ข้อพิจารณาในการทดลองระบบการบริหารจัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับจังหวัด


ข้อพิจารณาสำคัญ ๕ เรื่อง ที่ต้องพิจารณาในการทดลองระบบการจัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับพื้นที่ คือ (๑) การมีแผนที่ในการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งระบบ (๒) มีความชัดเจนว่าจะทำอะไรภายใต้จุดแข็งของเครือข่ายในพื้นที่ และ ต้องการเสริมในส่วนไหน (๓) มีโครงสร้างในการบริหารจัดการกองทุนจาก ๔ ส่วน คือ ภาคนโยบาย ภาคประชาชน ภาควิชาการ และ ตัวแทนจากสภาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๔) มีหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนที่ชัดเจน เน้นการสร้างนวัตกรรม และ กระจายอย่างการสนับสนุนอย่างทั่วถึง (๕) รูปแบบของการสนับสนุน ที่เน้น การสร้างความยั่งยืนในการทำงานได้ด้วย

ไ้ด้ลงพื้นที่ในการหารือกับเครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก เยาวชน ครอบครัว ในการขับเคลื่อนร่างกฎหมายกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายโดยเฉพาะในส่วนของศูนย์ประสานงานเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กในภาคเหนือ ภาคอีสาน รวมทั้ง ภาคใต้

หลังจากได้ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย พบว่า เรามีประเด็นในการทำงาน ๒ ส่วน คือ (๑) การทดลองระบบการบริหารจัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับพื่้นที่ และ (๒) การทดลองกระบวนการผลักดันกฎหมายโดยภาคประชาชนเข้าร่วมเสนอชื่อ ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ เพื่อทดลองบทบัญญัติทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ 

ในส่วนแรก คือ การทดลองระบบการบริหารจัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับพื้นที่ จะช่วยทำให้เกิดความรู้ ความเ้ข้าใจเกี่ยวกับกองทุน และ ยังเป็นการทดลองการสร้างการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายในระดับพื้นที่ ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า ประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนฯในระดับพืินที่นี้เอง จะทำให้เกิด "องค์ความรู้" ที่ใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพเมื่อกองทุนเกิดขึ้นจริง ก็จะมี "แบบจำลอง" ของการบริหารจัดการที่สามารถนำมาประยกุต์ใช้ได้เลย

อย่างไรก็ตาม ในการทดลองการบริหารจัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับพื้นที่ คงต้องคำนึงถึงเรื่องสำัคัญ ๕ เรื่อง

เรื่องแรก ต้องมีฐานข้อมูล ทั้งด้านสถานการณ์ ตัวอย่างประสบการณ์ในการจัดการปัญหา และ ฐานข้อมูลเครือข่าย เพื่อให้สามารถนำไปสู่การกำหนดทิศทางของการทำงานภายใต้กองทุนฯได้

เรื่องที่สอง ต้องกำหนดแผนที่ในการทำงาน และ แผนที่ผลลัพธ์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง  

เรื่องที่สาม ต้องออกแบบโครงสร้างการบริหารจัดการที่สามารถนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนในกองทุนด้วย โดยกรรมการกองทุนที่ควรประกอบด้วย ๖ ส่วนคือ (๑) ฝ่ายนโยบาย โดยเฉพาะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำกฎหมาย นโยบายในระดับท้องถิ่นและงานสมัชชา (๒) ภาควิชาชีพสื่อ (๓) ภาคประชาชน (๔) ภาควิชาการ   (๕) ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินการด้านกองทุน และ (๖) ตัวแทนจากสภาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 


เรื่องที่สี่ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อสนับสนุนจากกองทุน ต้องคำนึงถึง การกระจายการสนับสนุนไปยังเครือข่ายอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง นอกจากนั้น หลักเกณฑ์การสนับสนุน ต้องคำนึงถึงการสร้างนวัตกรรมในการทำงาน การสร้างองค์ความรู้ในการทำงาน การสร้างความยั่งยืนในงานที่ดำเนินการ  โดยกระบวนการในการติดตามประเมินผล ควรใช้ กระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย ระหว่างกรรมการผู้พิจารณากลั่นกรองโครงการ และ ระหว่างคนในชุมชน


เรื่องสุดท้าย การกำหนดสัดส่วนในการสนับสนุน และ รูปแบบในการสนับสนุนแบบครบวงจร ทั้ง การสนับสนุนด้วยงบประมาณ ด้วยความรู็ ด้วยเทคนิคในการจัดการ และ อาจะสนับสนุนด้วยระบบการสื่อสารสาธารณะ

โดยการกำหนดสัดส่วนการของการสนับสนุน อาจจะพิจารณาจาก ประเด็นเร่งด่วนหรือไม่ ประเด็นขาดแคลนหรือไม่ เป็นการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาองค์ความรู้ หรือ การขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่สังคมหรือไม่ื โดยคำนึงถึง  การกระจายการสนับสนุนโดยคำนึงจากพื้นที่ หรือ ประเภทเครือข่าย หรือ อาจจะพิจารณาจากระดับความยากง่ายของประเด็นในการทำงาน

ภาพจำลองโครงสร้างของการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

หมายเลขบันทึก: 464920เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2011 04:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.โก๋ ถ้าโรงเรียนบางละมุง พอจะมีส่วนช่วยเป็นกำลังในเรื่องใด ก็ยินดีนะคะ อยากให้ครู-นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมค่ะ

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ลี ประสบการณ์ ตัวอย่างกิจกรรมหรือแนวทางในการทำงานเรื่องเด็กกับไอซีทีของโรงเรียนบางละมุงทำให้เราเห็น "ทาง" ในการทำงานด้านนี้

ตอนนี้สิ่งที่น่าสนใจและน่าทำคือ การพัฒนาประชาคมคนทำงาน ครับ ผมว่า ทางบางละมุงน่าจะถนัดทีเดียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท