ผลกระทบของการมีพนังกั้นน้ำ ต่อภาวะน้ำท่วม


ถ้าไม่รีบแก้ไขก็จะมีปัญหาเพิ่มขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆไป มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ผลกระทบของการมีพนังกั้นน้ำ ต่อภาวะน้ำท่วม

                สมมุติว่ามีพื้นที่รับน้ำตามปกติอยู่1ตารางกม. ในภาวะที่มีน้ำท่วมสูง1เมตร ในขณะใดขณะหนึ่ง

                ถ้าพื้นที่นั้นจะสร้างพนังกั้นน้ำสำหรับป้องกันน้ำไม่ให้ท่วมชุมชนขนาด0.1ตร.กม.(=10%ของพื้นที่รวม) จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

  1. ผลจากการมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง : - อันนี้ตรงไปตรงมา เห็นได้ง่าย แต่มีปัญหาค่อนข้างน้อย คนส่วนใหญ่จึงไม่ตระหนัก ว่าพนังกั้นน้ำนั้นสร้างความเดือดร้อนมากนัก  คือจะทำให้ระดับน้ำที่ท่วมนั้นเพิ่มขึ้นมาอีกแค่ประมาณ10ซม. (คำนวนได้จาก ปริมาตรน้ำ หารด้วยพื้นที่รับน้ำ=ความสูงของน้ำ  .. จริงๆแล้วจะเป็นประมาณ11ซม.)
  2. ผลจากการระบายน้ำได้น้อยลง+ช้าลง : - ผลอันนี้จะเห็นได้ยากกว่า คนทั่วไปจะไม่ค่อยทราบ หรือไม่ได้คิดถึง แต่ความจริงเป็นผลกระทบที่ร้ายแรงและยาวนานกว่าผลของข้อ1.มาก

สมมุติต่ออีกว่าพื้นที่ภายในพนังกั้นน้ำนั้นเป็นรูปยาวตลอดความยาวของพื้นที่ใหญ่ ซึ่งจะมีผลกีดขวางการระบายน้ำน้อยที่สุด และคำนวนง่ายด้วย (ถ้าพื้นที่เป็นแบบอื่นๆจะเกิดปัญหามากกว่านี้ เช่น ในทุกรูปแบบที่มีขอบทุกด้านซ้อนอยู่ในพื้นที่ใหญ่ ,มีขอบหยักไปมา , แบ่งเป็นหลายพื้นที่ , เป็นรูปปีกกา , และแบบสุดท้ายถ้าเป็นรูปยาวไปตลอดความกว้างของพื้นที่ใหญ่ก็จะกั้นน้ำได้มากที่สุด คือกั้นหมด100%)

2.1 สถานการณ์ที่1. ถ้าน้ำหลากมาน้อย ยังระบายได้ทันในแต่ละวัน การมีพนังมากั้นจะไม่ส่งผลมากนักจึงไม่ค่อยต่างไปจากผลของข้อ1.อย่างเดียว

2.2 สถานการณ์ที่2. ถ้าน้ำหลากมาเท่าๆกับความสามารถระบายน้ำเดิม การมีพนังมากั้นจะทำให้เหลือน้ำสะสมในแต่ละวัน ระดับน้ำที่ท่วมก็จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยทุกๆวัน เช่นสมมุติว่าเหลือวันละ90,000ลบ.เมตร(จริงๆจะมากกว่านี้) จะทำให้น้ำสูงขึ้นวันละประมาณ10ซม. แต่จะสูงขึ้นทุกวัน ดังนั้นถ้าน้ำหลากมาติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นมาก (สัปดาห์ละ70ซม. ถ้า10วันก็1เมตร ฯลฯ)

2.3 สถานการณ์ที่3. ถ้าน้ำหลากมามากกว่าความสามารถระบายน้ำเดิมอยู่แล้ว ก็จะมีน้ำเหลือสะสมในแต่ละวันมากขึ้นเป็นทวีคูณ ดังนั้นไม่ว่าเราจะพยายามเสริมพนังให้สูงขึ้นอีกไปเท่าไรก็ไม่พอ จนในที่สุดก็จะล้นพนังเข้ามาจนได้ หรือไม่ก็อาจเกิดแรงดันน้ำสูงจนเกินขีดความสามารถโดยธรรมชาติของพนังแต่ละแบบนั้นจะทนได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พนังกั้นน้ำในที่ต่างๆพังทลายลงดังที่เห็นอยู่ในหลายๆแห่งครับ

 3.   ทำให้ระดับน้ำลดลงได้ช้า : - ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของพื้นที่ภายในผนัง ว่าจะกีดขวางการไหลของน้ำมากน้อยเพียงใด ,มีพนังกั้นน้ำหลายแห่งอยู่ใกล้ๆกันหรือไม่ , และที่ตั้งของพนังกั้นน้ำอยู่ในตำแหน่งขวางทางระบายน้ำสำคัญของบริเวณนั้นหรือไม่  ซึ่งปัจจุบันในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางก็จะมีปัญหาทั้งหมดนี้ครบทุกอย่างอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่รีบแก้ไขก็จะมีปัญหาเพิ่มขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆไป มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 465231เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท