กำเนิดยางพาราในประเทศไทย


พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของชาวบ้าน กล้าลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมากมาย

กำเนิดสวนยางพาราในประเทศไทย

        ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลุกยางกันมีผลดีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น
       จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมา  หุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสถลฯรีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที
       ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง  จังหวัดตรังซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือ ผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

          จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า ยางเทศา

         ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสนครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ   รองลงมาจากข้าว    ทำรายได้ให้กับประเทศปีละนับหมื่นล้านบาท    พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นนบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุฉะนี้

                จากการที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นคนทำงานจริง เข้าถึงปัญหาของชาวบ้าน กล้าลงโทษคนทำผิด ปูนบำเหน็จความดี ให้แก่คนทำดี พยายามนำสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้พบเห็นในต่างประเทศมาสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างมากมาย  ทั้งยังใช้นโยบายให้คนต่างชาติมมาลงทุน และมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยน โดยไม่ให้ส่วนรวมเสียเปรียบซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี้ เป็นพื้นฐานอันส่งผลประโยชนน์มหาศาลมากกระทั่งทุกวันนี้อนุสาวรีย์ หล่อใหญ่กว่าตัวจริงของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี สร้างขึ้นที่ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรังและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช   2494 หลังจากท่านถึงแก่อนิจกรรม 39 ปี นอกจากอนุสาวรีย์นี้แล้ว ถนนสายต่าง ๆ ทั้งในภูเก็ต ตรัง กันตัง ก็ตั้งชื่อตามพระยารัษฎา เช่น ถนนรัษฎา
        ถนนรัษฎานุสรณ์ เป็นต้นเพื่อเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเกียรติคุณของท่าน ให้เยาวชนรุ่นหลังระลึกถึงตลอดไป

จาก....สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

       สาเหตุที่ผมนำเรื่องนี้มาเสนอ ก็เพื่อระลึกถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภัคดี ผู้มีบุญคุณต่อชาวตรังและชาวใต้ทุกคน ซึ่งตัวผมเองเป็นคน อ.กันตัง จ.ตรัง และอาชีพการทำสวนยางก็เป็นอาชีพที่คอยเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของบรรพบุรุษของผมและของคน จ.ตรัง เกือบทุกคน ดังนั้นพระยารัษฏานุประดิษฐ์ฯ จึงเป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ผมเคารพยกย่อง จึงได้นำเรื่องนี้มาเสนอเพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความดีของท่าน

หมายเลขบันทึก: 46550เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เอ่อ ...สวัสดีคะเพื่อนบ้านเดียวกัน
คือ เพื่อนอุ้ยอยากจะบอกเพื่อนเกียรติว่า...



"ช้าน กำลังจะเอามาลงพอดีเลย"



T________________T" อุ้ยเศร้า อิอิ



ไม่เป็นไรคะ .. เดี๋ยวblog เกียรติ กับ blog อุ้ย จะมีเนื้อหา เกี่ยวกับ จังหวัดตรัง มา link กันเนอะๆๆ



* present จังหวัดกันเต็มที่เลย 555
* บรรจุลงลังไม้ฉำฉา<<~ แต่จากแหล่งที่มาของเรา มันบอกว่า " พระสถลสถานพิทักษ์ เอาเมล็ดยางพารา มาใส่กล่องใส่แคร็กเกอร์ " นะ -*- แล้วอันไหนกันหน๊ออที่ถูก ...

สาระสนเทศ สับสนๆ

 

ดีครับทำให้รู้ว่าใครเป็นคนนำยางพารามาปลูกเป็นแรกและปัจจุบันยางพาราก็เป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

 

 

...........ขอบคุณคับ..........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท