โครงการพัฒนาสมรรถนะการอ่าน


สมรรถนะการอ่าน

                                          

การพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษา    ชั้นปีที่ ๔-๖ ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำปาง 

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชุดโครงการ

การวิจัยและพัฒนาเครือข่าย
เชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้
 (LLEN)

โดยการสนับสนุนจาก สกว.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“มหกรรมการอ่าน” วันที่ ๕-๖ ตุลาคม ๒๕๕๔

ณ  ห้องประชุมจันทน์ผา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     อ่าน 

 

       อ่านคือเปิดหัวใจไปสู่โลก 

ไปสู่ทุกข์สุขโศกเจ้าปัญหา 

ไปสู่ความร้อนเย็นเห็นเต็มตา 

ไปสู่เหล่าบรรดามวลชีวิต 

เหมือนกะลาเปิดหงายออกใส่ของ 

เหมือนแสงทองสาดใส่นัยน์ตาเปิด 

เหมือนเทจากที่เคยอยู่รูนิดเดียว 

เหมือนเป็นเยี่ยงผู้พิชิตหิมาลัย

ที่ไม่รู้ก็ทันใดได้เรียนรู้

ที่ไม่สู้ก็พลันต้านทานได้

ที่ไม่เห็นก็เปิดเห็นไม่เร้นใน

ที่เคยเฉยชาใจก็ตื่นพลัน

ได้โอบโลกโอบชีวิตสนิทแนบ

ได้เปิดโลกคับแคบให้หฤหรรษ์

ได้ซาบซึ้งตรึงซ่านผ่านชีวัน

ได้เรียนรู้มหัศจรรย์ผ่านตัวเรา

โดยสองมือที่โอบป้องประคองอ่าน

โดยสองตาที่แลผ่านเพื่ออ่านเข้า

โดยหนึ่งใจที่รับรสกำหนดเร้า

โดยหนึ่งสมองที่รับเอาเต็มอัตรา

จึงเป็นคนเต็มในที่ได้อ่าน

จึงเป็นคนพร้อมหว่านเมล็ดกล้า

จึงเป็นคนทนได้เสมอมา

เพราะหนังสือจึงรู้ค่าคำว่า “คน”

      อ่านคือเปิดหัวใจไปสู่โลก

อ่านเพื่อดับทุกข์โศกอันสับสน

อ่านเพื่อช่วยคนอื่นให้ยืนตน

อ่านเพื่อค้นอ่านเพื่อคิดอุทิศใจ

 

ผู้แต่ง : ชมัยพร  แสงกระจ่าง   (แต่งบทกวีนี้ในโอกาสวันสัมมนานักอ่าน ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑
                                                   ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศให้เป็นวาระการอ่านแห่งชาติประมาณ ๑ ปี)

คัดจาก : วารสารสกุลไทย คอลัมน์บอกเล่าสู่กันฟัง : ในโอกาสกรุงเทพ ฯ เมืองหนังสือโลก (ปีที่ ๕๗ ฉบับที่ ๒๙๗๒

 

                ประจำวันอังคารที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔)

 

 

 

             กราบสวัสดีผู้บริหารโรงเรียน  คณะครู  และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เป็นกัลยาณมิตร       ที่ดีตลอดระยะเวลา ๒ ปี ที่ผ่านมาของโครงการวิจัย “การพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔-๖ ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำปาง” (Development of Elementary Children Grade ๔-๖ with Reading Literacy through Lampang Learning Enrichment Network : LLEN) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ในนามหัวหน้าโครงการและทีมงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางต่างซาบซึ้งในน้ำใจไมตรีที่ดีเสมอมาของโรงเรียนในเครือข่าย และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนโดยการร่วมดำเนินกิจกรรมของโครงการเพื่อมุ่งพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนในจังหวัดลำปางในรูปแบบเครือข่ายหนุนเสริม

                กิจกรรมดี ๆ ที่พวกเราต่างได้เรียนรู้และได้องค์ความรู้ร่วมกันในการร่วมโครงการครั้งนี้ คือ ได้ร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (Knowledge Management : KM) เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ร่วมกันไปปรับใช้และพัฒนานักเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายตามบริบทของท้องที่  กิจกรรมหนุนเสริมที่ทีมงานและภาคีหนุนเสริมได้จัดกิจกรรมหนุนเสริมให้คุณครูในโครงการมีกำลังใจและเกิดพลังที่จะสรรค์สร้างนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอน       เป็นต้นว่าการฝึกอบรมเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน  ค่ายเสริมทักษะการอ่าน  คุณครูจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง ๒๐ โรงเรียน  ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดลำปาง   ต่างได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเป็นกัลยาณมิตรทางวิชาการต่อกัน การไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนแต่ละครั้ง ทีมงานนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ทราบว่าคุณครูทุกโรงเรียนต่างนำองค์ความรู้ที่ได้รับทั้งโดยตรงจากโครงการและโดยอ้อมจากการเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายและด้านอื่น ๆ มาพัฒนานักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง พวกเราต่างชื่นชมยินดีทุกครั้งเมื่อได้ไปเยี่ยมเยียนโรงเรียน ในรอบปีที่ผ่านมาโครงการได้จัดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและกิจกรรมตลาดนัดทางวิชาการเพื่อให้ทีมงานนักวิจัย ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และภาคีเครือข่ายหนุนเสริมทุกภาคส่วนได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันเพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดในรอบปีที่ ๒ นับเป็นการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีคุณค่ายิ่งของทุก ๆ ฝ่าย 

               นับเนื่องจากการดำเนินโครงการมาตั้งแต่เดือนกันยายน  ๒๕๕๒   จวบถึงปัจจุบันเดือนตุลาคม ๒๕๕๔  เป็นระยะเวลากว่า ๒ ปี    เราจึงต้องสรุปบทเรียนด้านการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียน  ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  โดยอ้างอิงผลการพัฒนานักเรียนเชิงประจักษ์ในรูปผลคะแนนการวัดผลทางการเรียนรู้ซึ่งเป้าหมายของโครงการมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถรับสารที่สื่อมาในรูปของสิ่งพิมพ์หรือข้อเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้  แยกแยะสารที่ส่งมาทั้งที่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาตามตัวอักษรและที่เป็นนัยแฝงอีกทั้งยังสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของสารที่ส่งมาได้ด้วย  ทั้ง  ๓ ระดับ  ได้แก่  ระดับ ๑ อ่านเอาเรื่อง  ระดับ ๒ อ่านเชิงวิเคราะห์  และระดับ ๓ อ่านเชิงวิพากษ์  และสามารถนำการอ่านไปพัฒนาตนเองได้ในชีวิตจริง 

   แม้ว่าโครงการต้องสรุปบทเรียนเพื่อรายงานผลการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ให้เป็นข้อมูลกับโรงเรียนและเป็นฐานข้อมูลเพื่ออ้างอิงทางวิชาการแก่ผู้สนใจการศึกษาเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านนั้น  แต่การสานสัมพันธ์ฉันมิตรของทุกภาคส่วนที่เป็นภาคีเครือข่ายหนุนเสริมโครงการยังเชื่อมสัมพันธ์กันต่อไปอย่างยั่งยืน  เพราะการพัฒนาสมรรถนะการอ่านให้แก่นักเรียนในโรงเรียนยังคงต้องนำหลักการ  แนวคิด  กระบวนการ  วิธีการ  ไปสานต่อเพื่อพัฒนาเด็ก ๆ ให้มีสมรรถนะการอ่านและสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมพร้อมที่จะก้าวไปเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นสูงต่อไป

  เอกสารเผยแพร่ฉบับนี้  ทีมผู้วิจัยได้สรุปการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา  ๒  ปีที่ผ่านมา  สรุปมุมมองของตัวแทนผู้บริหารโรงเรียนผ่านโครงการพัฒนาสมรรถนะการอ่านและภาพรวมการสะท้อนมุมมองจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  เพื่อให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ทราบภาพรวมโครงการโดยสังเขป

              คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางในบทบาทภาควิชาการซึ่งเป็นแกนประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน   ทั้งภาคีเครือข่ายหน่วยงาน   องค์กร   และบุคคล   ที่มีส่วนร่วม  หนุนเสริมโครงการวิจัยครั้งนี้ 

              ขอขอบพระคุณในน้ำใจกรุณาที่ภาคีเครือข่ายมีต่อโครงการตลอดมาซึ่งมิอาจประเมินค่าได้      ในที่นี้จึงขอกล่าวรายนามแทนคำขอบพระคุณด้วยความรักและเคารพตลอดไป

 

 โรงเรียนเครือข่ายที่ร่วมโครงการพัฒนาสมรรถนะการอ่าน ๒๐ โรงเรียน

            โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๑

                        w โรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ            w โรงเรียนวัดบ้านแขม

                        w โรงเรียนสบเมาะวิทยา              w โรงเรียนวัดสบจาง

                        w โรงเรียนบ้านนาแช่                   w โรงเรียนวัดท่าสี

                        w โรงเรียนวัดหัวฝาย                    w โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา

                        w โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

 

            โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๒

                               w โรงเรียนบ้านแม่กัวะ                 w โรงเรียนบ้านหล่าย (เทศบาล ๑)

                        w โรงเรียนอนุบาลสบปราบ           w โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง

                        w โรงเรียนชุมชนบ้านจัววิทยา

 

              โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๓

                        w โรงเรียนบ้านแป้น                    w โรงเรียนชุมชนบ้านสา

                        w โรงเรียนบ้านใหม่ผ้าขาว                        w โรงเรียนบ้านหนองนาว

                        w โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่ม              w โรงเรียนบ้านแม่ตา

 

 

 

ภาคีเครือข่ายหนุนเสริมทุกภาคส่วน

     หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและโครงการวิจัยอื่น ๆ

มหาวิทยาลัยราภัฏลำปาง 

คณะครุศาสตร์ 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
            โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนภาคเหนือตอนบน (Child Watch)
            ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนล้านนา 

 

     หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยที่หนุนเสริมโครงการ ฯ

 

          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๑-๓

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  แม่เมาะ (กฟผ.แม่เมาะ)

            สมาคมพัฒนาแม่เมาะ

ศูนย์ประสานงานวิจัยท้องถิ่น (ลำปาง) 

            สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ 

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร  

เทศบาลตำบลแม่เมาะ

            องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง 

            องค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือ 

            องค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก

            องค์การบริหารส่วนตำบลสบป้าด

            นางสาวพิมพ์ใจ นิศาวัฒนานันท์  (อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต ๑) 

เทศบาลตำบลสบปราบ 

            องค์การบริหารส่วนตำบลสบปราบ 

            องค์การบริหารส่วนตำบลสมัย

            องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ

            ชมรมครูภาษาไทยจังหวัดลำปาง

บริษัทเหมืองบ้านปู จำกัด (มหาชน) 

            มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย (จังหวัดลำปาง)  

            กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช 

            อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน 

            บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด 

            เทศบาลตำบลแจ้ห่ม  

            เทศบาลตำบลบ้านสา

            องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร

            องค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน

           

              

            

               โรงเรียนบ้านแม่กัวะ

               ในการศึกษาที่ผ่านมาโรงเรียนบ้านแม่กัวะได้มีโอกาสเข้าร่วมกับโครงการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการส่งเสริมในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนเช่นกิจกรรม ภาษาไทยวันละคำ  ภาษาอังกฤษวันละคำ หนังสือเล่มเล็ก การวาดภาพจากนิทานที่อ่าน อ่านวิเคราะห์สำนวนสุภาษิตไทย  การวิเคราะห์ฉลากสินค้าฯลฯและทางมหาวิทยาลัยราชภัฏได้มาตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจแก่ครูในการจัดกิจกรรมและร่วมจัดกิจกรรมกับครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่กัวะ เช่น  ค่ายสัมพันธ์อ่านเพื่อชีวิตพินิจสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

                โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา  สถานศึกษา  ครูผู้สอน   ครูบรรณารักษ์   ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเด็กและเยาวชนได้อ่านหนังสือหลากหลายประเภท  ได้รับทราบและอ่านหนังสือจาก  แหล่งความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นเด็กและเยาวชนได้รับการสนับสนุน ด้านการอ่านและการเรียนรู้จาก โรงเรียนและครอบครัว และได้แสดงออกถึงศักยภาพการอ่าน  การเขียน  การพูด    การบูรณาการการอ่านกับการเรียน   และการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งยังได้แสดงความสามารถความคิดสร้างสรรค์ด้านการอ่านและ การเรียนรู้อย่างภาคภูมิใจ  และมีเจตคติ ที่ดี  มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทางโรงเรียนเห็นว่าและควรมีการจัดโครงการนี้ในปีต่อ ๆ ไป เพื่อเป็นการกระตุ้น หนุนเสริม ให้เยาวชน มีการพัฒนาสมรรถนะการอ่านให้มากขึ้นและเพื่อปลุกจิตสำนึกของคนในสังคม ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน แต่โครงการยังมีหน่วยงานหลายหน่วยงานมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย  หากโครงการนี้จะประสบผลสำเร็จมากกว่านี้หน่วยงานต่างๆ ภายในชุมชนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนส่งเสริมให้มากกว่าที่เป็นอยู่

 

            โรงเรียนชุมชนบ้านสา                           

              โครงการและโครงการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านสา                             ได้จัดกิจกรรม ดังนี้

                โครงการภาคีสี่ฝ่ายร่วมใจสร้างนิสัยรักการอ่าน

                   โดยครู  ผู้ปกครอง  กรรมการโรงเรียน และหน่วยงานองค์อื่นอื่นในพื้นที่ตำบลบ้านสา ร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนาการอ่านของนักเรียน  ดังนี้     

 

                   ๑) จัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์ เช่น  อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์  อ่านแผ่นป้ายโฆษณา   แผ่นพับต่างๆ แล้ว  นำมาวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน

                ๒) จัดกิจกรรมการอ่านแบบวิพากษ์   รูปแบบ  คือ   การอ่านบทความจากหนังสือ วารสาร  

ข่าวสารต่าง ๆ  การอ่านเนื้อเพลง  อ่านสลากสินค้า  ให้ครูและนักเรียนร่วมกันวิพากษ์      

 

 

               ๓) จัดกิจกรรมการอ่านออกเสียง เช่น อ่านหนังสือหน้าห้องเรียน  อ่านหนังสือให้พ่อแม่ฟัง 

                 ๔) จัดกิจกรรมแข่งขันการอ่านในห้องสมุด  เช่น อ่านออกเสียง  อ่านจับใจความตอบคำถาม

                ๕) จัดกิจกรรม “คนชุมชนชอบอ่านข่าว”  ให้นักเรียนทุกชั้นมาอ่านข่าวในรายการเสียงตามสาย  ทุกวัน

                ๖) จัดประกาศยกย่องเชิดชูนักเรียนที่ชนะการแข่งขัน หรือ มีพัฒนาการอ่านที่ดี  จัดป้ายนิเทศ  ทำเนียบคนดี

                ๗) กิจกรรมส่งเสริมการเขียน  โดยให้นักเรียนเขียนคำตามบัญชีคำในระดับชั้น  การเขียนคำศัพท์   โดยการบันทึกในสมุดธนาคารคำ

                ๘) กิจกรรมการอ่านตามเพลง  โดยให้นักเรียนฝึกการร้องเพลง   การวิเคราะห์อรรถรสภาษาจากเนื้อเพลง  วิพากษ์บทเพลง   การวาดรูปตามเพลง

 

โรงเรียนบ้านแม่ตา  

             โรงเรียนบ้านแม่ตากับการร่วมโครงการวิจัย “การพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔-๖ ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้ของจังหวัดลำปาง”

               การจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการอ่านของนักเรียน โรงเรียนได้ดำเนินการพอสรุปได้อย่างย่อดังนี้

               ๑. บันทึกการอ่านของนักเรียน  เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้อ่านหนังสือทุกประเภททุกวัน แล้วสรุปองค์ความรู้แล้วเขียนบันทึกในสมุดบันทึก เพื่อส่งให้ครูประจำชั้นได้ตรวจสอบสัปดาห์ละ  ๑  ครั้ง

         ๒. อ่านข่าวเที่ยงวัน  เป็นกิจกรรมที่กำหนดให้นักเรียนอ่านความรู้  ข่าวสาร ต่าง ๆ

หลังจากรับประทานอาหารกลางวันโดยหมุนเวียนนักเรียนในแต่ละวัน

         ๓. ห้องสมุดเคลื่อนที่  เป็นกิจกรรมที่นำหนังสือใส่ตะกร้า  นำไปให้แต่ละชั้นได้อ่าน โดย

หมุนเวียนกันในแต่ละชั้นต่อสัปดาห์

         ๔. ขวดออมคำ  เป็นกิจกรรมที่เขียนคำพื้นฐานตามระดับชั้น  แล้วให้นักเรียนแต่ละคน

จับแผ่นคำขึ้นมาอ่าน  ให้คุณครูฟังคำไหนอ่านถูกต้องให้นักเรียนใส่ลงในขวดออมคำของแต่ละคน

         ๕. การบูรณาการอ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  เป็นกิจกรรมที่กำหนดให้ครูผู้สอนในแต่

 

ละกลุ่มสาระกำหนดให้นักเรียนอ่าน /ค้นคว้า/ทำรายงาน

 



          ๖. การทำหนังสือพิมพ์หน้าเดียว  เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้จัดทำข่าวสารทั้งในและ

นอกโรงเรียน แล้วนำติดบอร์ดและประชาสัมพันธ์ ให้นักเรียนอ่าน รับรู้ข่าวสารข้อมูลและศึกษาค้นคว้าต่อไป

         ๗. การอ่านบทร้อยแก้ว/คำประพันธ์ ในทุกวันศุกร์ของแต่ละชั้น โดยให้นักเรียนจัดเตรียม

บทความ หรือเนื้อเอง และจัดกิจกรรมแข่งขันการอ่านในโอกาสจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น วันแม่ฯ  วันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ

 

โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่ม

 

               การอ่านเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับประถมศึกษา ผลการวิจัยเกี่ยวกับการอ่านของคนไทย ทุกหน่วยงานสรุปตรงกันว่า คนไทยไม่ชอบอ่าน ผลการวิจัยนี้มีการรายงานมานานหลายปีแล้ว แต่ก็มีหน่วยงานเพียงไม่กี่หน่วยที่ให้ความสำคัญและสนใจในปัญหานี้ มีแต่ผู้รู้ปัญหาแต่ไม่ค่อยมีผู้แก้ปัญหา สุดท้าย ไม่มีที่สรุป ก็ลงเอยว่าครูสอนไม่ดี

               โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่ม รับรู้ปัญหาด้านการอ่านเฉพาะของโรงเรียนมาหลายปีแล้ว มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยกิจกรรมหลายๆ กิจกรรม การแก้ไขก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ก็พอใจในการแก้ปัญหาของโรงเรียน

               โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายเชิงพื้นที่หนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ (LLEN) เข้ามาพบพูดคุยถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการและเป้าหมาย โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่มตอบรับการดำเนินงาน แต่มีเงื่อนไขบางประการกับทีมงานวิจัย โดยมุมมองของผู้บริหารสถานศึกษา เชื่อว่าการดำเนินงานน่าจะเป็นประโยชน์กับการแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนได้ดีในระดับหนึ่ง
จึงตัดสินใจร่วมงานดังกล่าว

              บทสรุปของการดำเนินงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลแจ้ห่ม มองว่าถ้าจะให้การดำเนินงานเกิดวิถีรักการอ่านและมีทักษะในการอ่านของนักเรียน ต้องดำเนินงานอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ทุกภาคส่วนร่วมมือมากกว่านี้ ความตระหนักต้องออกมาจากโรงเรียน แล้วขยายผลถึงภาคส่วนอื่นๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดำเนินการในงานที่มีคุณค่ามาเพียงครึ่งทาง หากหยุดลงจะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก หากจะดำเนินการต่อ ขอให้สะท้อนภาพจริงและภาพลวงตาที่เกิดขึ้น จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่มดำเนินงานนี้มาก่อนที่จะมีเครือข่าย ช่วยเหลือโครงการนี้มาตามสภาพที่สามารถอำนวยได้ และยินดีที่จะร่วมงาน หากโครงการไม่สิ้นสุดลงแค่นี้ ขอเป็นส่วนเล็กๆ ในการสนับสนุน และเป็นกำลังใจแก่ผู้คิดการดีต่อไป

 

 

 

 

 

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี ฯ

 

              โครงการนี้เริ่มดำเนินงานในปีการศึกษา ๒๕๕๓ จนถึงปี ๒๕๕๔ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการอ่านให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ โดยทางโรงเรียนได้ส่งครูและผู้บริหารเข้าร่วมอบรมตามแผนการดำเนินงานของโครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ผลจากการเข้าร่วมอบรมได้นำมาใช้กับโรงเรียนดังนี้

๑.     ผู้บริหารประชุมคณะครูในระดับชั้น

๒.     จัดทำกิจกรรมที่จะมารองรับโครงการนี้ กิจกรรมที่จัดทำมีดังนี้

     กิจกรรมในห้องเรียน

-          กิจกรรมฝึกอ่านจากบทเรียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกลอง

-          กิจกรรมอ่านแล้วจับใจความสำคัญหรือวิเคราะห์การอ่าน

-          กิจกรรมอ่านแล้ววาดภาพหรือสรุปบทเรียนที่อ่าน    

กิจกรรมนอกห้องเรียน

-          กิจกรรมการจัดมุมอ่านตามเรือนนอน

-          กิจกรรมพี่สอนน้องอ่าน

-          กิจกรรมเพื่อนชวนเพื่อนอ่าน

-          กิจกรรมบูรณาการงานในห้องสมุด

-          กิจกรรมมุมแหล่งเรียนรู้ชวนหนูอ่าน

-          กิจกรรมต้นไม้และอาคารพูดได้

-          กิจกรรมทำหนังสือเล่มเล็ก

-          กิจกรรมบูรณาการการอ่านร่วมกับเกมส์ในวิชายุวกาชาด – ลูกเสือ

กิจกรรมนอกสถานศึกษา

-          ทัศนศึกษานอกสถานที่ สรุปผลการไปทัศนศึกษาโดยการเขียนสื่อสารส่งครู

-          กิจกรรมจิตอาสา เขียนงานที่ไปทำประโยชน์นอกสถานที่ส่งครู

-          กิจกรรมปลูกปาพัฒนาภาษา

๓.     มอบหมายงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบในสายงานในโรงเรียน

๔.     ผู้รับผิดชอบเขียนแนวทางการปฏิบัติในการทำกิจกรรม

๕.     ดำเนินงานตามแนวทางการปฏิบัติที่เขียนไว้

๖.     สรุปงานเสนอต่อผู้บริหาร

๗.     ปรับปรุงและพัฒนางาน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้

๑.     ครูมีการพัฒนาการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น

๒.     นักเรียนมีสมรรถนะในการอ่านเพิ่มมากขึ้น

๓.     นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดีขึ้นทุกกลุ่มสาระ

๔.     นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันทักษะทางด้านภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น

     ความประทับใจที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ

            ประทับใจคณะทำงานในโครงการนี้ทุกท่านที่มีความตั้งใจจริงในการทำงานจน

 

โครงการดำเนินงานลุล่วงไปได้ด้วยดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการวิจัย  “การพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำปาง"

     

แกนประสานเครือข่าย จังหวัดลำปาง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

119 หมู่ 9 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ  ชั้น 2 ถนนลำปาง – แม่ทะ  ตำบลชมพู

 อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง  โทร. 054 – 237399 ต่อ 3832 – 33

 โทรสาร 054 – 237389     มือถือ 08-1883 4913, 08-1884 1096

 E-mail : [email protected]

 www.rsc.lpru.ac.ch

คำสำคัญ (Tags): #สมรรถนะการอ่าน
หมายเลขบันทึก: 466464เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2011 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • อาจารย์ครับ
  • เข้าระบบแล้วแก้ไขบันทึกนะครับ
  • ผมเกือบกลับมอไม่ได้
  • น้ำท่วมที่ปิ่นเกล้า
  • ต้องอ้อมไปทางธนบุรีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท