตรงดงาม คงทน และมีเอกลักษณ์ของเครื่องปั้น ดินเผาชาวมอญนี้ นอกจากจะทำให้ได้ห้าดาวแล้วยังได้รับตำแหน่งศูนย์ OTOP ต้นแบบของภาคกลางตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา (ปฐมพงศ์ อรรถศรี.OTOP Thailand: Asia Update: 5 สิงหาคม: 2554: 15.00 น.) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกาะเกร็ดเป็นแหล่งที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นแหล่งรวมอารยะธรรม ไม่เพียงแต่เครื่องปั้นดินเผาเท่านั้น แต่ยังมีวัดวาอาราม และศูนย์วัฒนธรรม ตลอดจนบ้านเรือนที่ยังคงความดั้งเดิม มีหลายแห่งที่มีระเบียงยื่นลงไปในน้ำเปิดเป็นร้านอาหารให้ผู้ไปเยือนได้ซึมซับความหลากหลายที่น่าประทับใจไม่รู้ลืม (www.moohin.com : 6 สิงหาคม 2554: 20.00 น.) สอดคล้องกับการนำเสนอของ พลังไทย นำเที่ยวไทย ในหน้า “เสาะเกาะเกร็ดนนทบุรี ชมวิถีชาวมอญ” ที่กล่าวว่า “วิถีชีวิตของชาวมอญบนเกาะเกร็ดที่สืบสานวัฒนธรรมประเพณี สร้างงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง ล้วนสร้างสีสันเมืองนี้ให้น่าเข้าไปค้นหา” (ปตท.พลังไทย เพื่อไทย. 2547: 39) และ กวี วรกวิน ที่ยกให้การทำเครื่องปั้นดินเผาและค้าขาย เป็นอาชีพท้องถิ่นของเกาะเกร็ด พร้อมเชิญชวนร่วมงานประเพณีสงกรานต์ชาวมอญซึ่งจัดยิ่งใหญ่ทุกปี (กวี วรกวิน. 2547 : 64) ดังนั้น หากมีเวลาเพียง 1 วันสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเก็บเกี่ยวทุกข้อความในคำขวัญจังหวัดนนทบุรีให้ได้มากที่สุด เกาะเกร็ด จึงเป็นปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการดื่มด่ำความประทับใจกับความรู้สึกที่หลากหลายไม่ไกลจากเขตปริมณฑล

เนื้อเรื่อง

ให้เขียนครอบคลุมทุกแง่ทุกมุม เช่น ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 1 ย่อหน้า ได้แก่

 เกาะเกร็ดในแง่มุมทางภาษาไทย (ฟัง พูด อ่านเขียน หลักภาษา วรรณคดี)

เกาะเกร็ดในแง่มุมทางภาษาต่างประเทศ (ฟัง พูด อ่านเขียน หลักภาษา วรรณคดี)

เกาะเกร็ดในแง่มุมทางคณิตศาสตร์ (เลขคณิต เรขาคณิต พีชคณิต แคลคูลัส ความน่าจะเป็น)

เกาะเกร็ดในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา)

เกาะเกร็ดในแง่มุมทางศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์)

เกาะเกร็ดในแง่มุมทางการงานอาชีพและเทคโนโลยี

เกาะเกร็ดในแง่มุมทางสุขศึกษาและพลศึกษา

เกาะเกร็ดในแง่มุมทางสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศาสนา เศรษศาสตร์)

                                                   ประวัติวิทยากร 

           ปริญญาเอกการศึกษาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

           ประกาศนียบัตรนักพูดจากสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย และสถาบันฝึกพูดทางการฑูต

ประสบการณ์ ครูโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการรัชดา และโรงเรียนสตรีวิทยา

เป็นวิทยากรบรรยาย และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบการจัดการเรียนรู้   ด้วยเทคนิค Backward Design การพัฒนาทักษะการคิด การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยแบบบูรณาการ และ การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) ฯลฯ

ผลงาน Best Practice การพัฒนาทักษะการคิดโดยนักเรียนทำวิจัยแบบบูรณาการด้วย TCAIC Model

             Best Practice การพัฒนาบุคลากรด้วย PGKCASE Model

        Best Practice รักการอ่าน ผ่านกระบวนการคิด เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม ด้วย IRTSM Model

เคยเป็น เลขานุการของประธานกลุ่มประสิทธิภาพมัธยมศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปัจจุบัน เป็นนักวิชาการและนักวิจัยอิสระ

ดร.ดำเนิน  ยาท้วม 081-7862797 Fax 02-5135029

หลักสูตร World - Class Standard School (โรงเรียนมาตรฐานสากล)

                                ด้วยข้าพเจ้าดร.ดำเนิน  ยาท้วม นักวิชาการอิสระ ได้พัฒนาหลักสูตรสำหรับโรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School) 4 รายวิชา ได้แก่ ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge : TOK) การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended –Essay : EE) โลกศึกษา(Global Education : GE) และ กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (Creativity, Action, Service : CAS) รายละเอียดประกอบด้วย คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิค Backward Design และใบงานบันทึกกิจกรรม และพัฒนาหลักสูตรรายวิชาตามหลักสูตรแกนกลาง ’2551 ที่บูรณาการกับหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล และบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียง ระดับประถมศึกษา 48 รายวิชา ระดับมัธยมศึกษา 132 รายวิชา เคยใช้อบรมครูในรุ่นที่ 1 (2553-2555) หลายแห่ง โรงเรียนสามารถนำไปปรับปรุงใช้เป็นวิชาเพิ่มเติม หรือนำไปบูรณาการกับรายวิชาในหลักสูตร ’2551 ได้ทันที หากโรงเรียนสนใจ กรุณาติดต่อข้าพเจ้าได้ทางโทรศัพท์ 081-7862797 ข้าพเจ้าจะส่งไฟล์ดังกล่าวให้ทางอีเมล์หรือ EMS นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังยินดีเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการครูและผู้บริหารการศึกษาทั่วประเทศ (ระยะเวลา 1 วัน หรือ 2 วัน)

ตัวอย่างรายงานการศึกษาค้นคว้า TOK

ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า “การมีอายุยืนของผู้สูงอายุกับความสุขตามอัตภาพมักไม่ไปด้วยกัน”


                จากการประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุขององค์การสหประชาชาติ ประจำปีพ.ศ. 2525 ได้กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกว่า “ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เรียกว่า “ผู้สูงอายุ” สถาบันแห่งชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดว่า ผู้สูงอายุวัยต้น อายุระหว่าง 60 – 74 ปี อายุ 75 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุวัยชรา ส่วนสำนักงานสถิติแห่งชาติไทย กำหนดให้ผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 60 – 69 ปี และผู้สูงอายุตอนปลาย อายุ 70 ปีขึ้นไป
จำนวนผู้สูงอายุกำลังเพิ่มสัดส่วนขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปีพ.ศ. 2536 ร้อยละ 7.2 ของประชากรไทยเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในปีพ.ศ. 2538 ประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.11 และในปีพ.ศ. 2543, 2553 และ 2563 จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.19, 11.36 และ 15.28 ของประชากรทั้งหมดตามลำดับ โดยมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง คือ อายุเฉลี่ยเพศชาย 69.5 ปี เพศหญิง 76.3 ปี
              จากการศึกษาของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปีพ.ศ. 2552 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรสูงวัยเกือบ 7 ล้าน 2 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุยืนกว่า 100 ปี มากถึง 13,692 คน เป็นชาย 5,541 คน เป็นหญิง 8,151 คน กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เรียงลำดับจากมากที่สุด ดังต่อไปนี้ นครศรีธรรมราช 591 คน ยะลา 563 คน สมุทรปราการ 558 คน ส่วนจังหวัดที่พบน้อยที่สุด คือ พังงา 20 คน ตราด 15 คน และภูเก็ต 11 คน เหตุผลที่ผู้สูงวัยในประเทศไทยในปัจจุบันนี้มีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยทั่วไปน่าจะเป็นเพราะว่ารู้จักการดูแลรักษาสุขภาพ และการดำรงตนอยู่ในสังคมให้มีความสุขดีกว่าในยุคก่อน พ.ศ. 2507 เพราะอย่างน้อยก็ได้ผ่านการศึกษาภาคบังคับตามหลักสูตรพ.ศ. 2503 จึงทำให้พลเมืองไทยพอจะมีความรู้ในการดูแลความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวได้ในระดับหนึ่ง เมื่อหลักสูตรพ.ศ. 2521 เข้ามามีบทบาททำให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาภาคบังคับเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  การมีความรู้และความคิดในการดูแลความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวน่าจะดีขึ้นกว่าเดิม  จนถึงปีพ.ศ.  2552 ที่ผลิตผลของการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2544  ที่ทุกคนต้องเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนได้เรียน ทำให้ความสำนึกในการดูแลสุขภาพของตนเองมีเพิ่มขึ้น รวมทั้งวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก็มุ่งให้คนรักษาวิถีดั้งเดิมรักษาขนมธรรมเนียมที่ดีงาม ได้แก่การคงไว้ซึ่งความรักสามัคคีในครอบครัว วงศาคณาญาติ และท้องถิ่น และหลักสูตรที่ให้ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แทรกกิจกรรมที่ให้เรียนรู้โดยผ่านการฝึกสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติทั้งด้านความรู้ สังคม และอารมณ์อย่างเหมาะสม ประกอบกับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา การที่ประชาชนที่แม้จะยากจนก็สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น ทำให้ผู้สูงวัยทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลายส่วนใหญ่สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว และชุมชนได้อย่างมีความสุขในหลายมิติ ทั้งด้านสุขภาพ อารมณ์ หรือจิตใจ ซึ่งอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้สูงวัยเหล่านี้มีความสุข

               อัตภาพ ตามพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ตัวตน หรือ ลักษณะของแต่ละบุคคล

ดังนั้น ความสุขตามอัตภาพ ก็คือ ความสุขของแต่ละคนซึ่งย่อมเหมือนหรือต่างกันไปแล้วแต่บุคคลกำหนด เพราะ ธรรมชาติของมนุษย์ตามที่มาสโลว์ นักจิตวิทยาชื่อดัง ได้ระบุไว้ในความคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ มนุษย์มีความเป็นอิสระที่จะกำหนดชีวิตของตนเอง มีเหตุผล มีร่างกายที่เป็นองค์รวมของส่วนประกอบที่เป็นอวัยวะย่อย ๆ มีกรรมพันธุ์เป็นส่วนสำคัญแต่ปรุงแต่งตนเองตามแรงขับจากสิ่งแวดล้อม มีความต้องการเป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง และชอบเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ

               ความสุขของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความพร้อมในด้านต่าง ๆ ที่มาจากความต้องการตามลำดับ ได้แก่ ความต้องการพื้นฐาน ซึ่งเป็นความต้องการขั้นที่ 1 ที่คนทุกคนมีเหมือนกัน คือ ความต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจนส่วนใหญ่ ถ้าได้ครบในขั้นนี้ ก็ถือว่าเป็นความสุขตามอัตภาพแล้ว ดังนั้น นักสังคมวิทยาอย่าง คาร์ล มากซ์ จึงมีแนวคิดที่จะนำทุกอย่างที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต รวมทั้งสาธารณูปโภคมาไว้ในมือของรัฐ ให้รัฐเป็นผู้จัดการกระจายความจำเป็นพื้นฐานไปให้ประชาชนทุกคนอย่างเสมอหน้า เพื่อจะได้ไม่มีคนยากจนที่ไม่มีแม้แต่ปัจจัยพื้นฐานในการสนองความสุขตามอัตภาพในขั้นแรก ส่วนในประเทศไทย นักประชาธิปไตยอย่าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวไว้ว่า ราษฎรทุกคนที่เกิดมาย่อมจะได้รับการประกันปัจจัยสี่จากรัฐบาลตั้งแต่เกิดจนสิ้นชีพ จะได้นอนตาหลับไม่ต้องกังวลว่าจะอดอยาก เมื่อมีบุตรก็เลี้ยงได้ เมื่อตายก็ไม่มีห่วงว่าบุตรจะอดอยาก ซึ่งความเห็นของทั้งสองท่านนี้ก็เป็นการทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุความสุขตามอัตภาพตามความต้องการทางกาย แม้ว่า คาร์ล มากซ์ จะเป็นแนวคิดแบบสังคมนิยม แต่ ดร.ปรีดี พนมยงค์ จะเป็นนักประชาธิปไตย แต่ทั้งคู่ก็มีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ มนุษย์ไม่ว่าจะเกิดมาในครอบครัวแบบไหนก็ต้องมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ มีสาธารณูปโภคที่เพียงพอ มีบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ มีอาชีพที่มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ส่วนการบรรลุความต้องการในลำดับที่สูงขึ้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะเสาะแสวงหา และนั่นก็ย่อมจะสอดคล้องกับความคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ของมาสโลว์ ที่ว่าด้วย แรงขับ แรงจูงใจ และการปรุงแต่งของแต่ละบุคคล

                  เนื่องจากมนุษย์มีเหตุผล มีแรงขับ และมีแรงจูงใจ ความต้องการของมนุษย์จึงไม่หยุดอยู่ที่ความต้องการทางกายเท่านั้น ความต้องการขั้นที่ 2 สำหรับมนุษย์ คือ ต้องการความมั่นคงปลอดภัย มนุษย์จึงต้องประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้ที่นอกจากจะบรรลุความต้องการขั้นที่หนึ่งแล้ว ยังต้องสร้างที่อยู่ให้มั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะในสภาพปัจจุบันนอกจากความมั่นคงปลอดภัยแล้วยังต้องอยู่สบายในทุกสภาพอากาศ ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องมั่นคงปลอดภัยทั้งจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม แล้วยังต้องปลอดภัยจากโจร ผู้ร้ายอีกด้วย จึงต้องมีการทำประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อบุคคลบรรลุความต้องการในขั้นนี้แล้ว ก็ยังจะต้องผลักดันให้ตนเองบรรลุความต้องการในขั้นที่ 3 คือ ให้เป็นผู้ที่ได้รับความรักและการยอมรับจากคนรอบข้างและคนอื่น ๆ ความต้องการของมนุษย์ยังไม่หยุดนิ่งอยู่แค่ขั้นที่ได้รับการยอมรับ ยังมีความต้องการในขั้นที่ 4 คือได้รับการยกย่องชมเชย มีหน้ามีตา และความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ในขั้นที่ห้า คือ ต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ซึ่งมนุษย์น้อยคนนักที่จะบรรลุความต้องการในขั้นนี้ เพราะจะต้องผ่านขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 มาอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพเสียก่อน ถ้าใช้สำนวนไทยที่ยึดถือความเชื่อแบบเดิม ๆ อาจกล่าวว่า คงต้องมีโชค วาสนา ปัญญา มาเสริมส่ง ส่วนสำนวนจีน อาจกล่าวว่า ต้องอาศัยความเก่ง เฮง และขยัน จึงจะบรรลุความต้องการขั้นสูงสุดนี้ได้ ตัวอย่างของบุคคลที่บรรลุความต้องการขั้นสูงสุดได้ย่อมไม่ธรรมดา ต้องเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งยวดเป็นที่ตั้ง ได้แก่ ศาสดาของศาสนาต่าง ๆ ผู้นำประเทศและเจ้าลัทธิทั้งหลายในโลกนี้ หรือ เป็นคนเช่น บิลล์ เกตส์ สตีฟ จ็อบส์ เป็นต้น

               ในมุมมองทางศาสนา ความสุขของมนุษย์ในแง่ของผู้ที่มองโลกตามสายกลางของพุทธศาสนา คือ การมีความพร้อมในด้านปัจจัยสี่ ได้แก่ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพจิตดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนนิยามความสุขของผู้สูงอายุแบบสากลประกอบด้วย การถึงพร้อมด้วยปัจจัยสี่ มีพื้นที่ส่วนตัวที่ตนเองคุ้นเคยสามารถใช้สอยตามต้องการ มีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจใกล้บ้านสามารถไปเองได้ หรือมีลูกหลานพาไป มีผู้คนแวะเวียนมาทักทายพูดคุย ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง หรือมีผู้ช่วยเหลือในระดับหนึ่ง อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น มีความรักความสามัคคีในครอบครัว การมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงก็จะต้องประกอบด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

               จากการสำรวจผู้ที่มีอายุยืนในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารประเภทปลาแม่น้ำ หรือ ปลาจากแหล่งธรรมชาติ ผักและผลไม้ตามฤดูกาล ส่วนในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่เกาะโอกินาวา ดินแดนที่มีคนอายุยืนที่สุดในโลก มีอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจเฉียบพลัน โรคมะเร็ง และโรคหัวใจน้อยที่สุดในโลก ผู้คนรับประทานอาหารตามอัตราส่วนสารอาหาร คือ น้ำตาลร้อยละ 25 เกลือแร่ร้อยละ 20 พืชผักร้อยละ 30 โปรตีน     ร้อยละ 20 และอื่นๆ ร้อยละ 5 โดยเฉพาะโปรตีนได้จากปลาทะเลน้ำลึกที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารที่สำคัญต่อโครงสร้างของสมองและเสริมสร้างระบบประสาท ลดระดับคอเรสเตอรอล และไตรเอซีลกลีเซอรอลในพลาสม่า ควบคุมระดับไลโพโปรตีน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของเกล็ดเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเลือด และโรคหัวใจ ทั้งยังป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งและโรคไขข้ออักเสบ อาหารที่รับประทานเป็นประจำ คือ ปลาดิบ ซุปมิโซะ เต้าหู้ สาหร่ายคอมบุจากกระแสน้ำอุ่น สาหร่ายโนริจากกระแสน้ำเย็น นอกจากการรับประทานอาหารแล้วก็จะต้องอยู่ในที่ที่มีอากาศดี มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ และได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ไม่อ้วนลงพุง ไม่ใช่นักดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่

                   ด้านการมีสุขภาพจิตดีนั้น มีองค์ประกอบหลายปัจจัย ปัจจัยแรกคือระดับการศึกษา ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาสูง จะมีความสามารถในการดูแลตนเอง และมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมได้ดี และมากกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำ ปัจจัยที่ 2 คือการมีงานอดิเรก ซึ่งหมายถึง วิถีทางในการใช้เวลาทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ นอกเหนือไป จากหน้าที่การงานประจำ หรือเป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่างด้วยความสมัครใจ เพื่อก่อให้เกิดความเพลิดเพลินแก่ผู้กระทำโดยตรง บทบาท และกิจกรรมใดก็ตาม ที่บุคคลถูกผลักดันให้เลิกกระทำ จะต้องมีกิจกรรมใหม่ขึ้นมาทดแทน และกิจกรรมหนึ่งที่ถูกเลือกเข้ามาคืองานอดิเรก ปัจจัยที่ 3 คือ เศรษฐกิจ ถ้าผู้สูงอายุมีฐานะดีและใช้เงินเป็น มีความสามารถในการดูแลตนเอง ทางด้านสุขภาพ ความพึงพอใจในชีวิตก็จะมีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ปัจจัยที่ 4 คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม โดยถ้าผู้สูงอายุเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือ ดูแลลูกหลานภายในบ้าน และให้คำปรึกษาแนะนำสังคมรอบตัวได้ดี ก็จะมีความสุขที่ได้เป็นส่วนร่วมที่สำคัญของสังคมรอบตัว อันเป็นการแสดงศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ดังนั้น ผู้สูงอายุจะต้องมีความสามารถแบบพหูสูตร รอบรู้ทุกเรื่อง และที่สำคัญต้องพึ่งตนเองได้ เป็นบุคคลที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ และประสบการณ์ เป็นผู้ถึงพร้อมทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า แม้ผู้สูงอายุจะเข้าสู่วันที่ร่างกายอ่อนแอเสื่อมถอยแล้ว แต่ก็ยังสามารถที่จะช่วยเหลือครอบครัวได้ เช่น ช่วยดูแลบุตรหลาน ขณะที่พ่อแม่ออกไปทำงาน ช่วยดูแลบ้านเรือน ผู้สูงอายุบางท่าน ยังช่วยหุงหาอาหารต่าง ๆ ช่วยทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามกำลัง การให้คำแนะนำปรึกษาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพการงาน ด้านการดำเนินชีวิต ด้านครอบครัว ด้านสังคม และอื่น ๆ ทักษะในวิชาชีพบางด้าน เช่น ช่างไม้ ช่างแกะสลัก ทำอาหารไทย ขนมไทย เย็บปักถักร้อย ดอกไม้ ดนตรี ฯลฯ มีการถ่ายทอดให้แก่บุตรหลาน และผู้ที่สนใจเพื่อดำรงวิชาชีพนั้นสืบไป ผู้สูงอายุที่มีทัศนะเกี่ยวกับตนเอง ในทางบวก และมองโลกในแง่ดี จะมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม และบทบาทใหม่ ๆ
 ในสังคมไทย ถึงแม้บุตรหลานแต่งงานมีเหย้ามีเรือนไปแล้ว ก็ยังนิยมอยู่ในครอบครัวเดียวกันกับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น บุตรธิดา นอกจากจะได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่แล้ว ยังได้รับการดูแลจากปู่ย่า ตายาย ทำให้เกิดความรักความอบอุ่น ภายในครอบครัว โอกาสที่เด็กจะไปเกเร หรือประพฤติผิดนอกลู่นอกทางจึงมีน้อยมาก ประสบการณ์ของผู้สูงอายุ สามารถช่วยส่งเสริม อบรมเลี้ยงดูกล่อมเกลาบุตรหลาน ให้เป็นพลเมืองดี เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ทั้งจากโรงเรียน และที่บ้าน ที่บ้านเด็ก ๆ จะได้รับการอบรม โดยเฉพาะในเรื่องความประพฤติ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ผู้สูงอายุจะคอยให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาทุก ๆ เรื่อง ความสัมพันธ์ของครอบครัวไทย แต่ดั้งเดิมได้หล่อหลอมความรัก ความเคารพแก่ผู้สูงอายุ อันที่จริงผู้สูงอายุโดยทั่วไปมีความคิดที่จะอาศัยพึ่งพาลูกหลาน ต่อเมื่อท่านทำไม่ไหวแล้วเท่านั้น

                     สังคมไทยในปัจจุบันและในอนาคต ความบีบรัดทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขนาดของครอบครัวลดลง และสมาชิกบางคนในครอบครัวยังต้องไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบุตรเพียงคนเดียว โอกาสที่ผู้สูงอายุจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวมีแนวโน้มจะสูงขึ้น ผู้สูงอายุเหล่านี้จึงต้องเตรียมตัวตั้งรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยการเตรียมเงินไว้สำหรับการจ้างคนดูแลส่วนตัวที่บ้าน หรือ หาข้อมูลที่เกี่ยวกับบ้านพักคนชรา หรือ สถานบริการสำหรับผู้สูงอายุที่เพียบพร้อมไปด้วยอาคาร สถานที่ เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง แต่ต้องเตรียมเงินก้อนใหญ่สำหรับความสุขสบายในบั้นปลายของชีวิต หรือ อาจจะเตรียมตัวตั้งรับเหมือนกับผู้สูงวัยชาวอเมริกันที่เปิดบ้านให้มีคนมาเช่าห้องอยู่ร่วมบ้าน ซึ่งนอกจากจะเป็นการหารายได้แล้ว ยังทำให้มีเพื่อนคุย หรือเพื่อการพึ่งพิงช่วยเหลือกันในยามจำเป็น หรือ การมีส่วนร่วมในการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้สูงอายุวัยเดียวกันได้พบปะสังสรรค์กัน ปรึกษาหารือในการที่จะช่วยเหลือสังคมได้ด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างมีความสุข อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเหมาะสม กล่าวคือ เป็นทั้งผู้ให้ และผู้รับประโยชน์จากสังคมเสมอเหมือนสมาชิกอื่น ๆ ในสังคม

                   ผู้สูงอายุแต่ละคน จะมีความสามารถแตกต่างกันไป จึงสามารถเลือกทำงานอาสาสมัคร ได้ตามความถนัด และความสนใจของแต่ละคน ซึ่งจะทำให้บทบาททางสังคมของผู้สูงอายุมีต่อเนื่อง การร่วมกิจกรรม และการมีบทบาทของสูงอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้สมวัย กิจกรรมที่น่าจะจัดให้กับผู้สูงอายุ ได้แก่ งานอดิเรกต่าง ๆ งานอาสาสมัคร เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในยามว่างมี 3 ด้าน คือ ด้านนันทนาการ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการบริการผู้อื่น ด้านนันทนาการ จะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น ท้าทาย กระตุ้นเตือนเปลี่ยนแนวคิด และได้สัมผัสกับคนอื่น ทำให้จิตใจตื่นตัวอยู่เสมอ และมีชีวิตชีวา ผู้สูงอายุควรทำในสิ่งที่ตนเองชอบ และสิ่งที่มีทักษะหรือความถนัดเป็นพิเศษ ทักษะในงานวิชาชีพ อาจนำมาใช้ในกิจกรรมนันทนาการได้ ควรเลือกหลาย ๆ กิจกรรม และต้องมีเวลาพอด้วย อาจเป็นงานอดิเรก เช่น วาดรูป ทำอาหาร การจัดสวน งานช่างไม้ ทอผ้า ทำหุ่น เกม เช่น บริดจ์ หมากรุก ปริศนาอักษรไขว้ กีฬา เช่น เดิน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน กอล์ฟ เทนนิส เล่นดนตรี แต่งเพลง การขับร้องเพลง การท่องเที่ยว การเขียนหนังสือ การบรรยายการท่องเที่ยว อาจเป็นผู้กระทำเอง เป็นผู้สอน หรือเป็นผู้บรรยายพิเศษก็ได้ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สูงอายุควรมีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองความอยากรู้ อยากเห็นความพึงพอใจ หรือเพื่อ ให้ได้รับความสำเร็จ ในแง่สุขภาพจิต การเรียนรู้จะเป็นการกระตุ้นจิตใจ และเป็นการแลกเปลี่ยนความสนใจกับผู้อื่น เช่น การเรียนในระบบการศึกษาผู้ใหญ่ หรือการศึกษานอกระบบ การเรียนในมหาวิทยาลัยเปิด และการอบรมระยะสั้น ๆ เป็นต้น และด้านการบริการผู้อื่น คือ การเสียสละ และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม โดยผ่านงานอาสาสมัคร ผู้สูงอายุอาจลองงานอาสาสมัครหลาย ๆ อย่างแล้วพิจารณาดูด้วยตนเอง ว่ากิจกรรมแบบไหนที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด บริการอาสาสมัครมีหลายแนวทางเช่น บริการทางสุขภาพอนามัย ช่วยเหลือกิจการของโรงพยาบาล หรือสถานบริการอนามัย เช่น หาทุนเยี่ยมผู้ป่วย และช่วยผู้ป่วยในการทำกิจวัตรบางประการ ช่วยเหลือหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ ซึ่งออกช่วยเหลือสังคม หรือประชาชนที่ทุกข์ร้อนด้วยเหตุต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ช่วยงานองค์กรการกุศล หรือองค์กรทางศาสนา เช่น หาทุน ประสานงาน และงานบริการ ช่วยงานชมรมและสมาคมต่างๆ เช่น เป็นผู้จัดการหรือประธาน ผู้สอน ผู้บริการหรือสมาชิก ในบรรดาสมาคม ชมรมหรือองค์กรต่าง ๆ องค์กรที่ดีคือ สมาคมหรือองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กและวัยรุ่น เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุได้สัมผัสกับคนหนุ่มสาว ทำให้ช่องว่างระหว่างวัยหายไป กลุ่มการเมือง เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่สนใจในทางการเมือง กลุ่มเฉพาะทาง เช่น กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้บริโภค กลุ่มสิทธิมนุษยชน บทบาทตามวิชาชีพ เช่น ถ้าเคยเป็นตำรวจ อาจเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน ถ้าเคยเป็นครู อาจสอน หรือบรรยายพิเศษ และถ้าเคยเป็นช่าง อาจเปิดอบรมความรู้ด้านแก้เครื่องยนต์ ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมบริการผู้อื่น การได้เสียสละ เช่น ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เป็นการแสดงว่าผู้อื่นยังต้องการท่าน อาศัยท่าน การช่วยเหลือผู้อื่นในการแก้ปัญหาของเขาจะทำให้ปัญหาที่เกิดกับท่านน้อยลงโดยอัตโนมัติ การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นซึ่งมีสภาพเลวร้ายกว่าท่านในบางเรื่อง เช่น สุขภาพอนามัยจะช่วยให้ท่านพึงพอใจในตนเอง การเสียสละต่อสังคม จะทำให้ภาพพจน์ของตนเองน่าพึงพอใจ การเสียสละหรือบริการผู้อื่น จะทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น และพลอยทำให้สุขภาพกายดีด้วย
                         ในส่วนของภาครัฐบาลจะต้องเป็นผู้กระตุ้นให้ชุมชน ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอยู่ของผู้สูงอายุในการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ด้านวิชาการผู้สูงอายุ ความรู้ด้านการบริหารโครงการให้ความช่วยเหลือ ติดต่อประสานงานต่าง ๆ แก่ชุมชน เมื่อชุมชนได้ตระหนักถึงความสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชนได้แล้ว จะมีคณะกรรมการ ซึ่งเป็นคนในชุมชน รับผิดชอบการดำเนินงานด้วยตนเอง ทั้งในด้านการบริหารงาน การให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน การดึงทรัพยากรในชุมชนมาร่วมดำเนินงาน โดยยึดหลักการดำเนินงานแบบชุมชนช่วยชุมชน ซึ่งจากหลักการนี้ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพสามารถเข้ามามีบทบาท โดยร่วมเป็นคณะกรรมการ ได้สอดคล้องกับงานของกรมอนามัย ที่มีโครงการพัฒนาผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ในชมรมผู้สูงอายุให้มีบทบาท ให้เป็นแกนนำผู้สูงอายุ และมีหน้าที่เป็นอาสาสมัคร

                           ดังนั้น การมีอายุยืนกับความสุขตามอัตภาพจะไปด้วยกันได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระดับการศึกษาของผู้สูงวัย และการเตรียมตัวตั้งรับสถานการณ์ของผู้สูงวัย สำหรับในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไปวัฒนธรรม ประเพณี ที่เป็นบรรทัดฐานของสังคมเป็นตัวควบคุมที่ทำให้บุตรหลานไม่ว่าจะอย่างไรก็จะต้องดูแลผู้สูงวัยซึ่งเป็นบุพการี แม้บางคนจะถูกทอดทิ้งในวัยเด็กแต่ความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับกรรม ความกตัญญูกตเวทีมีอิทธิพลสูงกว่า  โดยเฉพาะในชนบทที่มีการอบรมเลี้ยงดูให้เห็นความ สำคัญของการเคารพและปฏิบัติตามผู้ใหญ่ การตอบแทนผู้มีพระคุณ แม้จะมีข่าวเกี่ยวกับคนชราถูกทอดทิ้งปรากฏตามสื่อต่าง ๆ อยู่บ้าง แต่เมื่อคิดเป็นร้อยละแล้ว คนชราที่ได้รับการดูแลตามอัตภาพมีมากกว่า เพราะตามธรรมชาติของการทำข่าว สิ่งดี ๆ มักไม่เป็นข่าวเนื่องจากเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้โดยทั่วไป แต่สิ่งไม่ดีหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความสะ

หมายเลขบันทึก: 467214เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท